หน่วยที่ 2 วัตถุดิบ วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือและการดูแลรักษา?

- วัตถุดิบ และวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือในการทำปุ๋ยชีวภาพ - การเตรียมและเลือกใช้เครื่องมือ - การดูแลรักษาเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์

หน่วยที่ 3 การผลิตปุ๋ยชีวภาพ?

- การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพสำหรับเจริญเติบโต - การผลิตสารชีวภาพสำหรับไล่แมลง

หน่วยที่ 4 การทำบัญชี?

- การจดบันทึกการปฏิบัติงาน - การทำบัญชีรายรับ – รายจ่าย - ปฏิบัติการคำนวณค่าใช้จ่าย การกำหนดราคาขาย และจัดจำหน่าย

แบบประเมินความพึงพอใจในการเรียน

ชื่อเรื่องSuwath Sapyaprapa ปุ๋ยปลาหมักเข้มข้น : ระบบขยายเชื้อจุลินทรีย์ก่อนหมัก
ปุ๋ยปลาหมักเข้มข้น : ระบบขยายเชื้อจุลินทรีย์ก่อนหมัก
การจะทำการเกษตรเพื่อได้ผลผลิตที่ คุณภาพตรงตามที่ต้องการเหมือนกันได้ในทุกครั้งนั้น จำเป็นต้องรู้ปัจจัยต่างๆทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการผลิตให้รอบด้านครบถ้วน หากปัจจัยอย่างใดอย่างหนึ่งแปรเปลี่ยนไป ก็ย่อมที่จะส่งผลกระทบต่อทั้งปริมาณและคุณภาพของผลผลิต
ปุ๋ยปลาหมัก ที่แนะนำให้ทำใช้กัน ก็เป็นปัจจัยการผลิตอย่างหนึ่ง ซึ่งควรมีคุณภาพคงที่ได้ประโยชน์ในการนำไปใช้เหมือนกันในทุกครั้ง แต่เดิมมาแนะนำให้นำเศษปลา หัวปลาบ้าง ไส้ปลาบ้าง ส่วนอื่นๆรวมๆกันจากเศษปลาเหลือทิ้งมาทำปุ๋ยปลาหมัก ซึ่งแต่ละครั้งไม่เคยได้มาเหมือนกัน
ซึ่งถ้านำไปใช้สำหรับปรับปรุงบำรุงดิน ปรับโครงสร้างของดิน หรือ ใช้ช่วยย่อยอินทรีย์วัตถุในการทำปุ๋ยหมักแบบกองหมัก แม้จะได้เศษปลาในแต่ละครั้งมาไม่เหมือนกัน ก็ใช้ได้
แต่ถ้าสามารถหมักแยกเป็นอย่างๆได้ เช่น เฉพาะหัวปลาล้วนๆ ไส้ปลาล้วนๆ แยกหมักเป็นถังๆไป เวลานำไปใช้ก็จดบันทึกผลของการนำไปใช้ของแต่ละตัวเอาไว้ เมื่อจะทำใหม่อีกครั้ง ก็ให้ทำเหมือนเดิม ใช้เหมือนเดิมตามที่ต้องการ อย่างนี้การนำไปใช้ ก็จะมีความแม่นยำ ให้ผลของการนำไปใช้เหมือนกันในทุกครั้ง
ทีนี้หากไม่สะดวกจะทำอย่างข้างต้น แต่ยังต้องการความแม่นยำในการนำไปใช้ ซึ่งเน้นใช้สำหรับเป็นแหล่งธาตุไนโตรเจน ที่มีปริมาณกรดอะมิโนคงที่ ก็ควรเลือกใช้ปลาทั้งตัว จะตัวเล็กหรือตัวใหญ่ ก็ขอให้เป็นปลาทั้งตัว เล็กใหญ่คละกันไปโดยใช้น้ำหนักเป็นเกณฑ์
ปลาตัวใหญ่ต้องสับเป็นชิ้นๆหรือบด แต่ปลาตัวเล็กๆอาจไม่ต้องเสียเวลาสับบด สามารถใส่ลงไปได้ทั้งตัวได้เลย เช่น ปลาเล็กปลาน้อยหลังล้างบ่อหรือที่เรียกว่า ปลาเหยื่อ ซึ่งหากเป็นปลาชนิดเดียวกันได้ยิ่งดี หรืออาจซื้อปลาในท้องตลาดเป็นปลาชนิดเดียวกันก็ได้ แล้วแต่จะสะดวก เช่น เลือกใช้ปลานิลตัวเล็กๆที่หาซื้อได้ง่าย ที่ราคาถูกหน่อยมาหมักในทุกครั้ง
ทั้งนี้การควบคุมคัดสรรวัตถุดิบแต่แรกคือปลาให้มีคุณภาพสม่ำเสมอมาใช้เช่นนี้ ก็เป็นอันหวังได้ว่า ปุ๋ยปลาหมักที่ได้ จะมีคุณภาพเหมือนกัน หรือ อย่างน้อยก็ใกล้เคียงกันในทุกครั้ง
การทำปุ๋ยปลาหมัก ที่แต่เดิมหมักปลากับกากน้ำตาล อัตรา 1 : 1 ส่วนโดยน้ำหนัก มักเกิดปัญหาเป็นปลาแช่อิ่มบ้าง หมักนานเป็นปี ปลาก็ยังคงเป็นตัวปลาอยู่อย่างนั้นไม่ย่อยสลาย แก้ด้วยการเติมน้ำหรือน้ำมะพร้าวลงไป 2 – 3 ส่วน และใส่จุลินทรีย์ช่วยย่อยสลาย ได้ปุ๋ยปลาหมักที่สามารถนำไปใช้ได้ แต่ก็มักเจือจางไม่เข้มข้น บางกรณีเกิดการปนเปื้อนจุลินทรีย์เน่าเสียทำให้มีกลิ่นเหม็น บางกรณีมีไขมันลอยหน้ามากเวลานำไปฉีดพ่นพืชทำให้ใบไหม้ได้
ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น จึงได้ปรับเปลี่ยนวิธีการทำปุ๋ยปลาหมักเสียใหม่ โดยเริ่มต้นจากการขยายจุลินทรีย์ที่จะใช้ในการย่อยสลายให้มีปริมาณมากขึ้นเสียก่อน จากนั้นจึงใส่ปลาลงไป เป็นการใช้น้ำจุลินทรีย์แทนกากน้ำตาลในการหมักปลา ซึ่งเทียบแล้วยังคงอัตราเท่ากับ 1 : 1 เหมือนเดิม โดยคนปลาให้อิ่มน้ำจุลินทรีย์
แล้วใช้รำละเอียดโปะหน้ากดทับปลาให้จมอยู่แต่ในน้ำจุลินทรีย์ ไม่ให้ลอยอืดขึ้นมาและเพื่อให้ชั้นของรำที่ปิดทับผิวหน้าดูดซับน้ำมัน ให้จุลินทรีย์ชนิดที่ใช้อากาศช่วยย่อยสลายไขมัน ก็จะได้ปุ๋ยปลาหมักที่เข้มข้น ทั้งไม่เหม็นและไม่มีน้ำมันลอยหน้า
ขั้นตอนการทำปุ๋ยปลาหมัก
1. การขยายเชื้อจุลินทรีย์ช่วยย่อยสลาย
น้ํา 50 ลิตร + กากน้ําตาล 20 ก.ก. + โปร ซุปเปอร์ฟู้ดส์ ( ฮอร์โมนไข่ ซุปเปอร์ ) 1 ลิตร + หัวเชื้อจุลินทรีย์หน่อกล้วย 1 ลิตร
ผสมกากน้ําตาล 20 ก.ก. กับ น้ํา 50 ลิตรในถังพลาสติก ขนาด 100 – 120 ลิตร คนให้ละลายเข้ากันดีเสียก่อน จึงใส่ โปร ซุปเปอร์ฟู้ดส์ 1 ลิตร ลงไป คนให้เข้ากัน
เสร็จแล้วใส่ หัวเชื้อจุลินทรีย์หน่อกล้วย ลงไป 1 ลิตร คนให้เข้ากัน ตั้งไว้ในที่ร่ม อากาศถ่ายเทสะดวก 3-4 วัน โดยไม่ต้องคน รอจนฟองยุบ นำมาใช้หมักปลาได้
2. การหมักปลา
ปลาสด 50 ก.ก. + รำละเอียด 10 ก.ก. + สับปะรด 1 ผล + ผลมะกรูด 20 ผล ( ~1 ก.ก.)
ปลาสดทั้งตัว 50 ก.ก. หั่นสับเป็นชิ้นเล็กหรือบดละเอียด ใส่ลงไปในน้ำจุลินทรีย์ ที่ขยายไว้แล้วข้างต้น ถ้าหากเป็นปลาตัวเล็ก ใส่ลงไปได้เลยไม่ต้องสับหั่น หั่นผลสับปะรดทั้งเปลือกเป็นชิ้นเล็กๆ ใส่ลงไป 1 ผล แล้วคน ตัวปลา หรือ ชิ้นปลา หรือ เนื้้อปลา ให้อิ่มน้ำจุลินทรีย์ จากนั้นใช้รำละเอียด 10 ก.ก. โปะหน้าให้ทั่ว ปิดฝาถังกันแมลงวันวางไข่แล้วเกิดหนอน หมักไว้ 7 วัน
พอครบ 7 วันแล้ว จึงใส่ผลมะกรูด ผ่าสี่ลงไป 20 ผล คนชั้นรำละเอียดที่ปิดอยู่ที่ผิวหน้าให้เข้ากันด้วยดีกับน้ำจุลินทรีย์ จากนั้น คน เช้า-เย็น ทุกวัน ต่อไปอย่างน้อย อีก 21 วัน หรือ สังเกตเนื้อปลาถูกย่อยสลายหมดดีแล้ว จึงนำมาใช้ได้
วิธีใช้ : ใช้ปุ๋ยปลาหมัก 20 – 40 ซี.ซี. ต่อ น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทางใบหรือราดรดทางดินเลี้ยงต้นเลี้ยงใบ
 
 
 
 
 
 
 
<img class="j1lvzwm4" role="presentation" src="data:;base64,” width=”18″ height=”18″ />
81
ความคิดเห็น 6 รายการ
แชร์ 16 ครั้ง