บทที่ 1หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ความสำคัญและประโยชน์ของการขยายพันธุ์พืช

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 หลักการขยายพันธุ์พืช

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 ปัจจัยที่มีอิทธิพลของการขยายพันธุ์พืช

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 การวางแผนปฏิบัติงาน

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เกษตรอินทรีย์

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ปฏิบัติงานโครงงานผลิตพันธุ์พืช

หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 การจัดการเรือนเพาะชำ 1.การจัดการเรือนเพาะชำ การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ในการจัดการเรือนเพาะชำ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 การวางแผนจัดจำหน่ายพันธุ์ไม้

แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียน

เรียนเพิ่มเติมอย่างละเอียด http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=391.0

การปักชำ หมายถึง การนำส่วนต่างๆของพืชด้วยการตัดมาปักชำในดินหรือวัสดุเพาะเพื่อให้ได้ต้นใหม่ โดยการเกิดรากแขนงบริเวณโคนกิ่งที่ปักชำการปักชำ | พืชเกษตร.คอม (puechkaset.com)

รูปแบบของการตัดชำหรือปักชำ  ที่นิยมใช้ มี  4   วิธี   ตามลักษณะของชิ้นส่วนพืชที่นำมาตัดชำ  คือ
1)   การตัดชำกิ่งหรือต้น (Stem Cutting)
2)      การตัดชำใบ (Leaf Cutting)
3)      การตัดชำราก (Root Cutting)
4)      การตัดชำลำต้นและรากพิเศษ (Specialized  stem  and root Cutting)
 

1. การปักชำกิ่งหรือลำต้น
• การปักชำกิ่งแก่ เป็นวิธีที่ใช้กับไม้พลัดใบมากที่สุด โดยใช้กิ่งแก่ที่ไม่มีใบหรือตาที่กำลังแตกใหม่ กิ่งมีลักษณะสมบูรณ์ ไม่เหี่ยวแห้ง ตัดกิ่งยาวประมาณ 15-20 ซม. เป็นรูปปากฉลามเฉียงประมาณ 45-60 องศา ทั้งด้านบน และด้านล่าง ด้านบนตัดให้ห่างจากข้อหรือตากิ่งสุดท้ายยาวประมาณ 1-1.5 ซม.

• การปักชำกิ่งปานกลางหรือกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อน เป็นวิธีที่ใช้กับไม้เนื้อแข็งที่ไม่พลัดใบหรือไม้ผลัดใบ ด้วยการตัดกิ่งที่ไม่แก่เต็มที่ กิ่งมีลักษณะอวบ สีกิ่งมีสีไม่เข้มมาก กิ่งมีความสมบูรณ์ ไม่เหี่ยว ไม่เป็นโรค กิ่งอาจมีใบติด 2-3 ใบ สำหรับพืชบางชนิดหรือใช้กิ่งที่ไม่มีใบติด ส่วนการตัดจะตัดในลักษณะเดียวกันกับการปักชำโดยใช้กิ่งแก่

• การปักชำกิ่งอ่อน เป็นวิธีที่นิยมใช้สำหรับการขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับเป็นส่วนใหญ่ ด้วยการตัดกิ่งอ่อน กิ่งมีลักษณะสมบูรณ์ อาจมียอด และใบติดหรือไม่มีก็ได้ ยอดที่ติดควรเจริญเติบโตดี ไม่เป็นโรค ตัดกิ่งหรือปลายยอดยาว 5-10 ซม. ตัดในลักษณะที่กล่าวข้างต้น ส่วนพืชบางชนิดที่ต้องการปักชำโดยมีใบ และยอดติดให้ตัดที่โคนกิ่งเพียงข้างเดียว

• การปักชำกิ่งไม้เนื้ออ่อน เป็นวิธีที่ใช้สำหรับพืชบางชนิด ส่วนมากเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ที่มีลักษณะกิ่งหรือลำต้นเป็นไม้เนื้ออ่อน เช่น ฤาษีผสม เบญจมาศ คาร์เนชั่น การเลือก และการตัดกิ่งจะใช้วิธีการเดียวกันกับที่กล่าวมาข้างต้น

2. การปักชำราก เป็นวิธีที่ไม่ค่อยนิยม มักใช้กับพืชบางชนิดที่แตกหน่อตามกิ่งรากหรือมีตาเกิดตามรากพบมากในพืชน้ำหรือพืชที่เป็นเครือ เช่น บัว มันบางชนิด เป็นต้น ซึ่งควรเลือกรากที่มีตาหรือหน่อติดมาด้วย

ชำราก มันเทศ

ชำรากบัว

3. การปักชำใบ เป็นวิธีที่ใช้กับไม้ที่มีใบลักษณะหนาหรืออวบน้ำ มักใช้มากสำหรับไม้ดอกไม้ประดับ โดยราก และยอดจะแตกออกบริเวณโคนก้านใบเหนือฐานรอยตัด โดยเฉพาะบริเวณของเส้นใบ แบ่งเป็น 3ลักษณะ คือ

3.1การปักชำแผ่นใบ ทั้งใบที่มีตายอด และใบที่ไม่มีการแตกตายอด ด้วยการตัดใบเป็นแผ่นๆ และนำมาปักชำ เช่น ต้นคว่ำตายหงายเป็น เป็นต้น

3.2การปักชำก้านใบ โดยใช้ใบที่มีก้านใบติดอยู่นำมาปักชำ โดยให้ส่วนก้านใบชำลงดิน เช่น ใบเพปเพอโรเมีย ใบมะนาว เป็นต้นการตัดจะใช้วิธีตัดให้ชิดโคนก้านใบมากที่สุด

3.3การปักชำใบที่มีตา เป็นวิธีที่ใช้กับพืชพืชเนื้ออ่อนพวกไม้ประดับ และพืชเนื้อแข็งบางชนิด เช่น โกศล ยางอินเดีย เป็นต้น ด้วยการตัดกิ่งด้านล่าง และด้านบนของตา และยอดที่มีใบติดมาด้วย

การปักชำ
• วัสดุ อุปกรณ์
– กรรไกรตัดกิ่ง
– ดิน และวัสดุเพาะ
– กระถางดินเผาหรือพลาสติกหรือวัสดุไม่ได้ใช้ต่างๆ เช่น กะละมัง ถังพลาสติก เป็นต้น
– ยาป้องกันเชื้อรา เช่น แคปแทน เบนเลท เป็นต้น
– ฮอร์โมนเร่งราก เช่น ออกซิน เป็นต้น

• การเตรียมดิน และวัสดุเพาะ
ดินที่ใช้ผสมควรเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินร่วน ด้วยการผสมกับวัสดุเหลือใช้ต่างๆ เช่น แกลบ ขี้เถ้า ขุ๋ยมะพร้าว เป็นต้น ในอัตราส่วนดินกับวัสดุ 2:1 หรือ 1:1

เมื่อเตรียมวัสดุเพาะเสร็จให้บรรจุใส่กระถางดินเผาหรือพลาสติก หรืออาจก่ออิฐบล็อกกั้นเป็นแปลงเพาะชำหรือทำการยกร่องแปลงสูงด้วยการใส่วัสดุเพาะที่เตรียมไว้

• วิธีการปักชำ
ก่อนทำการปักชำกิ่งทุกชนิดให้กรีดบริเวณโคนกิ่งยาว 1-2 ซม. ตามแนวยาว 1-2 ด้าน และแช่ฮอร์โมนเร่งราก และยาป้องกันเชื้อราเสียก่อนด้วยการจุ่มโคนกิ่งปักชำตามระยะโคนกิ่งที่ปักชำในดินนาน 10-30 นาที
– การปักชำกิ่ง จะใช้วิธีการเสียบกิิ่งลึกประมาณ 5-10 ซม. ขึ้นอยู่กับความยาวของกิ่ง และชนิดพืช
– การปักชำราก จะใช้วิธีการชำในลักษณะการปักชำกิ่งหรือการชำโดยการกลบทั้งราก
– การปักชำใบ จะใช้วิธีปักชำใบบางส่วนหรือการชำก้านใบลงดินโดยมีใบบางส่วนอยู่พื้นเหนือดิน
– การปักชำใบที่มีตา จะใช้วิธีการปักชำเฉพาะส่วนที่เป็นโคนกิ่งที่มีตาให้ฝังลงดิน โดยส่วนใบหรือตาจะพ้นเหนือดินด้านบน

• การดูแลรักษา
การให้น้ำจำเป็นต้องให้น้ำทุกวัน วันละ 1-2 ครั้ง เช้า-เย็น อย่างสม่ำเสมอ เพื่อรักษาความชุ่มชื้น โดยระวังไม่ให้น้ำมากเกินไปจนน้ำท่วมขังหรือดินเปียกมาก เพราะอาจทำให้กิ่งเน่าได้ง่าย ส่วนการใส่ปุ๋ยไม่จำเป็นในระยะแรก แต่อาจใส่ปุ๋ยก่อนระยะย้ายกล้าออกปลูกประมาณ 1-2 อาทิตย์ ด้วยการละลายปุ๋ยหรือใช้ปุ๋ยน้ำ สูตร 16-20-0

รากปักชำ

การเกิดราก
การเกิดรากของวิธีการปักชำ พืชจะกระตุ้นให้เกิดรากบริเวณเส้นใยของกิ่ง ก้านใบ และใบ แทงออกมาเป็นรากแทนในสภาวะความชื้น และอุณหภูมิที่เหมาะสม โดยรากที่เกิดอาจเกิดมากน้อยขึ้นอยู่กับจำนวนเส้นใยของกิ่ง และการกระตุ้น เช่น การกรีดโคนกิ่ง การแช่ฮอร์โมน เป็นต้น   

4.ปักชำรากพิเศษ

การปักชำ การตัดชำลำต้นและรากพิเศษ : การสืบพันธุ์แบบอาศัยไม่เพศ (Asexual reproduction)

การตัดชำลำต้นและรากพิเศษ (Specialized  stem  and root Cutting)
การตัดชำลำต้นและรากพิเศษ  เป็นการตัดชำลำต้นและราก ประเภทสะสมอาหาร  ซึ่งเป็นส่วนที่อยู่ใต้ดินและเหนือดิน  ได้แก่ หัว  ราก  เหง้า  หน่อ  และแง่ง      พืชผักบางชนิดที่ขยายพันธุ์โดยวิธีนี้    เช่น  หัวมันฝรั่ง  มันเทศ  ขิง  ข่า  และไม้ดอก ไม้ประดับ  บางชนิด  เช่น  ขิงแดง   พลับพลึง  ดาหลา   บัวสวรรค์  ว่านสี่ทิศ     บอนสี   เป็นต้น      โดยใช้วิธีการแบ่งหรือแยก  ตามความเหมาะสมของพืชแต่ละชนิด    การที่รากจะพัฒนาเป็นต้นใหม่ได้ นั้น  แสดงว่า  รากมีตาพิเศษ  จึงทำให้เกิดต้นและรากใหม่   การเกิดต้นจะเกิดบริเวณโคนรากก่อน  แล้วจึงไปเกิดรากตามบริเวณรากเพิ่มขึ้น
ส่วนการตัดชำราก  เป็นการนำรากมาตัดเป็นท่อน  แล้วนำไปชำในวัสดุเพาะชำ    พืชที่สามารถขยายพันธุ์ด้วยการตัดชำราก  ได้แก่  แคแสด  สน  สาเก    เป็นต้น    โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้
1. เลือกรากพืช ขนาดประมาณ  1  นิ้ว
2. ใช้กรรไกรตัดเป็นท่อน ยาวประมาณท่อนละ  2  นิ้ว
3. ปักราก เอน ประมาณ  30  องศา  โดยให้โคนท่อนราก โผล่เล็กน้อย
4. เมื่อท่อนรากเกิดรากและต้นใหม่ จึงขุดย้ายไปเพาะชำหรือปลูกต่อไป

 

 

 

 

แบบของการตัดชำหรือปักชำ  ที่นิยมใช้ มี  4   วิธี   ตามลักษณะของชิ้นส่วนพืชที่นำมาตัดชำ  คือ
1)     การตัดชำกิ่งหรือต้น (Stem Cutting)
2)      การตัดชำใบ (Leaf Cutting)
3)      การตัดชำราก (Root Cutting)
4)      การตัดชำลำต้นและรากพิเศษ (Specialized  stem  and root Cutting)