4.00(1)

พ30231 เพศศึกษารอบด้าน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/7 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564

หลักสูตรรายวิชา

จุดประสงค์รายวิชา
เพื่อให้
    1. เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับสุขอนามัยของระบบสืบพันธุ์
    2.  เพื่อให้เสริมสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นตามหลักการ
    3.  เพื่อให้สามารถประเมินโอกาสเสี่ยงจากพฤติกรรมทางเพศ และปัญหาจากการมีเพศสัมพันธ์ไม่พร้อม
    4.  เพื่อให้ตระหนักรู้ในคุณค่าของตนเอง สร้างแรงจูงใจในการตัดสินใจเลือกแนวทางการดำเนินชีวิต อย่างมีสุขภาวะ
สมรรถนะรายวิชา
    1.  แสดงความรู้เกี่ยวกับสุขอนามัยของระบบสืบพันธ์ พัฒนาการทางเพศในวัยรุ่น
    2.  ทักษะด้านการจัดการเรื่องสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ทักษะการตัดสินใจ
    3.  วิเคราะห์อิทธิพลทางสังคมที่มีผลต่อพฤติกรรมทางเพศ
    4.  แสดงความรู้การป้องกันการรับเชื้อเอชไอวี
    5.  ปฏิบัติโครงงานเกี่ยวกับ เป้าหมายและแนวปฏิบัติในการดำเนินชีวิตที่มีสุขภาวะ
คำอธิบายรายวิชา
   ปฏิบัติเกี่ยวกับ พัฒนาการทางเพศเมื่อเปลี่ยนแปลงเข้าสู่วัยรุ่น การดูแลสุขภาพทางเพศ สัมพันธภาพกับความคาดหวังต่อบทบาทและความรับผิดชอบ การแสดงออกทางเพศ ทักษะการตัดสินใจ การต่อรองและการสื่อสารความต้องการตามความคิดเห็นและความรู้สึก การตระหนักในคุณค่าของตนเองบนพื้นฐานของการเคารพในสิทธิของผู้อื่น สิทธิในการแสดงออกตามวิถีชีวิตทางเพศภายใต้กรอบรอง – กฎหมายว่าด้วยเพศ สังคม และวัฒนธรรม ตลอดจนภาพลักษณ์ที่ส่งผลต่อความรู้สึกและพฤติกรรม การเลือกใช้แหล่งบริการช่วยเหลือที่เป็นมิตรในพื้นที่

สิ่งที่คุณจะได้เรียนรู้

  •    1. เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับสุขอนามัยของระบบสืบพันธุ์
  •     2.  เพื่อให้เสริมสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นตามหลักการ
  •     3.  เพื่อให้สามารถประเมินโอกาสเสี่ยงจากพฤติกรรมทางเพศ และปัญหาจากการมีเพศสัมพันธ์ไม่พร้อม
  •     4.  เพื่อให้ตระหนักรู้ในคุณค่าของตนเอง สร้างแรงจูงใจในการตัดสินใจเลือกแนวทางการดำเนินชีวิต อย่างมีสุขภาวะ

สารบัญรายวิชา

16 บทเรียน

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เพศวิถีศึกษา?

เมื่อร่างกายเจริญเติบโตผ่านเข้าสู่แต่ละช่วงวัย ย่อมเกิดการเปลี่ยนแปลงทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็น พัฒนาการทางกาย จิตใจ รวมถึงด้านสังคม ช่วงวัยรุ่นเป็นช่วงสําคัญของการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และยังมีเรื่องของฮอร์โมนเพศเข้ามาเกี่ยวข้อง วัยรุ่นจึงควรทําความเข้าใจกับร่างกาย จิตใจของตนเอง รวมทั้งควรได้รับการส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องเพศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนตายก็ว่าได้ ขณะเดียวกันสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว ก็มีข้อมูลเรื่องเพศที่ส่งต่อกันมา เมื่อวัยรุ่นได้รับรู้อาจเชื่อไปตามนั้น โดยมิได้ไตร่ตรองหรือไม่กล้าสอบถามข้อเท็จจริงจากผู้อื่นเพราะความอาย ดังนั้น การศึกษาเพื่อให้วัยรุ่น "รู้จักตนเอง” จึงสําคัญและจําเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้ได้ก้าวเดินไป ช่วงวัยต่อไปอย่างมั่นคงและมั่นใจ ดังคําพูดของท่าน กฤษณมูรติ นักปราชญ์ชาวอินเดีย ที่กล่าวไว้ว่า “ก่อนจะเดินทางไกล เธอต้องเดินทางใกล้ก่อน ใกล้ที่สุดนั้นคือตัวเธอ ก่อนจะทําสิ่งใด ๆ เธอต้องเข้าใจตัวเอง” 1.1 รู้จักเพศศึกษา องค์การอนามัยโลก (World Health Organization หรือ WHO) ได้นิยามคําว่าเพศศึกษาไว้ดังนี้ เพศศึกษา หรือ Sexuality Education หมายถึง เพศศาสตร์ศึกษา คือ การสอนความเป็นเพศชาย ความเป็นเพศหญิง พัฒนาการของร่างกาย และการแสดงออกในเรื่องเพศตามวัยตามเพศเมื่อพัฒนาไปถึง จุดหนึ่ง จะเกิดอะไร เปลี่ยนแปลงอย่างไร ควรประพฤติปฏิบัติอย่างไร ป้องกันอย่างไร แก้ไขอย่างไร เมื่อถึง วัยหมดฮอร์โมนสมรรถภาพหย่อนยาน ควรปฏิบัติอย่างไร เรียกได้ว่าเป็นการเรียนรู้เรื่องความเป็นเพศ ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยชรา กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ให้ความหมายเพศศึกษาว่า “เป็นกระบวนการ เรียนรู้ความเป็นเพศชาย ความเป็นเพศหญิง พัฒนาการของร่างกาย และการแสดงออกในเรื่องเพศของคน ทุกเพศทุกวัย ตลอดช่วงชีวิตได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับวิถีชีวิต ภาษา วัฒนธรรม เพื่อให้เกิดความ เข้าใจและยอมรับนับถือตนเอง เคารพให้เกียรติกัน โดยคํานึงถึงสิทธิส่วนบุคคล สามารถคิดตัดสินใจเลือก และดําเนินชีวิตทางเพศของตนได้อย่างที่ตนพึงประสงค์ มีความภาคภูมิใจ นับถือตนเอง ได้รับการปฏิบัติ และปฏิบัติต่อผู้อื่นเกี่ยวกับเพศอย่างเคารพ ให้เกียรติ นับถือ เป็นอิสระ ปลอดภัย มีความรับผิดชอบ ต่อตนเองและคนทุกเพศ" องค์การแพทย์ กล่าวไว้ว่า "เพศศึกษาเป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับเพศที่ครอบ พัฒนาการทางร่างกาย จิตใจ การทํางานของสรีระ และการดูแลสุขอนามัย ทัศนคติ ค่านิยม สัมพันธภาพ พฤติกรรมทางเพศ มิติทางสังคม และวัฒนธรรมที่มีผลต่อวิถีชีวิตทางเพศ เป็นกระบวนการพัฒนาทั้งด้าน ความรู้ ความคิด ทัศนคติ อารมณ์ และทักษะที่จําเป็นสําหรับบุคคล ที่จะช่วยให้สามารถเลือกดําเนินชีวิต ทางเพศอย่างเป็นสุขและปลอดภัย สามารถพัฒนาและดํารงความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้อย่างมี ความรับผิดชอบและสมดุล" สรุป เพศศึกษา หมายถึง การเรียนรู้วิถีชีวิตมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนตาย หรือเรียกว่าการเรียนรู้ ตลอดชีวิตในเรื่องเพศที่มีหลากหลายมิติเข้ามาเกี่ยวข้องเพื่อให้มนุษย์ได้พัฒนาความรู้ ความคิด อารมณ์ ทัศนคติ รวมถึงทักษะที่สําคัญและจําเป็นในการดํารงชีวิต เพื่อรักษาสัมพันธภาพในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น อย่างเป็นสุข เพศศึกษาไม่ใช่เฉพาะเป็นเรื่องของการมีเพศสัมพันธ์อย่างที่หลายคนคิดและเข้าใจ แต่เพศศึกษามีเนื้อหาครอบคลุมดังต่อไปนี้ 1.1.1 พัฒนาการของมนุษย์ การเปลี่ยนแปลงทางสรีระเมื่อเข้าสู่วัยหนุ่มสาว พัฒนาการทางเพศ การสืบพันธุ์ ภาพลักษณ์ ต่อร่างกาย ตัวตนทางเพศ และรสนิยมทางเพศ พัฒนาการของมนุษย์ หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงของมนุษย์ทุกส่วน ทั้งในโครงสร้าง (Structure) และแบบแผน (Pattern) ที่ต่อเนื่องกันตั้งแต่แรกเกิดจนตลอดชีวิต ซึ่งเป็นกระบวนการ ที่เปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกายและจิตใจ ผสมผสานกันเป็นชั้น ๆ จากระยะหนึ่งไปสู่อีกระยะหนึ่ง เพื่อจะไปสู่ วุฒิภาวะทําให้เกิดความเจริญงอกงามตามลําดับ องค์ประกอบที่มีผลต่อการพัฒนาการของมนุษย์ 1. พันธุกรรม หมายถึง ลักษณะทางกายและพฤติกรรมที่ถ่ายทอดจากบรรพบุรุษสู่ลูกหลาน จากพ่อแม่ถ่ายทอดสู่ลูกโดยทางเซลล์สืบพันธุ์ที่เรียกว่า “โครโมโซม” (Chromosome) พันธุกรรม ที่มีผลต่อมนุษย์ เช่น เป็นตัวกําหนดรูปร่าง เพศ สีผม ผิว และระดับสติปัญญา เป็นต้น และพันธุกรรม ที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของมนุษย์ที่สําคัญ คือ “ยีน” (Gene) ที่เป็นตัวกําหนดให้แต่ละบุคคลมีพัฒนาการ ที่แตกต่างกัน 2. วุฒิภาวะ เป็นกระบวนการพัฒนาการที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของมนุษย์ โดยที่ไม่ต้อง อาศัยการฝึกประสบการณ์ เช่น การเปล่งเสียง การยืน การเดิน และการวิ่ง เป็นต้น เป็นพัฒนาการตามปกติ เมื่อถึงวัยก็จะทําได้เอง 3. การเรียนรู้ เป็นกระบวนการพัฒนาการที่เกิดขึ้นจากพื้นฐานการฝึกหัดประสบการณ์เป็น สําคัญ สิ่งที่สนับสนุนการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดีคือความพร้อมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและความพร้อมที่ เกิดจากการกระตุ้น 4. สิ่งแวดล้อม คือ สิ่งที่อยู่รอบตัวบุคคลนั้น ๆ ทั้งมีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมถึงระบบครอบครัว สังคมและระบบวัฒนธรรม 1.1.2 สัมพันธภาพ สัมพันธภาพในมิติของครอบครัว เพื่อน การคบเพื่อนต่างเพศ ความรัก การใช้ชีวิตคู่ การแต่งงาน การเป็นพ่อแม่ ความสัมพันธ์ระหว่างคน 2 คน อาจเป็นคนระหว่างครอบครัวเดียวกัน เช่น สามีภรรยา แม่กับ ลูก พี่กับน้อง เป็นต้น คนส่วนใหญ่มีความต้องการที่จะมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน มีความรักความเข้าใจกัน ช่วยเหลือกันในเรื่องต่าง ๆ นั้นมีปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน คือ การชมเชยหรือชื่นชม ที่เหมาะสม การติเพื่อก่อ และการแก้ไขความขัดแย้งในเชิงสร้างสรรค์ นอกจากนี้มีปัจจัยหรือองค์ประกอบ อื่น ๆ ที่ช่วยสร้างสัมพันธภาพ เช่น ความใกล้ชิด การสื่อสาร เป็นต้น องค์ประกอบพื้นฐานของการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคลเกิดจากองค์ประกอบ 3 ประการ คือ 1. ความใกล้ชิด การที่บุคคลใกล้ชิดกันก่อให้เกิดความสัมพันธ์มากกว่าบุคคลที่อยู่ห่างไกลกัน 2. ความเหมือนกันหรือความคล้ายกัน โดยทฤษฎีแล้วมนุษย์มีแนวโน้มที่จะสร้าง ความสัมพันธ์และมีความชอบพอกับคนที่มีความเหมือนหรือคล้ายกับตัวเอง 3. สถานการณ์ เป็นตัวแปรหนึ่งที่ทําให้มนุษย์เกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เช่น การมีโอกาส ได้แลกเปลี่ยนความรู้สึกที่ดีร่วมกัน การมีโอกาสปรับตัวเข้ากับบุคคลอื่น และการเติมเต็มความต้องการของ กันและกัน เป็นต้น 1.1.3 พฤติกรรมทางเพศ พฤติกรรมทางเพศที่พัฒนาไปตามช่วงชีวิต การเรียนรู้อารมณ์ทางเพศ การจัดการอารมณ์เพศ การช่วยตนเอง จินตนาการทางเพศ การแสดงออกทางเพศ การละเว้นการมีเพศสัมพันธ์ การตอบสนองทางเพศ การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ พฤติกรรมทางเพศ หมายถึง การกระทำหรือการปฏิบัติตนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ หมาย รวมถึง พฤติกรรมที่แสดงออกภาพนอกที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมทางเพศ เมื่อพิจารณาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมทางเพศ สามารถแบ่งออกเป็น 3 ด้าน คือ ด้านชีววิทยา ด้านจิตสังคม และด้านวัฒนธรรม 1. ปัจจัยด้านชีววิทยา เป็นปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมของบุคคลตามพัฒนาการของมนุษย์ ซึ่งพฤติกรรมวัยรุ่นจะมีการเปลี่ยนแปลงสัมพันธ์กันระหว่างการเจริญเติบโต ร่างกาย และจิตใจ 2. ปัจจัยด้านจิตสังคม โดยธรรมชาติแล้วพฤติกรรมมนุษย์นอกจากจะเกิดจากแรงขับ ทางเพศตามธรรมชาติแล้ว ยังขึ้นอยู่กับสิ่งอื่น ๆ ทางสังคมด้วย ในปัจจุบันสภาพแวดล้อมจะมีอิทธิพล เหนือจิตใจและอารมณ์ของเด็กวัยรุ่น เนื่องจากเป็นวัยแห่งการเรียนรู้และการสังเกตพฤติกรรมบุคคลใน สังคมและเป็นวัยที่มีความรู้สึกไวต่อสิ่งกระตุ้น 3. ปัจจัยด้านวัฒนธรรม วัฒนธรรมทางเพศ หมายถึง ระบบของการให้ความหมาย ความรู้ และความเชื่อต่าง ๆ รวมทั้งการปฏิบัติที่มีผลต่อโครงสร้างของระบบความคิด ความเชื่อ และพฤติกรรมทาง เพศของบุคคล ในบริบทของสังคมที่แตกต่างกันผ่านบทบาททางสังคม บรรทัดฐาน และทัศนคติจากสถาบัน ต่าง ๆ ในสังคม 1.1.4 สุขภาพทางเพศ เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์จากความสัมพันธ์ทางเพศ การให้ความรู้เกี่ยวกับ การมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย วิธีการคุมกําเนิด การทําแท้ง การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และเอดส์ การล่วงละเมิดทางเพศ ความรุนแรงทางเพศ และอนามัยเจริญพันธุ์ วัยรุ่นเป็นวัยที่ต้องการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษามากกว่าวัยอื่น เนื่องจากวัยรุ่นเป็นวัยของ การเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม เป็นอย่างมาก เป็นวัยหัวเลี้ยวหัวต่อ แต่กลับ ไม่ค่อยได้รับข้อมูลและบริการเกี่ยวกับสุขภาพทางเพศที่ถูกต้องและเหมาะสม เพราะสังคมไทยยังมองเรื่อง เพศศึกษาเป็นเรื่องไกลตัว ยังไม่จําเป็นที่จะต้องให้ความรู้ หรือมองเห็นว่าเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม จึงทําให้เกิดปัญหาทางเพศกับวัยรุ่นมากมายอย่างที่เห็นในปัจจุบัน ดังนั้น การให้ความรู้เรื่องเพศศึกษาที่ถูกต้องกับ วัยรุ่นจึงเป็นเรื่องที่สําคัญมาก 1.1.5 สังคมและวัฒนธรรม วิธีการเรียนรู้และแสดงออกในเรื่องเพศของบุคคลได้รับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อม บรรยากาศ ทางสังคม และสังคม เพศศึกษาจึงควรเปิดโลกทัศน์ให้เข้าใจบทบาททางเพศ เรื่องเพศในบริบทของสังคม วัฒนธรรม กฎหมาย ศิลปะ และสื่อต่าง ๆ . 1. ด้านสังคม มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องคือ สถานที่พักอาศัย แหล่งบันเทิง สิ่งพิมพ์ สื่อกระตุ้นทาง เพศและสื่อมวลชน 2. ด้านวัฒนธรรม ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมทางเพศที่สําคัญ คือ ความเชื่อเกี่ยวกับบทบาท ทางเพศและการปฏิบัติตนต่อเพศตรงข้าม และค่านิยมทางเพศ 1.1.6 ทักษะที่จำเป็นในการดำเนินชีวิต เพราะความรู้และข้อมูลที่ได้รับเกี่ยวกับเพศนั้นไม่เพียงพอที่จะช่วยให้เยาวชนสามารถรับมือ กับเหตุการณ์และแรงกดดันต่าง ๆ ที่ประสบในชีวิตจริง เพศศึกษา ควรนําไปสู่การพัฒนาให้เยาวชน เกิดทักษะที่จําเป็นในการดําเนินชีวิต ได้แก่ 1. การให้คุณค่ากับสิ่งต่าง ๆ ซึ่งระบบการให้คุณค่านี้เป็นตัวชี้นําพฤติกรรม เป้าหมาย และ การดําเนินชีวิตของเรา 2. การสื่อสาร การรับฟัง การแลกเปลี่ยนความรู้สึกนึกคิดที่สอดคล้องหรือแตกต่างกัน 3. การตัดสินใจ การต่อรอง การทําความตกลงเพื่อบรรลุความตั้งใจหรือทางเลือกที่ตน สามารถรับผิดชอบได้ 4. การรักษาและยืนยันในความเป็นตัวของตัวเอง สามารถแสดงความรู้สึกความต้องการของ ตนเอง โดยเคารพในสิทธิของผู้อื่น 5. การจัดการกับแรงกดดันจากเพื่อน สิ่งแวดล้อม และอคติทางเพศ 6. การแสวงหาคําแนะนํา ความช่วยเหลือ การจําแนกแยกแยะข้อมูลที่ถูกต้องและไม่ถูกต้อง
ความหมายของเพศศึกษา (DEFINITION OF SEX EDUCATION)11:26
พัฒนาการด้านต่าางๆของวัยรุ่น
ปัญหาและวิธีการจัดการกับปัญหาในวัยรุ่น
การเปลี่ยนแปลงของวัยรุ่น
ใบงานที่ ๑

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เพศและการดูแลสุขภาพทางเพศ?

ความหมายของเพศศึกษา (Definition of sex education) พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายของคำว่า “เพศ” หมายถึง “รูปที่แสดงให้รู้ว่าหญิงหรือชาย ซึ่งหากจะตีความกันแต่เพียงว่า “เพศ” คือ ลักษณะบอกให้ใครๆ รู้ว่า บุคคลนั้นๆ เป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย” ในลักษณะของรูปธรรมเท่านั้น ก็เป็นการยากที่จะเข้าใจความหมายของความรู้เรื่องเพศได้อย่างสมบูรณ์ สำหรับความหมายของเพศในลักษณะนามธรรมนั้น “เพศ” หมายถึง “ความรู้สึกและความต้องการทางเพศ หรือกามารมณ์” ในทรรศนะของคน ทั่วไป คำว่า “เรื่องเพศ” หรือ ในภาษาอังกฤษเรียกว่า ”เซ็กส์ (sex)” มีความหมายที่กำกวม ตีความได้หลายความหมาย เช่น บางครั้งคำว่า เซ็กส์ (sex) หมายถึง ลักษณะทางกายภาพที่บอกว่าเป็นเพศชาย หรือหญิง บางครั้งหมายถึงแรงขับหรือสัญชาตญาณตามธรรมชาติของมนุษย์ที่แสดงออกเป็นพฤติกรรม บางครั้งหมายถึงพฤติกรรมทางเพศ หรือการมีเพศสัมพันธ์ อย่างไรก็ตาม จากหลักฐานทางภาษาในวาทกรรมของสังคมไทย นักสังคมวิทยา 2 ท่าน คือ เนริดา คุค และ ปีเตอร์ แจกสัน (Nerida M. Cook and Peter A. Jackson, 1999) อภิปรายไว้ในหนังสือ “Genders & Sexualities in Modern Thailand” ว่า ในวาทกรรมไทยคำว่า “เพศ (phet)” คำเดียวมีความหมายครอบคลุมวาทกรรมในสังคมตะวันตกปัจจุบันดังนี้ 1. ลักษณะทางชีวเพศ (biological sex) ที่บอกว่าเป็นเพศชายหรือหญิง เช่น เพศผู้ เพศเมีย 2. ความเป็นเพศ (gender) เช่น เพศชาย เพศหญิง 3. ภาวะทางเพศ (sexuality) เช่น รักร่วมเพศ (ร่วมสังวาส) รักสองเพศ และรักต่างเพศ 4. การร่วมเพศ (sexual intercourse) เช่น ร่วมเพศ เพศสัมพันธ์ (Cook and Jackson, 1999)

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น?

ความหมายของมนุษยสัมพันธ์ มนุษยสัมพันธ์จัดเป็นทั้งศาสตร์ (Science) และศิลป์ (Art) เนื่องจากมีหลักการ และทฤษฎีที่เป็นข้อความรู้ และการนำหลักการ หรือทฤษฎีไปปฏิบัติให้ประสบ ความสำเร็จได้นั้นต้องอาศัยเทคนิควิธีการซึ่งถือเป็น ศิลปะเฉพาะตัวของแต่ละบุคคล จะสังเกตเห็นได้อย่างหนึ่งว่า คนแต่ละคน มีความสามารถในการติดต่อกับผู้ อื่นไม่เท่ากัน บางคนเป็นที่พอใจของคนหมู่มาก มีเพื่อนมากหน้าหลายตา และมีคนที่อยากพูดคุยติดต่อ หรือทำงานร่วมกับเขามากมาย ในขณะที่บางคนไม่ค่อยมีใครอยาก จะเข้าใกล้ หรือทำงานร่วมด้วย นั่นเป็นเพราะเขาขาดศิลปะในการติดต่อกับบุคคลอื่น ซึ่งอาจเป็นเพราะไม่รู้หลักการว่าควรทำอย่างไร หรือเป็นเพราะนำหลักการไปใช้ไม่ ถูกวิธี ดังนั้น การที่คนเราจะมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลอื่น จึงจำเป็นต้องเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎี และหมั่นฝึกฝนเพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญ จนสามารถนำหลักการที่เป็นข้อ ความรู้ทางทฤษฎีไปใช้ได้อย่างเป็นธรรมชาติ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 อิทธิพลต่างๆที่มีผลต่อการแสดงออกทางเพศ?

ความหมายของมนุษยสัมพันธ์ มนุษยสัมพันธ์จัดเป็นทั้งศาสตร์ (Science) และศิลป์ (Art) เนื่องจากมีหลักการ และทฤษฎีที่เป็นข้อความรู้ และการนำหลักการ หรือทฤษฎีไปปฏิบัติให้ประสบ ความสำเร็จได้นั้นต้องอาศัยเทคนิควิธีการซึ่งถือเป็น ศิลปะเฉพาะตัวของแต่ละบุคคล จะสังเกตเห็นได้อย่างหนึ่งว่า คนแต่ละคน มีความสามารถในการติดต่อกับผู้ อื่นไม่เท่ากัน บางคนเป็นที่พอใจของคนหมู่มาก มีเพื่อนมากหน้าหลายตา และมีคนที่อยากพูดคุยติดต่อ หรือทำงานร่วมกับเขามากมาย ในขณะที่บางคนไม่ค่อยมีใครอยาก จะเข้าใกล้ หรือทำงานร่วมด้วย นั่นเป็นเพราะเขาขาดศิลปะในการติดต่อกับบุคคลอื่น ซึ่งอาจเป็นเพราะไม่รู้หลักการว่าควรทำอย่างไร หรือเป็นเพราะนำหลักการไปใช้ไม่ ถูกวิธี ดังนั้น การที่คนเราจะมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลอื่น จึงจำเป็นต้องเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎี และหมั่นฝึกฝนเพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญ จนสามารถนำหลักการที่เป็นข้อ ความรู้ทางทฤษฎีไปใช้ได้อย่างเป็นธรรมชาติ

ข้อสอบท้ายบท

เกี่ยวกับผู้สอน

4.17 (12 การให้คะแนน)

51 รายวิชา

1711 ผู้เรียน

ความคิดเห็นจากผู้เรียน

4.0

Total 1 Ratings

5
0 คน
4
1 คน
3
0 คน
2
0 คน
1
0 คน

เป็นบทเรียนที่ดี และควรพัฒนาบทเรียนให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

เรียน

สื่อการเรียนรู้รายวิชา

  • https://kanlayakanlaya2014.wordpress.com/
  • https://sites.google.com/site/pheswithisuksa2560/kha-xthibay-raywicha

กลุ่มเป้าหมาย

  • นักเรียนชั้น มัธยมศึกษา ปีที่ 6/7