แนะนำการเรียนการสอน

หน่วยที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับไม้ดอกไม้ประดับ

หน่วยที่ 2สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการปลูกไม้ดอกไม้ประดับ

หน่วยที่ 3 การดูแลรักษาไม้ดอกไม้ประดับโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ

รวมมอบหมายงาน

บทเรียน3 วิเคราะห์ความต้องการของตลาด

 ผลการเรียนรู้  สืบค้นข้อมูลและวิเคราะห์ความต้องการของตลาดนำมาเลือกปลูกไม้ดอกไม้ประดับให้เหมาะสมกับท้องถิ่นและสอดคล้องกับหลักการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

https://www.doa.go.th/hort/wp-content/uploads/2020/03/%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%B5-2563.pdf

ความสำคัญ และสถานการณ์การส่งออก/น าเข้าไม้ดอกไม้ประดับ
ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนใกล้เส้นศูนย์สูตร ภูมิอากาศของประเทศจึงมีลักษณะแบบร้อนชื้น ไม้
ดอกไม้ประดับส่วนใหญ่จึงเป็นไม้ดอกไม้ประดับเขตร้อน แต่สามารถปลูกไม้ดอกไม้ประดับเขตหนาวได้บ้างใน
บริเวณพื้นที่สูงที่มีอากาศหนาวเย็นของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ภาพที่ 1) ซึ่งปริมาณที่ปลูกได้ยัง
ไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ภายในประเทศ จึงมีการน าเข้าไม้ดอกไม้ประดับเขตหนาวเข้ามาเช่นกัน โดยทั่วไป
ไม้ดอกไม้ประดับในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
1. กลุ่มไม้ดอกไม้ประดับที่ส าคัญทางเศรษฐกิจ มีการส่งออกในปริมาณและมูลค่าสูง เช่น กล้วยไม้ ปทุมมา

ปทุมมา

กล้วยไม้
2. กลุ่มไม้ดอกไม้ประดับที่มีศักยภาพ กลุ่มนี้มีความต้องการใช้ในประเทศ และบางส่วนสามารถส่งออกแม้ยังมีมูลค่าไม่มากนัก แต่มีแนวโน้มว่ามีการส่งออกเพิ่มขึ้น เช่น

กุหลาบ

บัวหลวง

ไม้หัวเมืองร้อน
กระเจียว

ไม้ใบ บอนสี

ว่านสี่ทิศ) เป็นต้น
3. กลุ่มเพื่อใช้ภายในประเทศ ได้แก่

เยอบีร่า

หน้าวัว   

แกลดิโอลัส

เบญจมาศ

มะลิ

ซ่อนกลิ่นไทย 

ลิลลี่
 และวงศ์ขิง

(    ดาหลา

และขิงแดง)

การส่งออก

กล้วยไม้เป็นไม้ตัดดอกที่มีความส าคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทย มีมูลค่าการส่งออกสูงสุดเป็นอันดับหนึ่งตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ทำรายได้เข้าประเทศมากกว่าสองพันล้านบาทต่อปี ประเทศคู่ค้ากล้วยไม้ของประเทศไทย
ที่ส าคัญได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ จีน อิตาลี เป็นต้น ส าหรับพันธุ์กล้วยไม้ที่มีปริมาณการส่งออก
มากที่สุด ได้แก่  กล้วยไม้สกุลหวาย

รองลงมา ได้แก่ ออนซิเดียม

มอคคารา

แวนด้า

อะแรนด้า เป็นต้น นอกจากนี้
ประเทศไทยยังมีการส่งออกกล้วยไม้ในรูปแบบต่างๆ เช่น กิ่งชำกล้วยไม้ทั้งแบบที่มีรากและไม่มีราก ต้นกล้ากล้วยไม้และต้นกล้วยไม้

นอกจากกล้วยไม้ประเทศไทยยังมีการส่งออกไม้ดอกไม้ประดับชนิดอื่นๆ เป็นจำนวนมากเช่นกัน โดยในปี
2561 มีมูลค่าการส่งออกรวมสูงถึง 1,865.05 ล้านบาท ชนิดที่มีความส าคัญและมีการส่งออกเป็นมูลค่าสูง ได้แก่
วงศ์ลิ้นมังกร (Sansevieria) วงศ์สลัดได (Euphorbiaceae) เฟื่องฟ้า(Bougainvillea) สับปะรดสี (Tillandsia)
ปรง (Encephalatos) ไทร (Ficus) ว่านสี่ทิศ (Amaryllis) และฟิโลเดนดรอน (Philodendron) มูลค่าการส่งออก
สูงเท่ากับ 807, 411, 47, 43, 26, 21, 20 และ 15 ล้านบาทตามล าดับ ส่วนปทุมมามีการส่งออกรวม 5.2 ล้านบาท
ทั้งในรูปการส่งออกหัวพันธุ์ที่มีการพักตัวและไม่พักตัว ปทุมมาตัดดอก แต่โดยส่วนใหญ่ประเทศไทยจะส่งออกปทุม
มาในรูปแบบหัวที่มีการพักตัว ประเทศคู่ค้าหัวพันธุ์ปทุมมาที่ส าคัญของประเทศไทยได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลี เยอรมัน
เนเธอร์แลนด์ และสหรัฐอเมริกา ปทุมมามีแนวโน้มเติบโตลดลงตั้งแต่ปี 2558

สถานภาพไม้ดอกไม้ประดับของประเทศไทย

1.    ลักษณะการส่งออกไม้ดอกไม้ประดับของประเทศไทยนับได้ว่าเป็นประเทศที่ส่งสินค้าไม้ดอกไม้ประดับออกจำหน่ายต่างประเทศเป็นอันดับ 3 ของโลก

2.    ด้านการผลิตและการใช้ดอกไม้ประดับภายในประเทศชนิดไม่เพียงพอกับความต้องการ

3.    การปลูกไม้ดอกไม้ประดับ เพื่อการจำหน่ายได้มีการขยายตัวมากขึ้น
–    ภาคเหนือ ปลูกมากที่เชียงราย นครสวรรค์ พิจิตร และเชียงใหม่
–    ภาคกลาง ปลูกมากที่กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี นนทบุรี นครปฐม
–    ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปลูกมากที่หนองคาย ขอนแก่น และอุบลราชธานี
–    ภาคใต้ ปลูกมากที่สุราษฏร์ธานี ภูเก็ต นครศรีธรรมราช และสงขลา
ดอกไม้ที่ปลูกมากทั้ง 4 ภาค ดังกล่าว ได้แก่ กล้วยไม้ กุหลาบ เยอบีร่า มะลิ และ บานไม่รู้โรย

ไม้ไทยอยู่ในฐานะไม่แตกต่างจากสินค้าเกษตรอย่างอื่น เมื่อก่อนอาจจะถูกมองข้ามไปเสียด้วยซ้ำว่า ปลูกแล้วกินไม่ได้ ปลูกไม้อย่างอื่นดีกว่า แต่ไม้ไทยได้พิสูจน์ตัวเองแล้วว่า ผู้ปลูกสามารถยืนหยัดอยู่ได้ ถึงจะกินไม่ได้ก็จริง แต่เมื่อมีผลผลิต ขายได้เงินมีอยู่มีกินมากกว่า ผู้ที่ผลิตพืชบางชนิดที่กินได้ โดยตรงเสียอีก

https://pijitra125.wordpress.com/%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99/%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%95%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94/

ตลาดพันธุ์ไม้ไทยสามารถแบ่งรูปแบบได้ดังนี้

1.    ปลูกขายเองอยู่กับที่ เกษตรกรจะปลูกขายเองอยู่กับที่ได้นั้น ต้องอาศัยประกอบการมานานมีของในปริมาณที่แน่นอน เป็นคนที่มีชื่อเสียง ถ้าเป็นคนทำแรกเริ่มจะดีมาก แหล่งผลิตต้องอยู่ไม่ห่างไกลจากผู้ซื้อ

2.    ปลูกเองมีร้านขาย หากมีผู้ผลิตพันธุ์ไม้และขายเองได้ ฐานะของเกษตรกรจะดีขึ้น เพราะกำไร ไม่ได้หลุดลอยไปไหน ยังคงเป็นของเกษตรกรทั้งหมด

3.    ส่งขายให้ผู้ค้าคนกลาง รูปแบบนี้เกษตรกรยังได้รับผลประโยชน์เพราะส่งถึงผู้ค้าโดยตรงแต่ก็ยังมีให้เห็นน้อย

4.    ผ่านผู้ค้าคนกลาง ผู้ค้นคนกลางเป็นสิ่งจำเป็นต้องมี เพราะหากขาดผู้ค้าคนกลางแล้วงานหลายอย่างจะหยุดชะงัก แต่ก็ยังมีปัญหาที่ผู้ค้าคนกลางเอารัดเอาเปรียบเกษตรกร

ไม้ดอกเศรษฐกิจ

https://sites.google.com/site/dokmaiofwinter/kar-pheaa-leiyng-laea-khyay-phanthu/kar-sng-xxk

                ไม้ดอก ชนิดที่กำลังได้รับความนิยมและได้รับการส่งเสริมให้เป็นไม้เศรษฐกิจของประเทศไทยเพิ่มเติม นั่นก็คือ กุหลาบ เฟิน สับปะรดสี และแคตตัส ซึ่งไม้ทั้ง ชนิดนี้ล้วนมีความสวยงามและมีความสำคัญแตกต่างกันไป

เริ่มจาก กุหลาบ” เป็นไม้ดอกที่ได้รับความนิยมและมีการซื้อขายมากที่สุดในตลาดดอกไม้ เป็นพืชที่ชอบและเจริญเติบโตได้ดีในสภาพอากาศหนาวเย็น ปัจจุบันประเทศไทยมีการส่งเสริมการปลูกกุหลาบเพื่อทดแทนการนำเข้ากุหลาบจากต่างประเทศมากยิ่งขึ้น โดยมีการนำพันธุ์กุหลาบจากต่างประเทศเข้ามาทดลองปลูกและทำการพัฒนาสายพันธุ์ เพื่อศึกษาว่ากุหลาบสายพันธุ์ใดเหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยมากที่สุด อย่างไรก็ตามพันธุ์กุหลาบที่ผลิตได้ในประเทศไทยยังไม่มีคุณภาพเทียบเท่าต่างประเทศ เนื่องจากยังติดปัญหาในเรื่องอุณหภูมิ เพราะถ้าจะให้มีคุณภาพดีต้องปลูกในที่อุณหภูมิ 18 องศาเซลเซียสตลอดปี

ผลงานการผลิตกุหลาบของต่างประเทศในปัจจุบันที่น่าสนใจ ได้แก่ กุหลาบสีรุ้ง” หรือ กุหลาบดิสโก้” ซึ่งถือเป็นเทคโนโลยีมหัศจรรย์ในการสร้างกุหลาบหลายสีในดอกเดียวกัน ประกอบด้วยสีฟ้า ม่วง เขียว เหลือง ส้ม และชมพู คิดค้นโดย Peter van der Werken เจ้าของบริษัทขายดอกไม้ทางตอนใต้ของประเทศฮอลแลนด์ ซึ่งผู้ผลิตจะผลิตและขายตามใบสั่งทั้งแบบสดและแห้ง ดังนั้นจึงไม่พบเห็นตามท้องตลาดได้ง่าย ๆ นอกจากนี้ยังมี กุหลาบม่วงเข้ม” หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งตามนักจัดดอกไม้ที่ให้สมญานามว่า กุหลาบสีดำกำมะหยี่” ผลิตจากประเทศฮอลแลนด์อีกเช่นกัน โดยถือเป็นสุดยอดเทคโนโลยีที่สร้างสรรค์ความมหัศจรรย์ของกุหลาบ ซึ่งเป็นตัวแทนของความรักนิรันดร์ ความโดดเด่นอยู่ที่การให้เทคนิคที่เหนือกว่าพันธุวิศวกรรมที่ทำให้ดอกกุหลาบแดงกำมะหยี่ดูดซับสีไปไว้ที่กลีบดอกทำให้กลายเป็นสีดำ แต่ สำหรับในประเทศไทยยังไม่มีการปลูกกุหลาบทั้ง สายพันธุ์นี้

ในเรื่องพื้นที่ส่งเสริมการปลูกกุหลาบ ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกกุหลาบตัดดอกประมาณ  5,500 ไร่ กระจายอยู่ทั่วภูมิภาคของประเทศ มีแหล่งปลูกที่สำคัญ ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ตาก นครปฐม สมุทรสาคร ราชบุรี และกาญจนบุรี การผลิตกุหลาบในประเทศไทยแบ่งได้เป็น ลักษณะ คือ การผลิตในเชิงปริมาณและการผลิตเชิงคุณภาพ ซึ่งการผลิตเชิงปริมาณหมายถึง การปลูกกุหลาบในพื้นที่ขนาดใหญ่ให้ผลผลิตปริมาณมากแต่ไม่ได้คุณภาพ เช่น ดอกและก้านมีขนาดเล็ก มีตำหนิจากโรคแมลง ฯลฯ ทำให้ได้ราคาต่ำ จึงต้องอาศัยการผลิตในปริมาณมากเพื่อให้เกษตรกรอยู่ได้ ส่วนผลิตเชิงคุณภาพ นิยมปลูกในภาคเหนือและบนที่สูง ปลูกภายใต้โรงเรือนพลาสติก มีการผลิตและเก็บเกี่ยวที่ดี ใช้แรงงานที่ชำนาญทำให้ได้กุหลาบคุณภาพดีปักแจกันได้นาน แต่ก็ยังไม่เพียงพอต้องนำเข้าจากต่างประเทศ

ในส่วนของ เฟิน” ประเทศไทยเรามีศักยภาพมากพอในการพัฒนาสายพันธุ์สู่ระดับส่งออก เนื่องจากประเทศไทยมีสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและการขยายพันธุ์ของเฟิน อีกทั้งเกษตรกรไทยในปัจจุบันมีความสามารถในการเพาะพันธุ์และพัฒนาพันธุ์ จน ทำให้เกิดลูกผสมมากมายที่มีเพียงหนึ่งเดียวในประเทศไทยและหนึ่งเดียวในโลก ทำให้ต่างชาติให้ความสนใจเฟินของประเทศไทยเป็นอย่างมาก จึงเชื่อว่าจะสามารถโชว์ศักยภาพความเป็นผู้นำในระดับโลกได้ เนื่องจากมีความได้เปรียบเรื่องพื้นที่ที่เหนือกว่าด้วยสภาพภูมิอากาศ และประสบการณ์ของเกษตรกรที่ใช้เวลาในการพัฒนามายาวนาน

เฟินแววปีกแมลงทับ” ถือเป็นหนึ่งเดียวในไทยและเป็นหนึ่งในโลก พบได้ที่จังหวัดชุมพร ปัจจุบันอยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์จากแหล่งธรรมชาติ เนื่องจากเฟินชนิดนี้มีสีเขียวเหลือบสวยงามสะดุดตา มีผู้นิยมปลูกมากจึงถูกนำออกจากถิ่นอาศัยในธรรม ชาติ ลักษณะเด่นที่สำคัญคือ ใบมีสีเขียวเคลือบน้ำเงินมันวาวคล้ายปีกของแมลงทับ ส่วน ชายผ้าสีดาลูกผสมคิชฌกูฏ” เป็นเฟินลูกผสมของเฟินชายผ้าสีดาสายม่านกับเขากวางตั้ง จึงตั้งชื่อว่า ชายผ้าสีดาผสมคิชฌกูฏ”  ซึ่งเพาะเลี้ยงโดยคนไทย ที่อำเภอคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี จึงถือเป็นความภาคภูมิใจ และ เฟินสร้อยสามเหลี่ยม” หนึ่งในไทยและหนึ่งในโลก มีลักษณะเป็นเกล็ดใบเรียว ยาวแหลม เรียงตัวแคบ ๆ ชิดเป็นทรงสามเหลี่ยม แกนเส้นเล็ก รูปทรงยาวได้ถึงเมตร พบมากในป่าธรรมชาติที่อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช ปัจจุบันมีต้นแม่ต้นเดียวในโลก มูลค่ากอละ 350,000 บาท 

ไม้ดอกชนิดที่ ที่กำลังได้รับการพัฒนาส่งเสริมก็คือ สับปะรดสี” เป็นพืชล้มลุกชนิดหนึ่งที่มีต้นกำเนิดมาจากทวีปอเมริกาใต้ กลาง เหนือ กระจายตามป่า ระดับสูงเทียมเมฆตามหน้าผาสูงชัน หรือที่ราบชายฝั่งทะเล ปลูกได้ง่ายโดยการฝังกลบหน่อหรือส่วนยอดของผลที่เรียกว่าจุกเปลือกของผลสับปะรด ภายนอกมีลักษณะคล้ายตาล้อมรอบผล มีลักษณะเด่นคือมีช่อดอกยาวสูง สีกลีบดอก กลีบเลี้ยงและใบฉูดฉาดคงอยู่ได้นานหลายสัปดาห์ ทนแล้ง เหมาะสำหรับสวนที่ไม่ต้องดูแลมาก และชนิดสุดท้าย คือ  “แคตตัส” ซึ่งอยู่ในระดับผู้นำเคียงบ่าเคียงไหล่กับเฟิน ปัจจุบันมีผู้ปลูกกันอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น เนื่องจากลักษณะทรงต้นของแคตตัสที่แตกต่างไปจากพืชอื่น ๆ คือ มีหนามขึ้นโดยรอบต้น การเรียงตัวของตุ่มหนามที่เป็นระเบียบสวยงาม เช่น Mammillaria หรือ Astrophytum ที่มีลักษณะตุ่มหนามเป็นปุยนุ่มเรียงตัวอย่างเป็นระเบียบ นอกจากนี้แคตตัสยังเป็นพืชที่มีดอกสวยงามสีสันสดใสดึงดูดสายตา ไม่ว่าจะเป็นสีเหลือง ชมพู เขียว ม่วง และส้ม สร้างความเพลิด เพลินใจให้ผู้เลี้ยงได้เป็นอย่างดี

การที่ดอกไม้ทั้ง ชนิดนี้จะสามารถก้าวไปสู่พันธุ์ไม้เศรษฐกิจระดับผู้นำและระดับโลกนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับความรู้และความชำนาญเพียงอย่างเดียว แต่กำลังใจก็ถือเป็นสิ่งสำคัญ เพราะนักพัฒนาสายพันธุ์ดอกไม้ต้องใช้เวลาในการสั่งสมความรู้และประสบการณ์เพื่อนำผลงานไปแข่งขัน ดังนั้นจึงควรสนับสนุนสร้างเวทีให้พวกเขาเหล่านี้ได้ประลองฝีมือกันเพื่อนำประสบการณ์ที่ได้กลับไปพัฒนาศักยภาพพันธุ์ไม้ของตนให้มีความสวยงามโดดเด่นเป็นที่หนึ่ง ขึ้นแท่นขวัญใจชาวโลกในที่สุด.