0(0)

ว30224วิชาเคมี 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 – 5/3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563

หลักสูตรรายวิชา

ศึกษาและอธิบายความหมายของปฏิกิริยาผันกลับได้และภาวะสมดุล การเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของ
สารอัตราการเกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้าและอัตราการเกิดปฏิกิริยาย้อนกลับ ทฤษฎีกรด–เบส
ของอาร์เรเนียสเบรินสเตด–ลาวรีและลิวอิส คู่กรด-เบสของสารตามทฤษฎีกรด-เบสของเบรินสเตด-ลาวรี ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะสมดุลและค่าคงที่สมดุลของระบบ ยกตัวอย่าง และอธิบายสมดุลเคมีของกระบวนการที่เกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิตปรากฏการณ์ในธรรมชาติและกระบวนการในอุตสาหกรรม คำนวณค่าคงที่สมดุลของปฏิกิริยา  ความเข้มข้นของสารที่ภาวะสมดุล  ค่าคงที่สมดุลหรือความเข้มข้นของปฏิกิริยาหลายขั้นตอน คํานวณ และเปรียบเทียบความสามารถในการแตกตัวหรือความแรงของกรดและเบส  ค่า pH ความเข้มข้นของไฮโดรเนียมไอออนหรือไฮดรอกไซด์ไอออนของสารละลายกรดและเบส เขียนสมการเคมีแสดงปฏิกิริยาสะเทิน และระบุความเป็นกรด-เบสของสารละลายหลังการสะเทินปฏิกิริยาไฮโดรลิซิสของเกลือ และระบุความเป็นกรด-เบสของสารละลายเกลือ         ทดลอง และอธิบายหลักการการไทเทรตและเลือกใช้อินดิเคเตอร์ที่เหมาะสมสําหรับการไทเทรตกรด-เบส คํานวณปริมาณสารหรือความเข้มข้นของสารละลายกรดหรือเบสจากการไทเทรต อธิบายสมบัติองค์ประกอบ และประโยชน์ของสารละลายบัฟเฟอร์ การใช้ประโยชน์และการแก้ปัญหาโดยใช้ความรู้เกี่ยวกับกรด–เบส
โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้และแก้ปัญหา สืบค้นข้อมูล
การอภิปราย การวิเคราะห์ การเปรียบเทียบ  การสำรวจตรวจสอบ การทำนาย การทดลอง

 

สิ่งที่คุณจะได้เรียนรู้

  • 1. ทดสอบ และอธิบายความหมายของปฏิกิริยาผันกลับได้และภาวะสมดุล
  • 2. อธิบายการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของสารอัตราการเกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้าและอัตราการ
  • เกิดปฏิกิริยาย้อนกลับ เมื่อเริ่มปฏิกิริยาจนกระทั่งระบบอยู่ในภาวะสมดุล
  • 3. คำนวณค่าคงที่สมดุลของปฏิกิริยา
  • 4. คํานวณความเข้มข้นของสารที่ภาวะสมดุล
  • 5. คำนวณค่าคงที่สมดุลหรือความเข้มข้นของปฏิกิริยาหลายขั้นตอน
  • 6. ระบุปัจจัยที่มีผลต่อภาวะสมดุลและค่าคงที่สมดุลของระบบ รวมทั้งคาดคะเนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเมื่อภาวะสมดุลของระบบถูกรบกวน โดยใช้หลักของเลอชาเตอลิเอ
  • 7. ยกตัวอย่าง และอธิบายสมดุลเคมีของกระบวนการที่เกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิตปรากฏการณ์ในธรรมชาติและ กระบวนการในอุตสาหกรรม
  • 8. ระบุและอธิบายว่าสารเป็นกรดหรือเบสโดยใช้ทฤษฎีกรด–เบสของอาร์เรเนียสเบรินสเตด–ลาวรีและ
  • ลิวอิส
  • 9. ระบุคู่กรด-เบสของสารตามทฤษฎีกรด-เบสของเบรินสเตด-ลาวรี
  • 10. คํานวณ และเปรียบเทียบความสามารถในการแตกตัวหรือความแรงของกรดและเบส
  • 11. คํานวณค่า pH ความเข้มข้นของไฮโดรเนียมไอออนหรือไฮดรอกไซด์ไอออนของสารละลายกรด
  • และเบส
  • 12. เขียนสมการเคมีแสดงปฏิกิริยาสะเทิน และระบุความเป็นกรด-เบสของสารละลายหลังการสะเทิน
  • 13. เขียนปฏิกิริยาไฮโดรลิซิสของเกลือ และระบุความเป็นกรด-เบสของสารละลายเกลือ
  • 14. ทดลอง และอธิบายหลักการการไทเทรตและเลือกใช้อินดิเคเตอร์ที่เหมาะสมสําหรับการไทเทรตกรด- เบส
  • 15. คํานวณปริมาณสารหรือความเข้มข้นของสารละลายกรดหรือเบสจากการไทเทรต
  • 16. อธิบายสมบัติองค์ประกอบ และประโยชน์ของสารละลายบัฟเฟอร์
  • 17. สืบค้นข้อมูลและนําเสนอตัวอย่างการใช้ประโยชน์และการแก้ปัญหาโดยใช้ความรู้เกี่ยวกับกรด–เบส

สารบัญรายวิชา

28 บทเรียน

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่องสมดุลเคมี

1.3 ความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นของสารต่างๆ ณ ภาวะสมดุล และค่าคงที่สมดุล12:13
แบบฝึกหัดเรื่องการคำนวณเกี่ยวกับค่าคงที่สมดุล
1.4 ความสัมพันธ์ของค่าคงที่สมดุลกับสมการเคมี52:40
ให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดเรื่องความสัมพันธ์ของค่าคงที่สมดุลกับสมการเคมี
1.5 ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะสมดุล (ความเข้มข้นของสารตั้งต้น)
1.6 ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะสมดุล (ความดัน และอุณหภูมิ)18:18
1.7 หลักของเลอชาเตอริเอ
1.8 สมดุลเคมีในสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม6:54

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 กรด – เบส

แบบประเมินความพึงพอใจวิชาเคมี 4

เกี่ยวกับผู้สอน

5.00 (4 การให้คะแนน)

21 รายวิชา

1248 ผู้เรียน

เรียน

สื่อการเรียนรู้รายวิชา

  • ใบงาน
  • คลิปวิดิโอจากยูทูป
  • ppt

กลุ่มเป้าหมาย

  • นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 - 5/3