แนะนำการเรียนการสอน

บทที่ 1 ความหมายความสำคัญและประโยชน์ของการผลิตพันธุ์ไม้

บทที่ 2 ประเภทของการขยายพันธุ์แบบต่าง ๆ

บทที่ 3 เครื่องมือ อุปกรณ์ที่เหมาะสมต่อการขยายพันธุ์พืช

บทที่ 5 การเพาะเมล็ด

บทที่ 6 การชำกิ่ง

บททที่ 7 การชำใบ

บทที่ 8 การชำต้นและรากพิเศษ

บทที่9การตอน

บทที่ 10 ติดตา

บทที่ 11 เสียบกิ่ง

บทที่ 12 การทาบกิ่ง

บทที่ 13 การจดบันทึกการผลิตพันธุ์ไม้

บทเรียนแยกหน่อ ผ่าหน่อ

แบบของการตัดชำหรือปักชำ  ที่นิยมใช้ มี  4   วิธี   ตามลักษณะของชิ้นส่วนพืชที่นำมาตัดชำ  คือ
1)     การตัดชำกิ่งหรือต้น (Stem Cutting)
2)      การตัดชำใบ (Leaf Cutting)
3)      การตัดชำราก (Root Cutting)
4)      การตัดชำลำต้นและรากพิเศษ (Specialized  stem  and root Cutting)

การตัดชำลำต้นและรากพิเศษ (Specialized  stem  and root Cutting)
การตัดชำลำต้นและรากพิเศษ  เป็นการตัดชำลำต้นและราก ประเภทสะสมอาหาร  ซึ่งเป็นส่วนที่อยู่ใต้ดินและเหนือดิน  ได้แก่ หัว  ราก  เหง้า  หน่อ  และแง่ง      พืชผักบางชนิดที่ขยายพันธุ์โดยวิธีนี้    เช่น  หัวมันฝรั่ง  มันเทศ  ขิง  ข่า  และไม้ดอก ไม้ประดับ  บางชนิด  เช่น  ขิงแดง   พลับพลึง  ดาหลา   บัวสวรรค์  ว่านสี่ทิศ     บอนสี   เป็นต้น      โดยใช้วิธีการแบ่งหรือแยก  ตามความเหมาะสมของพืชแต่ละชนิด    การที่รากจะพัฒนาเป็นต้นใหม่ได้ นั้น  แสดงว่า  รากมีตาพิเศษ  จึงทำให้เกิดต้นและรากใหม่   การเกิดต้นจะเกิดบริเวณโคนรากก่อน  แล้วจึงไปเกิดรากตามบริเวณรากเพิ่มขึ้น

ส่วนการตัดชำราก  เป็นการนำรากมาตัดเป็นท่อน  แล้วนำไปชำในวัสดุเพาะชำ    พืชที่สามารถขยายพันธุ์ด้วยการตัดชำราก  ได้แก่  แคแสด  สน  สาเก    เป็นต้น    โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้
1. เลือกรากพืช ขนาดประมาณ  1  นิ้ว
2. ใช้กรรไกรตัดเป็นท่อน ยาวประมาณท่อนละ  2  นิ้ว
3. ปักราก เอน ประมาณ  30  องศา  โดยให้โคนท่อนราก โผล่เล็กน้อย
4. เมื่อท่อนรากเกิดรากและต้นใหม่ จึงขุดย้ายไปเพาะชำหรือปลูกต่อไป