บทที่ 1หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ความสำคัญและประโยชน์ของการขยายพันธุ์พืช

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 หลักการขยายพันธุ์พืช

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 ปัจจัยที่มีอิทธิพลของการขยายพันธุ์พืช

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 การวางแผนปฏิบัติงาน

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เกษตรอินทรีย์

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ปฏิบัติงานโครงงานผลิตพันธุ์พืช

หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 การจัดการเรือนเพาะชำ 1.การจัดการเรือนเพาะชำ การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ในการจัดการเรือนเพาะชำ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 การวางแผนจัดจำหน่ายพันธุ์ไม้

แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียน

บทเรียน ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปักชำ

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดชำhttp://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=391.0

            การตัดชำจะประสบผลสำเร็จมากน้อยเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อการออกรากของพืช ดังนี้

            1)  คุณลักษณะของชิ้นส่วนของพืชที่จะนำมาตัดชำ ส่วนต่างๆ ของพืชนั้น จะต้องตัดมาจากต้นแม่ที่สมบูรณ์ อายุยังน้อย ไม่มีโรคและแมลงทำลาย ไม่เป็นต้นพืชที่อยู่ในระยะพักตัวและเป็นต้นพืชที่มีการสะสมอาหารไว้เต็มที่

            2)   ตำแหน่งของรอยตัด ควรตัดด้วยกรรไกรหรือมีดคมๆ โดยให้ฐานรอยตัดด้านล่างอยู่ใต้ข้อหรือชิดข้อ รอยแผลที่ตัดต้องเรียบ ไม่ฉีกขาดหรือช้ำ ซึ่งจะช่วยให้ส่วนของพืชออกรากได้ดี

            3)   วัสดุตัดชำ วัสดุตัดชำที่ดีควรมีคุณสมบัติ คือ ทนทานไม่ผุสลายได้ง่าย หาได้ง่าย ราคาถูก ดูดความชื้นได้มากพอ แต่ควรมีความโปร่ง เพื่อให้สามารถระบายน้ำ ถ่ายเทอากาศได้ดีและปราศจากเมล็ดพืชตลอดจนโรคและแมลง ควรมีคุณสมบัติเป็นกลาง ไม่เป็นกรดหรือด่างจนเกินไป

            4)   ความชื้น โดยทั่วไปความชื้นในวัสดุตัดชำที่เหมาะสมต่อการออกรากและแตกยอดและการเจริญเติบโตของกิ่งตัดชำ คือ อยู่ในช่วงประมาณ 70-80 เปอร์เซ็นต์

            5)   อุณหภูมิ  ควรดูแลให้อุณหภูมิบริเวณโคนกิ่งตัดชำสูงกว่าอุณหภูมิที่อยู่เหนือกิ่งตัดชำเพื่อให้พืชออกราก่อนที่จะแตกยอด

            6)   แสง  พืชจะงอกรากหรือแตกยอดได้ดี เมื่อตัดชำไว้ในที่มีแสงสว่างเพียงพอ ดังนั้นการตัดชำในบริเวณที่มีแสงรำไรคือ ให้กิ่งตัดชำได้รับแสงประมาณ 50%

            7)   การใช้สารเคมีหรือฮอร์โมน การใช้สารเคมีหรือฮอร์โมนเร่งราก จะช่วยทำให้พืชออกรากได้เร็วและยังมีปริมาณของรากมากอีกด้วย

ปัจจัยที่จะทำให้กิ่งตัดชำออกรากดี
1. เลือกกิ่งที่มีอาหารสะสมมาก
 เพราะอาหารภายในกิ่งจำเป็นในการเกิดรากและการเจริญของกิ่งสำหรับการตัดชำกิ่งแก่ไม่มีใบ อาหารจะสะสมอยู่ภายในกิ่ง ซึ่งกิ่งที่แก่มาก (ไม่เกิน 1 ปี) อาหารยิ่งสะสมอยู่ภายในกิ่งมาก การเกิดรากและ แตกยอดก็จะง่ายขึ้น 
2. อายุของต้นพืชที่จะนำมาตัดชำ ควรเลือกกิ่งจากต้นแม่ที่มีอายุน้อย เพราะกิ่งจากต้นที่มีอายุน้อยจะออกรากได้ง่ายกว่ากิ่งที่นำมาจากต้นที่มีอายุมาก
3. เลือกชนิดของกิ่งให้เหมาะกับการเกิดราก โดยพิจารณาดังนี้ ถ้าเป็นการตัดชำกิ่งแก่ ควรเลือกกิ่งข้างมากกว่ากิ่งกระโดง เพราะกิ่งข้างมีอาหารภายในกิ่งมากกว่ากิ่งกระโดง  แต่ถ้าเป็นการตัดชำกิ่งอ่อนหรือกิ่งที่มีใบติดอยู่ การใช้กิ่งกระโดงจะออกรากง่ายกว่ากิ่งข้าง
4. การเลือกฤดูการตัดชำกิ่งให้เหมาะ การตัดชำกิ่งแก่ที่ไม่มีใบ ควรจะตัดชำกิ่งในระยะที่กิ่งพักการเจริญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อตาบนกิ่งเริ่มจะเจริญใหม่อีกครั้งหนึ่ง ส่วนการตัดชำกิ่งอ่อนนั้น อาจทำได้เมื่อกิ่งเจริญได้ระยะหนึ่งโดยกิ่งที่เจริญ นั้นมีความแข็งพอสมควร และมีใบเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว สำหรับการตัดชำไม้ผลหรือไม้ประดับบางชนิดที่ออกรากค่อนข้างยาก การใช้กิ่งที่แข็ง กลม และมีเส้นลายบนกิ่งเล็กน้อยจะออกรากได้ดีกว่าใช้กิ่งค่อนข้างอ่อ
5. การทำแผลที่โคนกิ่งแผลที่โคนกิ่งจะช่วยให้กิ่งมีเนื้อที่ที่จะเกิดรากได้มากขึ้น นอกจากจะช่วยให้กิ่งเกิดจุดกำเนิดรากได้ง่ายแล้วยังช่วยให้กิ่งดูดน้ำและสารเร่งรากได้มากขึ้นอีกด้วย
6. การใช้สารเร่งรากช่วยให้กิ่งตัดชำออกรากดีขึ้น สารเร่งรากเป็นสารสังเคราะห์ในกลุ่มออกซิน (Auxins) เสื่อมสลายตัวช้า สารเร่งรากที่ใช้กันทั่วไปได้แก่ เอ็นเอเอ (NAA; naphthalene acetic acid) และไอบีเอ (IBA; indole-3-butyric acid) การให้สารเร่งรากกับกิ่งปักชำ ช่วยให้กิ่งปักชำเกิดรากสม่ำเสมอกัน เกิดรากเร็วขึ้น มีจำนวนรากมากขึ้น และมีระบบรากที่แข็งแรง แต่ในการใช้ต้องคำนึงถึง ช่วงความเข้มข้นที่เหมาะสมของสารเร่งราก วิธีการให้สาร และรูปของสารเร่งรากที่จะใช้

 วิธีการใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตเพื่อกระตุ้นการเกิดรากของกิ่งปักชำ

                สารควบคุมการเจริญเติบโตที่ใช้กระตุ้นการเกิดรากของกิ่งปักชำเป็นสารในกลุ่มออกซิน (Auxins) เรียกกันทั่วไปว่า ”สารเร่งราก” รูปที่ใช้มีทั้งที่เป็นสารละลาย และเป็นผง วิธีการให้สารเร่งรากกับกิ่งปักชำ แบ่งออกเป็น 3 วิธีได้แก่

  1. วิธีจุ่มเร็ว(Quick dip method ) เป็นวิธีที่นิยมใช้ เนื่องจากรวดเร็ว สามารถให้สารเร่งรากกับกิ่งปักชำจำนวนมากได้พร้อมๆ กัน และแต่ละกิ่งได้รับสารเร่งรากในปริมาณที่ใกล้เคียงกัน เตรียมสารเร่งรากในรูปสารละลาย มีความเข้มข้นค่อนข้างสูง จุ่มโคนกิ่งในสารละลายเร่งรากเพียง 5-10 วินาที แล้วยกขึ้น
  2. วิธีแช่(Prolonged soaking method) โดยเตรียมสารเร่งรากในรูปสารละลาย ความเข้มข้นต่ำ แล้วแช่กิ่งปักชำในสารเร่งรากนาน 10-24 ชั่วโมงเพื่อให้ค่อยๆ มีการดูดซึม เป็นวิธีที่ไม่ค่อยนิยม เนื่องจากใช้เวลานาน และอาจเกิดการแพร่กระจายของเชื้อสาเหตุโรคพืชระหว่างการแช่กิ่งปักชำ ใช้เวลาในการปฏิบัตินานโดยนำกิ่งปักชำแช่ลงในสารเร่งรากความเข้มข้นต่ำนาน 10-24 ชั่วโมงหลังจากนั้นจึงนำกิ่งลงไปปักชำ วิธีการนี้ใช้เวลานานอีกทั้งอาจเกิดการแพร่กระจายในช่วงแช่สารเคมี
  3. การใช้สารเคมีในรูปผง (Powder method) นำโคนกิ่งปักชำจุ่มน้ำ เพื่อให้มีความชื้น จากนั้นนำไปจุ่มในสารเร่งรากซึ่งอยู่ในรูปผง เคาะกิ่งปักชำเบาๆ เพื่อให้สารเร่งรากส่วนเกินที่ติดอยู่ หลุดออก ก่อนนำไปปักชำต่อไป แม้สารเร่งรากในรูปผงจะมีความคงตัว เก็บไว้ใช้ได้นาน แต่การให้สารเร่งรากกับกิ่งปักชำทำได้ช้ากว่าวิธีจุ่มเร็ว และกิ่งปักชำแต่ละกิ่งได้รับสารเร่งรากในปริมาณไม่เท่ากัน

 การจัดสภาพแวดล้อมในการปักชำกิ่ง

  1. การจัดการแสง และความชื้นในบรรยากาศรอบๆกิ่งปักชำสภาพในการปักชำกิ่งปักชำมะนาวที่มีใบติดอยู่ด้วย จะทำกลางแจ้ง เพื่อให้ใบสามารถสังเคราะห์แสง สร้างอาหารและสารอินทรีย์ที่จำเป็นต่อการเกิดราก การได้รับแสงอย่างเพียงพอ และเหมาะสมจะทำให้การเกิดรากดีขึ้น ดังนั้นจึงจำเป็นต้องจัดสภาพในการปักชำให้มีความชื้นสัมพัทธ์สูง เพื่อลดการคายน้ำของใบ รักษาความสดของใบ และป้องกันไม่ให้ใบร่วง โดยทั่วไปจะวางกิ่งปักชำในกระบะพ่นหมอก ซึ่งใช้ระบบควบคุมอัตโนมัติในการพ่นละละอองน้ำออกมาเป็นระยะตลอดช่วงกลางวัน เพื่อรักษาระดับความชื้นสัมพัทธ์ในบรรยากาศรอบๆ กิ่งปักชำ น้ำที่ใช้ต้องสะอาด มีคุณภาพดี เพื่อป้องกันการเน่าเสียของกิ่งปักชำ

           นอกจากกระบะพ่นหมอกที่ก่อเป็นโครงสร้างถาวรแล้ว ปัจจุบันมีการประยุกต์ใช้ตาข่ายพลาสติกขึงเป็นผนังกระบะพ่นหมอกแทนการก่ออิฐ ช่วยป้องกันลม รักษาความชื้นให้กับกิ่งพันธุ์ระหว่างการปักชำได้ดีเช่นกัน

           ในกรณีไม่มีระบบพ่นน้ำอัตโนมัติ และมีจำนวนกิ่งปักชำไม่มาก อาจควบคุมความชื้นในบรรยากาศรอบๆ กิ่งปักชำโดยวางถุงปักชำไว้ในกระโจมพลาสติกใส หรือใช้ถุงพลาสติกใสครอบกิ่งปักชำไว้ แต่วิธีนี้ต้องทำในที่ร่มหรือมีการพรางแสงช่วย เพื่อป้องกันไม่ให้อุณหภูมิภายในกระโจมหรือถุงพลาสติกที่ครอบไว้สูงเกินไปจนเป็นอันตราย   

  1. การจัดการวัสดุปักชำวัสดุที่ใช้ในการปักชำกิ่งต้องสะอาด ปราศจากเชื้อสาเหตุโรคพืช เก็บความชื้นได้มาก ขณะเดียวกันมีอากาศผ่านได้สะดวก สามารถยึดพยุงกิ่งปักชำไว้ได้จนกระทั่งออกราก แต่ไม่จำเป็นต้องมีธาตุอาหารของพืชในนั้นวัสดุปักชำแต่ละชนิด รักษาความชื้น และมีอากาศผ่านเข้าออกได้ต่างกัน ทำให้การออกรากแตกต่างกันได้ ซึ่งวัสดุปักชำที่นิยมใช้กันทั่วไป ได้แก่ ทรายหยาบ ถ่านแกลบที่ล้างด่างหมดแล้ว หรือส่วนผสมของทรายหยาบ กับถ่านแกลบอย่างละเท่ากัน