4.00(1)

พ30201 มวยไทย 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2564 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564

หลักสูตรรายวิชา

ศึกษาหลักการเคลื่อนไหว รูปแบบการเคลื่อนไหว ทักษะ กฎ กติกา มารยาท เกี่ยวกับศิลปะ

มวยไทย เพื่อออกกำลังกายและสร้างเสริมสมรรถภาพทางกาย สามารถใช้เป็นสื่อในการออกกำลังกาย

ในชีวิตประจำวันได้

วิเคราะห์หลักวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวและรูปแบบการเคลื่อนไหวนำไปประยุกต์ใช้ในศิลปะ

มวยไทย อธิบายและปฏิบัติเกี่ยวกับสิทธิ กฎ กติกา กลวิธีต่าง ๆ ในระหว่างการเล่น การแข่งขันกีฬา

กับผู้อื่นและนำไปสรุปเป็นแนวปฏิบัติและใช้ในชีวิตประจำวัน แสดงออกถึงการมีมารยาทในการดู การ

เล่น การแข่งขันกีฬาด้วยความมีน้ำใจนักกีฬา จนเป็นผู้มีบุคลิกภาพที่ดีสร้างเสริมสมรรถภาพทางกาย

เพื่อสุขภาพของตนเอง นำประสบการณ์และความสามารถของตนเองเพื่อเพิ่มศักยภาพของทีม คำนึงถึง

ผลที่เกิดต่อผู้อื่นและสังคม

เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ยอมรับและเห็นคุณค่าของการออกกำลังกายและการเข้า

ร่วมกิจกรรมกีฬาประเภทศิลปะมวยไทย ชื่นชมในสุนทรียภาพและแสดงความมีน้ำใจนักกีฬาของการ

ออกกำลังกายและเล่นกีฬา นำประสบการณ์ที่ได้รับจากกิจกรรมทางการกีฬาไปใช้เป็นแนวทางในการ

ทำงานและดำเนินชีวิตประจำวัน

สิ่งที่คุณจะได้เรียนรู้

  • ในการฝึกมวยไทยจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจหลักพื้นฐานก่อน เพราะเป็นทักษะเบื้องต้นการเรียนแม่ไม้มวยไทยและกลมวย เพื่อนำไปสู่การมีทักษะในขั้นสูงต่อไป ซึ่งหลักพื้นฐานดังกล่าว สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้กล่าวไว้ในศิลปะมวยไทย

สารบัญรายวิชา

4 บทเรียน36h

ประวัติมวยไทย

การพันมือ?

เทคนิคการพันข้อมือนักมวยที่ถูกต้อง ทำได้ง่าย ใช้เวลาไม่นาน แต่ช่วยป้องกันอาการบาดเจ็บที่มือได้เป็นอย่างดี         เรียกได้ว่ากีฬาชกมวยกับคนไทย ถือเป็นสิ่งที่อยู่คู่กันมาอย่างยาวนาน จนปัจจุบันกลายเป็นกีฬาที่ใครหลายคนเลือกฝึกเพื่อเสริมความแข็งแรงให้ตัวเอง ใช้ป้องกันตัว รวมถึงลดน้ำหนักด้วย แต่ก่อนที่จะชกมวยนั้น การเตรียมตัวให้พร้อมถือเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งรวมไปถึงการพันข้อมือก่อนใส่นวมด้วย ว่าแล้วกระปุกดอทคอมจึงหยิบวิธีพันข้อมือที่ถูกต้องมาแนะนำกันครับ 1.ทำไมนักมวยต้องพันข้อมือ ? เหตุผลที่นักมวยทั้งมือใหม่และมืออาชีพต้องพันข้อมือนั้น ก็เพื่อป้องกันอาการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นกับจากการชกมวย ซึ่งถือว่ามือเป็นอวัยวะที่สำคัญสุด ๆ ของกีฬาประเภทนี้ ที่อาศัยการชกเป็นหลักนั่นเอง โดยการพันมือจะช่วยป้องกันทั้งข้อต่อและกระดูกชิ้นเล็กชิ้นน้อย ซึ่งเป็นจุดที่แตกหักได้ง่าย หากมีการชกซ้ำไปซ้ำมา รวมถึงซัพพอร์ตข้อมือ นิ้ว และสันหมัดด้วย 2. ประเภทของผ้าพันข้อมือ    ผ้าพันข้อมือแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้           2.1 ผ้าพันมือแบบคอตตอน เป็นผ้าพันมือที่นิยมใช้ในการฝึกซ้อม มีความยืดหยุ่นสูง มาพร้อมกับตีนตุ๊กแก ช่วยให้ไม่หลุดง่าย           2.2 ผ้าพันมือแบบเม็กซิกัน ผ้าประเภทนี้จะดูคล้ายกับแบบแรก แต่มีความแตกต่างกันตรงวัสดุที่ใช้ในการผลิต ซึ่งผ้าพันมือแบบเม็กซิกันจะใช้ผ้าทอผสมกับเส้นใยอีลาสติก ที่ให้ความยืดหยุ่นพอสมควร แต่น้อยกว่าแบบแรก          2.3 ผ้าก๊อซ หรือ ผ้าพันแผลที่หลายคนรู้จักกันดี เป็นผ้าที่มักใช้พันข้อมือร่วมกับเทปกาว เพื่อลงแข่งขันชกมวยแบบจริงจังมากกว่าการฝึกซ้อม ทั้งยังเป็นแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งด้วย วิธีพันข้อมือนักมวยที่ถูกต้อง เลือกใช้ผ้าพันมือแบบมีห่วงสำหรับสอดนิ้วโป้งและมีตีนตุ๊กแก ซึ่งจะช่วยให้พันข้อมือได้สะดวกยิ่งขึ้น เริ่มจากนำนิ้วโป้งสอดเข้าไปในห่วงของผ้าพันมือให้เรียบร้อย จากนั้นให้พันวนรอบด้านหลังมือ พร้อมดึงผ้าให้ตึง ต่อมาให้พันบริเวณข้อมือสัก 3-4 รอบ ขึ้นอยู่กับความยาวของผ้าพันมือที่เลือกใช้ เพราะยิ่งยาวก็ยิ่งพันได้หลายรอบ ซึ่งช่วยซัพพอร์ตข้อมือได้ดีกว่า แล้วให้ขยับขึ้นมาพันรอบฝ่ามือสัก 3-4 รอบเช่นกัน ซึ่งในการพันแต่ละรอบ ควรดึงผ้าให้ตึงอยู่เสมอ จากนั้นให้พันผ้าเป็นรูปตัว X โดยพันไขว้ขึ้นเข้าไปในช่องระหว่างนิ้วก้อยและนิ้วนาง แล้วพันกลับขึ้นมาทางช่องระหว่างนิ้วชี้และนิ้วโป้ง พันเป็นรูปตัว X เข้าไปในช่องระหว่างนิ้วที่เหลือ ซึ่งก็คือระหว่างนิ้วนางและนิ้วกลาง กับระหว่างนิ้วกลางและนิ้วชี้ ดึงผ้าให้ตึง แล้วพันผ้ารอบนิ้วโป้ง 1 รอบ  ต่อมาให้พลิกฝ่ามือขึ้นเพื่อพันผ้าสำหรับล็อกนิ้วโป้ง โดยการพันที่ข้อมือและนิ้วโป้งตามภาพ จากนั้นก็พันผ้ารอบฝ่ามืออีก 3-4 รอบ พันให้แน่นเข้าไว้ ส่วนผ้าที่เหลือให้ใช้พันข้อมือสลับกับฝ่ามือจนสุด แล้วปิดทับด้วยตีนตุ๊กแก ก็เป็นอันว่าเสร็จ หลังจากพันข้อมือเสร็จเรียบร้อยแล้ว           เมื่อได้ทราบอย่างนี้แล้ว ใครที่อยากลองออกกำลังด้วยการฝึกชกมวยบ้างละก็ ลองใช้วิธีพันข้อมือข้างต้นกันได้เลย บอกเลยว่าช่วยป้องกันอาการบาดเจ็บที่มือได้ดีในระดับหนึ่งเลยทีเดียว ส่วนคนที่อยากได้นวมดี ๆ สักอันมาไว้ใช้บ้าง ก็คลิกไปชมวิธีเลือกนวมชกมวยที่นี่เลยครับ

การออกอาวุธมวยไทย?

การใช้อาวุธมวยไทย เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปแล้วว่ามวยไทยเป็นศิลปะการต่อสู้ที่ใช้อวัยวะทุกส่วนของร่างกายผสมผสานการเคลื่อนไหวด้วยจังหวะที่กลมกลืน กับแรงส่งหรือเป็นอาวุธในการจู่โจมคู่ต่อสู้และป้องกันตัว ดังนั้นการฝึกหัดฝึกฝนมวยไทยผู้เรียนจึงควรต้องเรียนรู้อย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับการใช้ อวัยวะของร่างกายซึ่งแบ่งออกเป็นส่วนใหญ่โดยภาพรวม คือ หมัด เท้า เข่า ศอก การใช้อวัยวะดังกล่าวสามารถแยกแยะออกเป็นหมวดหมู่ ย่อยได้มากมายจนกล่าวได้ว่าการใช้อวัยวะเหล่านั้นได้อย่างชำนาญคือต้นกำเนิดที่มาของคำว่า “ศิลปะมวยไทย” ทักษะสำคัญที่ควรเรียนรู้ในการชกมวยไทยนั้นประกอบไปด้วย

ข้อสอบท้ายบท

เกี่ยวกับผู้สอน

4.17 (12 การให้คะแนน)

51 รายวิชา

1710 ผู้เรียน

ความคิดเห็นจากผู้เรียน

4.0

Total 1 Ratings

5
0 คน
4
1 คน
3
0 คน
2
0 คน
1
0 คน

เป็นบทเรียนที่ดี มีวีดีโอให้ความรู้ และควรนำคำแนะนำจากการประเมินบทเรียนไปพัฒนาบทเรียนให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

เรียน

สื่อการเรียนรู้รายวิชา

  • หนังสืออ้างอิง
  • จรวย แก่นวงษ์คำ มวยไทย มวยสากล โอเดียนสโตร์ กรุงเทพฯ 2530
  • ปัญญา ไกรทัศน์ มวยไทยยอดศิลปการต่อสู้ พิมพ์ครั้งที่ 5 สารมวลชน 2530
  • สมบัติ จำปาเงิน กีฬาไทย สุวีริยาสาส์น กรุงเทพฯ 2523
  • ที่มาhttp://student.nu.ac.th/muaythaiboran/prawatmuay.htm/ประวัติมวยไทย

ความต้องการ

  • 1.อธิบายการไหว้ครูและวิธีการไหว้ครูของกีฬามวยไทยอย่างถูกต้องได้
  • 2.ร่วมศึกษาและปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับการไหว้ครูในกีฬามวยไทยด้วยความสนใจ
  • 3.แสดงทักษะในการสื่อสารเกี่ยวกับการไหว้ครูในมวยไทยให้ผู้อื่นเข้าใจได้

กลุ่มเป้าหมาย

  • นัเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/7