หน่วยที่ 2 วัตถุดิบ วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือและการดูแลรักษา?

- วัตถุดิบ และวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือในการทำปุ๋ยชีวภาพ - การเตรียมและเลือกใช้เครื่องมือ - การดูแลรักษาเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์

หน่วยที่ 3 การผลิตปุ๋ยชีวภาพ?

- การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพสำหรับเจริญเติบโต - การผลิตสารชีวภาพสำหรับไล่แมลง

หน่วยที่ 4 การทำบัญชี?

- การจดบันทึกการปฏิบัติงาน - การทำบัญชีรายรับ – รายจ่าย - ปฏิบัติการคำนวณค่าใช้จ่าย การกำหนดราคาขาย และจัดจำหน่าย

แบบประเมินความพึงพอใจในการเรียน

จุลินทรีย์ที่ดีต่อวงการเกษตร

ในธรรมชาติ, พืชต้องอาศัยร่วมกับจุลินทรีย์ ที่อาศัยอยู่ร่วมกัน พืชให้อาหารกับจุลินทรีย์รูปของคาร์บอนและจุลินทรีย์ทำให้สารอาหารพร้อมใช้กับพืชและช่วยป้องกันโรค วันหนึ่งในพื้นที่ของเราที่จุลินทรีย์กับพืชอาศัยร่วมกันอย่างมีความสุข เรากับเพิ่มสารเคมีลงไปมากขึ้นเรื่อย ๆ ลงในดิน ทำให้เกิดการทำลาย การเชื่อมต่อระหว่างพืชและจุลินทรีย์ ทำให้พิชเหล่านี้ขาดผู้ที่ทำหน้าที่ย่อยสลาย ขาดผู้ที่สร้างอาหารให้กับพืช

ธ่าตุอาหารบางตัว เช่น ฟอสฟอรัสซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญ ที่พืชจำเป็นต้องเจริญเติบโต เมื่อฟอสฟอรัสในธรรมชาติขาดแคลน เกษตรกรจะเติมฟอสฟอรัสให้กับพืชในรูปแบบของปุ๋ยเคมี กว่า 70 เปอร์เซ็นต์ของตัวฟอสฟอรัสในปุ๋ย จะผูกพันกับอนุภาคดิน และต้นไม้ไม่สามารถนำไปใช้ได้ จุลินทรีย์บางชนิดสามารถปลดล็อคฟอสฟอรัส และสารอาหารรองอื่น ๆ เพื่อให้พืชสามารถใช้งานได้

จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์บางตัวสามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศเข้ามาเก็บไว้ และปลดปล่อยให้กับพืช เช่น แบคทีเรียตรึงไนโตรเจน ในพืชตระกูลถั่วและราชีวภาพในกลุ่มของไมคอร์ไรซา

วันนี้เมื่อเราเริ่มต้นเรียนรู้จุลินทรีย์กันก่อนนะครับ ก่อนที่จะนำจุลินทรีย์เหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ เราสามารถแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ได้5กลุ่มหลักคือ

1…กลุ่มจุลินทรีย์พวกเชื้อราที่มีเส้นใย (Filamentous fungi) ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งการย่อยสลาย สามารถทำงานได้ดีในสภาพที่มีออกซิเจน มีคุณสมบัติต้านทานความร้อนได้ดี ปกติใช้เป็นหัวเชื้อผลิตเหล้า ผลิตปุ๋ยหมัก ฯลฯ

2…กลุ่มจุลินทรีย์พวกสังเคราะห์แสง (Photosynthetic microorganisms) ทำหน้าที่สังเคราห์สารอินทรีย์ให้แก่ดิน เช่น ไนโตรเจน กรดอะมิโนชนิดต่างๆ น้ำตาล วิตามิน ฮอร์โมน เพื่อสร้างความสมบูรณ์ให้แก่ดิน

3…..กลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ในการหมัก (Zynogumic or Fermented microorganism) ทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นให้ดินต้านทานโรคได้ดี ฯลฯ เพิ่มกระบวนการย่อยสลายได้ดี ช่วยลดการพังทลายของหน้าดิน ป้องกันโรคและแมลงศัครูพืชบางชนิดของพืชและสัตว์ สามารถบำบัดมลพิษในน้ำเสียที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมเป็นพิษต่างๆ ได้

4…กลุ่มจุลินทรีย์พวกตรึงไนโตรเจน (Nitrogen fixing microorganism) มีทั้งพวกที่เป็นสาหร่าย และพวกแบคทีเรีย ทำหน้าที่ตรึงก๊าซไนโตรเจนจากอากาศ และแปรสภาพไนโตรเจน ซึ่งผลิตเอ็มไซม์โปรตีเอส ย่อยสลายอินทรีย์ไนโตรเจนที่สะสมอยู่ในดิน ให้อยู่ในรูปของไนโตรเจนที่พืชนำไปใช้ได้ จุลินทรีย์ที่มีบทบาทในการย่อยได้แก่ กลุ่มบาซิลัส (Bacillus) อาโธรแบคเตอร์ (Arthrobacter) สเตรปโตมัยสีท (Streptomyces) แอสเพอร์จิลลีส (Aspergillus) ไนโตรแบคเตอร์ (Nitrobactor) และไนโตรโซโมเนส (Nitrosomonas)

นอกจากนี้จุลินทรีย์ในดินบางชนิดสามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศเปลี่ยนให้เป็นสารประกอบไนโตรเจนที่มีประโยชน์ต่อพืชได้ จุลินทรีย์กลุ่มนี้แบ่งย่อยได้เป็น 3 ประเภทตามลักษณะความสัมพันธ์กับพืช ได้แก่

1…. แบคทีเรียตรึงไนโตรเจนที่อยู่ร่วมกับพืชแบบพึ่งพาอาศัยกัน เช่น เชื้อไรโซเบียมในพืชตระกูลถั่ว

2…. แบคทีเรียตรึงไนโตรเจนที่อาศัยอยู่ร่วมกับพืชแบบอิสระ เช่นอะโซสไปริลลัม (Azospirillum) พบในพืชตระกูลหญ้า อ้อย ข้าวฟ่าง และข้าวโพด

3…แบคทีเรียที่อาศัยอยู่อย่างอิสระในดินและบริเวณรากพืช เช่น อะโซโตแบคเตอร์ (Azotobacter) และไบเจอริงเคีย (Beijerinckia)

นอกจากแบคทีเรียแล้วสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน หรือไซยาโนแบคทีเรีย (cyanobacteria) จัดเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ชนิดหนึ่งที่สามารถสังเคราะห์แสงและตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้ เจริญเติบโตพบมากในแหนแดง

5….กลุ่มจุลินทรีย์พวกสร้างกรดแลคติก (Lactic acids) มีประสิทธิภาพในการต่อต้านเชื้อราและแบคทีเรียที่เป็นโทษ ส่วนใหญ่เป็นจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการอากาศหายใจ ทำหน้าที่เปลี่ยนสภาพดินเน่าเปื่อย หรือดินก่อโรคให้เป็นดินต้านทานโรค ช่วยลดจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรคพืชที่มีจำนวนนับแสน หรือให้หมดไป นอกจากนี้ยังช่วยย่อยสลายเปลือกเมล็ดพันธุ์พืช ช่วยให้เมล็ดงอกได้ดีและแข็งแรงกว่าปกติอีกด้วย