0(0)

ท30210 ภาษากับวัฒนธรรม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564

หลักสูตรรายวิชา

คำอธิบายรายวิชาเพิ่มเติม

ท  30210   ชื่อวิชา ภาษากับวัฒนธรรม    กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6     ภาคเรียนที่ 2  เวลา    40    ชั่วโมง      จำนวน     1.0   หน่วยกิต

ศึกษาความหมายของภาษา วัฒนธรรม ความสัมพันธ์ของภาษาไทยกับวัฒนธรรมไทย ภาษาไทยที่        มีความสัมพันธ์กับศิลปะแขนงต่างๆ คือสถาปัตยกรรม จิตรกรรม  ประติมากรรม นาฏศิลป์ ดนตรีไทย และวรรณคดีการใช้ภาษาที่มีความสัมพันธ์กับประเพณีตลอดจนภาษาและสำนวนไทยที่ได้จากประเพณีต่างๆ วิเคราะห์เรื่องเกี่ยวกับคติชาวบ้านประเภทต่างๆ สุภาษิต สำนวน คำพังเพย ปริศนาคำทาย เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจสะท้อนให้เห็นชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย นำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้โดยเฉพาะความสำคัญของภาษาไทยในการสืบทอดวัฒนธรรมไทยอันเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย

ใช้กระบวนการอ่านคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ เพื่อให้เกิดความรู้            ความเข้าใจ สามารถใช้ภาษาในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมาะสม ซาบซึ้ง ตระหนักในคุณค่าและรักษาภาษาไทยในฐานะมรดกทางวัฒนธรรม

เสริมสร้างให้นักเรียนเกิดความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ มีวินัยใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงานและรักความเป็นไทย

สารบัญรายวิชา

24 บทเรียน40h

ภาษากับวัฒนธรรม

แบบทดสอบก่อนเรียนประเภทของภาษา
ประเภทของภาษา00:00:00
ระดับของภาษา
วิดิทัศน์สั้นสรุปประเภทของภาษา00:00:00
ใบงานประเภทของภาษา
ความสัมพันธ์ของภาษากับวัฒนธรรม
วิดิทัศน์สั้นสรุปความสัมพันธ์ของภาษากับวัฒนธรรม00:00:00
ใบงานภาษากับวัฒนธรรม
แบบทดสอบหลังเรียน

ภาษากับวรรณคดี?

ศึกษาความสัมพันธ์ของภาษากับวรรณคดีในรูปแบบต่างๆ วรรณคดีและวรรณกรรม เป็นงานที่แต่งขึ้นโดยเลือกใช้ภาษาเพื่อสื่อความในเรื่องถ่ายทอดความรู้ ความคิด จินตนาการ ประสบการณ์ ฯลฯ มีลักษณะที่แตกต่างกัน

ภาษากับสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม?

ศึกษาความสัมพันธ์ของภาษากับงานสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมแขนงต่างๆจิตรกรรม  ประติมากรรม นาฏศิลป์ ดนตรีไทยความสัมพันธ์ระหว่างวรรณคดีกับสถาปัตยกรรม ความสัมพันธ์ระหว่างวรรณคดีกับจิตรกรรม วรรณคดีไทยที่มีความสัมพันธ์กับศิลปะสาขาประติมากรรมเป็นต้น

สำนวนสุภาษิตกับภาษาและวัฒนธรรม?

ศึกษากี่ยวกับเรื่อง สำนวน สุภาษิต คำพังเพย ที่มีใช้กันมาอย่างยาวนาน ซึ่ง สำนวนไทย สุภาษิตไทยและคำพังเพยนั้น เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของผู้คนที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ต่างๆ ขึ้น ทั้งทางดีและทางร้าย จนมีการนำสิ่งที่เกิดขึ้นมาเรียบเรียงถ้อยคำใหม่ในเชิงสั่งสอนหรือเปรียบเทียบ นับเป็นอีกหนึ่งในวัฒนธรรมที่น่าภาคภูมิใจของไทย

แบบประเมินความพึงพอใจ?

ให้นักเรียนทำแบบประเมินความพึงพอใจหลังจากนักเรียนได้เรียนบทเรียนออนไลน์ครบเรียบร้อยแล้ว

เกี่ยวกับผู้สอน

ครู ชำนาญการพิเศษ
4.46 (13 การให้คะแนน)

5 รายวิชา

661 ผู้เรียน

เรียน

กลุ่มเป้าหมาย

  • นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/4