บทอาขยาน กาพย์เห่เรือ ตอน เห่ชมเรือกระบวน เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรไชยเชษฐ์สุริยวงศ์ (เจ้าฟ้ากุ้ง)

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 กาพย์เห่เรือ?

กาพย์เห่เรือ พรรณนาถึงรูปลักษณ์สวยงามแปลกตา สมรรถนะของเรือพระที่นั่งและเรือลำต่างๆ กระบวนเห่เรือ ตลอดจนความสามัคคี พรักพร้อมของพลพายที่ร่วมกระบวน

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การอ่านวินิจสาร?

การอ่านแปลความ ตีความและขยายความ เป็นการอ่านที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันการอ่านแปลความเป็นทักษะขั้นพื้นฐานของการอ่านตีความและการอ่านขยายความ ถ้าอ่านแปลความของเรื่องได้ก็จะนำไปสู่การตีความ สามารถอ่านขยายความ เป็นวิธีการอ่านที่ช่วยให้สามารถอ่านสารต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 สามก๊ก ตอนกวนอูไปรับราชการกับโจโฉ?

สามก๊ก พงศาวดารจีนแต่งเป็นความเรียงร้อยแก้วแบบบรรยายโวหาร มีเนื้อหาเกี่ยวกับการปกครอง กลอุบาย การทำสงคราม ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสร ให้เป็น “ยอดแห่งความเรียงประเภทนิทาน”

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 การประเมินคุณค่างานเขียน?

การประเมินคุณค่าเรื่องสั้นและการประเมินคุณค่ากวีนิพนธ์ เป็นการศึกษาวิเคราะห์งานเขียนทั้งด้านแนวคิด การใช้ภาษา กลวิธีการแต่ง รวมถึงคุณค่าที่ได้รับจากงานเขียน เพื่อนำไปใช้ประเมินงานเขียนที่ได้อ่าน และนำไปใช้พัฒนางานของตนเอง

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับความคิด?

มนุษย์แสดงความคิดออกมาได้โดยการกระทำ และโดยการใช้ภาษา โดยการกระทำ บางอย่างคนอื่นอาจไม่เข้าใจว่าผู้กระทำ มีความคิดอย่างไรจึงต้องมีการอธิบายด้วยจึงจะรู้ว่าผู้กระทำ มีความคิดอย่างไร ในขณะที่มนุษย์คิดอยู่นั้นย่อมใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการคิดไปด้วย เมื่อมีโอกาสใช้ภาษาถ่ายทอดความคิดใดๆ ออกมาเป็นถ้อยคำ เพื่อสื่อสารกับคนอื่นความคิดของคนนั้นก็จะพัฒนายิ่งขึ้นไปด้วย

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ไตรภูมิพระร่วง ตอนมนุสสภูมิ?

ไตรภูมิพระร่วงเป็นวรรณคดีเก่าแก่ที่แต่งขึ้นตั้งแต่สมัยสุโขทัย เรื่องราวเกี่ยวกับความแปรเปลี่ยนและความไม่แน่นอนของสิ่งต่างๆ ในโลกนี้

             

สรุปความรู้เรื่อง กาพย์เห่เรือ

           บทเห่เรือที่เก่าแก่และได้รับความนิยม จนถือเป็นแบบแผนในการประพันธ์บทเห่เรืออื่นๆ จนถึงปัจจุบัน คือ “กาพย์เห่เรือ” บทพระนิพนธ์ในเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศรไชยเชษฐสุริยวงศ์ หรือ พระนามที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร หรือ เจ้าฟ้ากุ้ง พระองค์ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2248 เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ประสูติแต่กรมหลวงอภัยนุชิต

สรุปความรู้เรื่องกาพย์เห่เรือ - วรรณคดีวิจักษ์ ระดับชั้น ม.6

           เจ้าฟ้ากุ้งมีพระปรีชาสามารถหลายด้าน โดยเฉพาะด้านวรรณกรรม ทรงพระนิพนธ์วรรณกรรมไว้หลายเรื่อง เช่น กาพย์เห่เรือนันโทปนันทสูตรคำหลวง พระมาลัยคำหลวง กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง กาพย์ห่อโคลงนิราศธารโศก กาพย์เห่เรือเรื่องกากี เป็นต้น

สรุปความรู้เรื่องกาพย์เห่เรือ - วรรณคดีวิจักษ์ ระดับชั้น ม.6

          กาพย์เห่เรือของเจ้าฟ้ากุ้งมีจุดประสงค์ คือ ใช้สำหรับเห่เรือพระที่นั่งของพระองค์ เมื่อตามเสด็จทางชลมารค (เดินทางทางน้ำ) ไปยังพระพุทธบาท จ. สระบุรี นอกจากนั้นการเห่เรือยังเป็นการให้จังหวะแก่ฝีพายอีกด้วย

สรุปความรู้เรื่องกาพย์เห่เรือ - วรรณคดีวิจักษ์ ระดับชั้น ม.6

          ลักษณะคำประพันธ์ของกาพย์เห่เรือ นั้น เรียกว่า “กาพย์ห่อโคลง” คือ โคลงสี่สุภาพขึ้นต้นบท 1 บท ตามด้วยกาพย์ยานี 11 1 บท ที่มีความหมายเหมือนโคลงต้นบท และตามด้วยกาพย์ยานี 11 จนกว่าจะจบกระบวนความ

ทำนองการเห่ - กาพย์เห่เรือ

ทำนองหรือลำนำที่ใช้ในการเห่เรือ

          ทำนองหรือลำนำที่ใช้ในการเห่เรือ เป็นการให้จังหวะแก่ฝีพายให้พายตามจังหวะทำนองการร้อง เพื่อความสวยงามและความพร้อมเพรียง ทำนองที่ใช้ในการเห่เรือปัจจุบันมี 3 ทำนอง คือ ช้าละวะเห่ มูลเห่ และสวะเห่

          ก่อนการเริ่มต้นเห่เรือตามทำนองดังกล่าว เมื่อเรือพระที่นั่งทรงเริ่มออกจากท่ามาเข้ากระบวน พนักงานต้นเสียงเห่เรือก็จะขึ้นต้น เกริ่นเห่ เป็นทำนองตามเนื้อความในโคลงสี่สุภาพก่อน จึงมักเรียกว่า “เกริ่นโคลง” ซึ่งเป็นการให้สัญญาณเตือนฝีพายให้เตรียมพร้อม เพื่อจะเคลื่อนกระบวนและดำเนินทำนองต่อไปนี้

          1.ช้าละวะเห่ มาจาก ช้าแลว่าเห่ เป็นทำนองที่ใช้เริ่มต้นการเห่ ถือเป็นการให้สัญญาณเริ่มต้นเคลื่อนเรือในกระบวนทุกลำออกจากท่าไปพร้อมกันอย่างช้าๆ และใช้ทำนองนี้เมื่อพายเรือตามกระแสน้ำ

          2. มูลเห่ หรือในการเห่เรือเล่น เรียกว่า เห่เร็ว เป็นการเห่ในจังหวะกระชั้นกระชับ ฝีพายจะเร่งพายให้เร็วกว่าเดิมตามจังหวะกระทุ้งเส้า และใช้ทำนองนี้ขณะพายเรือทวนน้ำ

          3. สวะเห่ เป็นการเห่เมื่อใกล้จะถึงที่หมายหรือเรือใกล้จะเทียบท่า

เห่เรือ

ชื่อนก – หัวโขน – หัวเรือ

ชื่อนก - หัวโขน - หัวเรือ

เนื้อหาของ กาพย์เห่เรือ ประกอบด้วยบทเห่ 4 ตอน

          ตามช่วงเวลาใน 1 วัน ได้แก่

          –  ตอนเช้า เห่ชมเรือกระบวน
          –  ตอนสาย เห่ชมปลา
          –  ตอนบ่าย เห่ชมไม้
          –  ตอนเย็น เห่ชมนก

          จบลงด้วยยามค่ำ บทเห่ครวญ เป็นบทคร่ำครวญ พรรณนาถึงนางอันเป็นที่รัก

           กาพย์เห่เรือมีลักษณะเหมือนกับการแต่งนิราศ ที่มีการพรรณนาธรรมชาติระหว่างการเดินทางและมีการกล่าวถึงนางอันเป็นที่รัก ยกเว้น! เห่ชมกระบวนเรือ ที่ไม่มีบทรำพันนิราศ

         จากเรื่องกาพย์เห่เรือ แสดงให้เห็นถึงสภาพชีวิตของคนสมัยก่อน ที่ใช้การสัญจรทางน้ำอย่างเป็นปกติ และการเดินทางที่ใช้เวลานานโดยไม่มีเทคโลโนยีใดๆ ทำให้มีเวลาในการชื่นชมธรรมชาติและมีโอกาสสร้างสรรค์ผลงานการประพันธ์หรือเพลงที่ตกทอดมาถึงปัจจุบัน

ที่มา : https://campus.campus-star.com/variety/114731.html