หน่วยที่1 ความรู้เกี่ยวกับการปลูกผักทั่วไป?

หน่วยที่1 ความรู้เกี่ยวกับการปลูกผักทั่วไป - ความหมาย ความสำคัญ และประโยชน์ของพืชผักทั่วไป - ลักษณะและประเภทของพืชผักข้อมูลเกี่ยวกับพืชผักประเภทต่าง ๆ ผลการเรียนรูู้ 1. อธิบายความหมาย ความสำคัญ และประโยชน์ของพืชผักทั่วไป 2. บอกลักษณะและประเภทของพืชผัก 3. สืบค้นข้อมูลและนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับพืชผักประเภทต่าง ๆ

หน่วยที่ 2การสืบค้นข้อมูลและวิเคราะห์ความต้องการของตลาด?

-การสำรวจตลาดค้าผักในท้องถิ่น -การวิเคราะห์ความต้องการของตลาด -หลักการเลือกปลูกผักให้เหมาะสมกับท้องถิ่น ผลการเรียนรู้ข้อ5 1. สืบค้นข้อมูลและวิเคราะห์ความต้องการของตลาด 2.เลือกปลูกผักให้เหมาะสมกับท้องถิ่นและสอดคล้องกับหลักการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

หน่วยที่ 3วิธีปลูกผัก และการดูแลรักษา?

-สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม -การเลือกพื้นที่และเตรียมดินให้เหมาะสมกับพืช -การปลูกผักและเทคโนโลยีทางชีวภาพ ผลการเรียนรู้ข้อ 4,6,7,8 1.อธิบายสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการปลูกผัก 2. อธิบายและปฏิบัติการเลือกพื้นที่และเตรียมดินให้เหมาะสมกับชนิดของปลูกพืชผัก 3. ปลูกพืชผักชนิดต่าง ๆ ได้อย่างน้อย 2 ชนิด 4. ปฏิบัติการดูแลรักษาพืชผักโดยใช้เทคโนโลยีทางชีวภาพ

หน่วยที่ 4การเก็บเกี่ยวและการจัดการผลผลิต?

-การเก็บเกี่ยวผักและการเก็บรักษาผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยว -การจัดการผลผลิต ผลการเรียนรู้ข้อ 9,10 1. ปฏิบัติการเก็บเกี่ยวและเก็บรักษาผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยว 2. อธิบายและปฏิบัติการจัดการผลผลิตในรูปแบบต่าง ๆ

หน่วยที่ 5การตลาดและการกำหนดราคาขาย?

-การคำนวณค่าใช้จ่าย -การกำหนดราคาขาย ผลการเรียนรู้ ข้อ 11 1. ปฏิบัติการคำนวณค่าใช้จ่าย การกำหนดราคาขาย 2.ปฏิบัติการจัดจำหน่ายพืชผัก

แบบประเมินความพึงพอใจในการเรียนออนไลน์ของนักเรียน

แบบทดสอบ

7บทเรียน การดูแลผักด้วยเทคโนโลยีทางชีวภาพ

เทคโนโลยีชีวภาพ

เกษตรสายอินทรีย์ต้องมีชีวภัณฑ์ต่อไปนี้ครับ ทั้งป้องกันและบำรุงพืชได้ทุกชนิดและทุกระยะ

เชื้อราไตรโคเดอร์มา ช่วยกระตุ้นให้พืชสร้างภูมิคุ้มกัน และป้องกันโรคที่มีสาเหตุจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่า โคนเน่า โรคผลเน่า

อัตราการใช้ เป็นเชื้อสดในเมล็ดข้าว วิธีการใช้ 1 ถุง 250 กรัม ละลายในน้ำ 40 ลิตร แล้วนำไปพ่นทางใบหรือราดโคนต้นในช่วงเย็นที่มีแสงแดดอ่อน หรือใช้แช่เมล็ดพันธุ์ท่อนพันธุ์ก่อนนำไป

เชื้อราบิวเวอเรียสามารถทำลายแมลงศัตรูพืชที่สำคัญ เช่น แมลงหวี่ขาว หนอนเจาะสมอฝ้าย ไรแดง เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไก่แจ้ส้ม เพลี้ยจักจั่น และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เป็นต้น

อัตราการใช้ เป็นเชื้อสดในเมล็ดข้าว วิธีการใช้ 1 ถุง 250 กรัม ละลายในน้ำ 5 ลิตร แล้วนำไปพ่นทางใบหรือราดโคนต้นในช่วงเย็นที่มีแสงแดดอ่อน

เมธาไรเซียม ใช้ป้องกันกำจัดหนอนและแมลง เช่น ปลวก ด้วงหนวดยาว ด้วงมะพร้าว ด้วงหมัดผัก เพลี้ยไฟ เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยแป้ง ไรแดง แมลงหวี่ขาว หนอนกระทู้คอรวง หนอนกอข้าว หนอนใยผัก หนอนม้วนใบ หนอนหนังเหนียว และแมลงวันผลไม้

อัตราการใช้ เป็นเชื้อสดในเมล็ดข้าว วิธีการใช้ 1 ถุง 250 กรัม ละลายในน้ำ 5 ลิตร แล้วนำไปพ่นทางใบหรือราดโคนต้นในช่วงเย็นที่มีแสงแดดอ่อน

จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงเร่งการออกราก ตรึงไนโตรเจน ช่วยย่อยสลายแร่ธาตุในดิน ป้องกันรากเน่า โคนเน่า ยอดเน่า ใบไหม้ เมื่อใช้เป็นประจำและต่อเนื่อง สามารถลดการใช้อาหารเสริม หรือปุ๋ยสูตรต่างๆลงได้ หากมีการนำจุลินทรีย์ไปใช้ผสมผสานร่วมกับน้ำหมักหรือปุ๋ยสูตรต่างๆ จะทำให้ผลผลิตยิ่งเพิ่ม และคุณภาพผลผลิตดีขึ้นตามด้วย

อัตราการใช้ * สำหรับฉีดพ่น 100 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ** สำหรับรดราดทางดิน 200 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร *** หรือใช้ผสมกับน้ำเปล่าให้เป็นสีชมพู ก็ใช้ได้ สามารถปรับอัตราส่วนการใช้ที่แตกต่างออกไปได้ไม่มีอันตรายต่อ

 

https://www.youtube.com/watch?v=ff8kSzl5D34

https://www.youtube.com/watch?v=WfV_BQkJx0g

#วิธีหมักน้ำหมักปลา #FarmingThailand #น้ำหมักปลาทะเล

การทำน้ำหมักปลาชีวภาพ แบบละเอียด เร่งใบเขียว ติดดอกดี เร่งขยายผล