0(0)

ศ20215 จิตรกรรม 1 มัธยมศึกษาปีที่ 3

หลักสูตรรายวิชา

ศึกษาการใช้วัสดุอุปกรณ์การวาดเส้น  การพัฒนาเทคนิคการปฏิบัติงานสร้างสรรค์งานวาดเส้นการจัดองค์ประกอบศิลปะ การจัดภาพ การเน้นจุดเด่น

โดยใช้กระบวนการสืบค้น สรุป อภิปราย สาธิตและฝึกปฏิบัติงานวาดเส้น ทดลองพัฒนารูปแบบการวาดเส้นเพื่อค้นพบเทคนิควิธีการของตน บรรยายและนำเสนอจุดมุ่งหมาย แนวความคิดในการสร้างสรรค์งานของตนเองตามศักยภาพ   มีการประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมและพัฒนางานตามความเหมาะสมกับจุดมุ่งหมายในการศึกษาต่อ

เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจและมีการพัฒนาทักษะในงานวาดเส้น  ประเมินและวิจารณ์คุณค่างานวาดเส้นตามหลักทฤษฎีการวิจารณ์ นำผลงานวาดเส้นไปใช้ในการตกแต่งสถานที่ตามความเหมาะสม

 

ผลการเรียนรู้

  1. อธิบายความหมาย  ลักษณะและประเภทของจิตรกรรม
  2. เลือกใช้วัสดุ  อุปกรณ์และเทคนิคในการสร้างงาน
  3. อธิบายเทคนิควิธีการจัดภาพและการใช้องค์ประกอบศิลป์
  4. ปฏิบัติงานจิตรกรรมการวาดเส้นตามเทคนิควิธีการที่สนใจ
  5. มีทักษะและสร้างสรรค์ผลงานด้วยเทคโนโลยีหรือรูปแบบที่ทันสมัย
  6. นำเสนอผลงานและพัฒนางานของตนเองได้
  7. วิเคราะห์เปรียบเทียบและวิพากย์วิจารณ์งานได้ตามความเหมาะสม
  8. นำผลงานไปประยุกต์ใช้หรือบูรณาการกับชีวิตประจำวันได้

รวมทั้งหมด  8   ผลการเรียนรู้

สารบัญรายวิชา

8 บทเรียน20h

พื้นฐานจิตกรรมไทย?

จิตรกรรมไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ไปยังการนำทาง ไปยังการค้นหา จิตรกรรมไทย หมายถึง ภาพเขียนที่มีลักษณะเป็นแบบอย่างของไทยที่แตกต่างจากศิลปะของชนชาติอื่นอย่างชัดเจน ถึงแม้จะมีอิทธิพลศิลปะของชาติอื่นอยู่บ้าง แต่ก็ดัดแปลง คลี่คลาย ตัดทอน หรือเพิ่มเติมจนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตนเองได้อย่างสวยงามลงตัว มีวิวัฒนาการทางด้านรูปแบบและวิธีการมาตลอดจนถึงปัจจุบัน ซึ่งสามารถพัฒนาต่อไปอีกในอนาคต จิตรกรรมไทยเป็นลักษณะอุดมคติ เป็นภาพ 2 มิติ โดยนำสิ่งใกล้ไว้ตอนล่างของภาพ สิ่งไกลไว้ตอนบนของภาพ ใช้สีแบบเอกรงค์ คือ ใช้หลายสี แต่มีสีที่โดดเด่นเพียงสีเดียว[1] ลายไทย เป็นส่วนประกอบของภาพเขียนไทยใช้ตกแต่งอาคาร สิ่งของ เครื่องใช้ ต่าง ๆ เครื่องประดับ ฯลฯ เป็นลวดลายที่มีชื่อเรียกต่าง ๆ กันซึ่งนำเอารูปร่างจาก ธรรมชาติมาประกอบ เช่น ลายกระหนก ลายกระจัง ลายประจำยาม ลายเครือเถา เป็นต้น หรือเป็นรูปที่มาจากความเชื่อและคตินิยม เช่น รูปคน รูปเทวดา รูปสัตว์ รูปยักษ์ เป็นต้น จิตรกรรมไทย เป็นวิจิตรศิลป์อย่างหนึ่ง ซึ่งส่งผลสะท้อนให้เห็นวัฒนธรรมอันดีงามของชาติ มีคุณค่าทางศิลปะและเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้า มีเรื่องที่เกี่ยวกับ ศาสนา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ชีวิตความเป็นอยู่ วัฒนธรรมการแต่งกาย ตลอดจนการแสดงการเล่นพื้นเมืองต่าง ๆ ของแต่ละยุคสมัยและสาระอื่น ๆ ที่ประกอบกันเป็นภาพจิตรกรรมไทย วิวัฒนาการของงานจิตรกรรมไทย แบ่งออกตามลักษณะรูปแบบทางศิลปกรรมที่ปรากฏในปัจจุบันมีอยู่ 2 แบบ คือ จิตรกรรมไทยแบบประเพณี จิตรกรรมฝาผนัง จิตรกรรมไทยแบบประเพณี (Thai Traditional Painting) เป็นศิลปะที่มีความประณีตสวยงาม แสดงความรู้สึกชีวิตจิตใจและความเป็นไทย ที่มีความอ่อนโยน ละมุนละไม สร้างสรรค์สืบต่อกันมาตั้งแต่อดีตจนได้ลักษณะประจำชาติ มีลักษณะและรูปแบบพิเศษ นิยมเขียนบนฝาผนังภายในอาคารที่เกี่ยวกับพุทธศาสนา และอาคารที่เกี่ยวกับบุคคลชั้นสูง เช่น โบสถ์ วิหาร พระที่นั่ง วัง บนผืนผ้า บนกระดาษ และบนสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ โดยเขียนด้วยสีฝุ่น ตามกรรมวิธีของช่างเขียนไทยแต่โบราณ เนื้อหาที่เขียนมักเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอดีตพุทธ พุทธประวัติ ทศชาติชาดก ไตรภูมิ วรรณคดีและชีวิตไทย พงศาวดารต่าง ๆ ส่วนใหญ่นิยมเขียนประดับผนังพระอุโบสถ วิหารอันเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ประกอบพิธีทางศาสนา ลักษณะจิตรกรรมไทยเป็นศิลปะแบบอุดมคติ (Idealistic) ผนวกเข้ากับเรื่องราวที่กึ่งลึกลับมหัศจรรย์ ซึ่งคล้ายกับงานจิตรกรรมในประเทศแถบตะวันออกหลาย ๆ ประเทศ เช่น อินเดีย ศรีลังกา จีนและญี่ปุ่น เป็นต้น เป็นภาพที่ระบายสีแบนเรียบ ด้วยสีค่อนข้างสดใส และมีการตัดเส้นเป็นภาพ 2 มิติ ให้ความรู้สึกเพียงด้านกว้างและยาว ไม่มีความลึก ไม่มีการใช้แสงและเงามาประกอบ จิตรกรรมไทยแบบประเพณีมีลักษณะพิเศษในการจัดวางภาพแบบเล่าเรื่องเป็นตอน ๆ ตามผนังช่องหน้าต่าง โดยรอบโบสถ์ วิหาร และผนังด้าน หน้าและหลังพระประธาน ภาพจิตรกรรมไทยมีการใช้สีแตกต่างกันออกไปตามยุคสมัย ทั้งเอกรงค์ และพหุรงค์ โดยเฉพาะการใช้สีหลายๆ สีแบบพหุรงค์นิยมมากในสมัยรัตนโกสินทร์ เพราะได้สีจากต่างประเทศที่เข้ามาติดต่อค้าขายด้วย ทำให้ภาพจิตรกรรมไทยมีความสวยงามและสีสันที่หลากหลายมากขึ้น รูปแบบลักษณะตัวภาพในจิตรกรรมไทยซึ่งจิตรกรไทยได้สร้างสรรค์ออกแบบไว้เป็นรูปแบบอุดมคติที่แสดงออกทางความคิดให้สัมพันธ์กับเนื้อเรื่องและความสำคัญ ของภาพ เช่น รูปเทวดา นางฟ้า กษัตริย์ นางพญา นางรำ จะมีลักษณะเด่นงามสง่าด้วยลีลาอันชดช้อย แสดงอารมณ์ความรู้สึกปีติยินดี หรือเศร้าโศกเสียใจด้วยอากัปกิริยาท่าทาง ถ้าเป็นรูปยักษ์ มาร ก็แสดงออกด้วยท่าทางที่บึกบึน แข็งขัน ส่วนพวกวานรแสดงความลิงโลด คล่องแคล่วว่องไวด้วยลีลาท่วงท่าและหน้าตา สำหรับพวกชาวบ้านธรรมดาสามัญก็จะเน้นความตลกขบขัน สนุกสนานร่าเริงหรือเศร้าเสียใจออกทางใบหน้า ส่วนช้างม้าเหล่าสัตว์ทั้งหลายก็มีรูปแบบแสดงชีวิตเป็นธรรมชาติ ซึ่งจิตรกรไทยได้พยายามศึกษา ถ่ายทอดอารมณ์ สอดแทรกความรู้สึกในรูปแบบได้อย่างลึกซึ้ง เหมาะสม และสวยงาม จิตรกรรมไทยแบบร่วมสมัย จิตรกรรมไทยแบบร่วมสมัย (Thai Contemporary Painting) จิตรกรรมไทยร่วมสมัยเป็นผลมาจากความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการของโลก ความเจริญทางการศึกษา การคมนาคม การพาณิชย์ การปกครอง การรับรู้ข่าวสาร ความเป็นไปของโลกที่อยู่ห่างไกล ฯลฯ เหล่านี้ ล้วนมีผลต่อความรู้สึกนึกคิดและแนวทางการแสดงออกของศิลปินในยุคต่อๆ มาซึ่งได้พัฒนาไปตามสภาพแวดล้อม ความเปลี่ยนแปลงของชีวิต ความเป็นอยู่ ความรู้สึกนึกคิด และความนิยมในสังคม สะท้อนให้เห็นถึงเอกลักษณ์ใหม่ของวัฒนธรรมไทยอีกรูปแบบหนึ่งอย่างมีคุณค่าเช่นเดียวกัน อนึ่งสำหรับลักษณะเกี่ยวกับจิตรกรรมไทยร่วมสมัยนั้น ส่วนใหญ่เป็นแนวทางเดียวกันกับลักษณะศิลปะแบบตะวันตกในลัทธิต่างๆ ตามความนิยมของศิลปินแต่ละคน ความสำคัญของจิตรกรรมไทย จิตรกรรมไทย เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลแบบสหวิทยาการ ถือได้ว่าเป็นแหล่งขุมความรู้โดยเฉพาะเรื่องราวจากอดีตทีสำคัญยิ่ง แสดงให้เห็นถึงความเป็นชนชาติที่มีอารยธรรมอันเก่าแก่ยาวนาน ประโยชน์ของงานจิตรกรรมไทย นอกจากจะให้ความสำคัญในเรื่องคุณค่าของงานศิลปะแล้ว ยังมีคุณค่าในด้านอื่น ๆ อีกมาก ดังนี้ คุณค่าในทางประวัติศาสตร์ คุณค่าในทางศิลปะ คุณค่าในเรื่องการแสดงเชื้อชาติ คุณค่าในทางสถาปัตยกรรม คุณค่าในเชิงสังคมวิทยา คุณค่าในด้านโบราณคดี คุณค่าในการศึกษาประเพณีและวัฒนธรรม คุณค่าในการศึกษาเรื่องทัศนคติค่านิยม คุณค่าในการศึกษานิเวศวิทยา คุณค่าในการศึกษาเรื่องราวทางพุทธศาสนา คุณค่าในทางเศรษฐกิจการท่องเที่ยว อ้างอิง คณะกรรมการเฉพาะกิจจัดทำหนังสือเมืองไทยของเรา เล่ม 2. (2535) เมืองไทยของเรา ฉบับที่สอง. สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. ISBN 974-7771-27-6. หน้า 44. สายทิพย์, บันทึกวัฒนธรรม: “จิตรกรรมไทยประเพณี” มรดกศิลปสยาม นิตยสารหญิงไทย
ความหมายของจิตกรรมไทย
จิตรกรรมไทยแบบประเพณี25:08
จิตรกรรมไทยแบบร่วมสมัย48:03

องค์ความรู้ทัศนศิลป์ จิตรกรรมไทย

ศิลปะลายไทย?

ลายไทยเกิดจากความเลื่อมใสศรัทธาในพุทธศาสนา จึงเป็นเหตุสำคัญให้ช่างหรือศิลปินประดิษฐ์ลายไทยโดยได้แนวคิดมาจาก ดอกบัว พวงมาลัย ควันธูป และเปลวเทียน แล้วนำมาสร้างสรรค์ให้เกิดเป็นลวดลายต่างๆ เช่น ลายกนก ลายเปลวเพลิง ลายใบเทศ ลายพฤษชาติ ซึ่งเมื่อศึกษาถึงที่มาของลวดลายเหล่านั้น พบว่าบางส่วนมีการพัฒนาจากรูปดอกบัวหลากหลายชนิด อาทิ บัวหลวง บัวสัตตบงกช บัวสัตตบุษย์ และมีการพัฒนาจากลักษณะการเคลื่อนไหวของเปลวไฟที่มีความพลิ้วไหว จึงนำมาสร้างสรรค์ให้เกิดลายไทยที่สวยงาม

สวยอย่างไทย

เกี่ยวกับผู้สอน

5.00 (1 การให้คะแนน)

3 รายวิชา

441 ผู้เรียน

เรียน