0(0)

ส 33101 สังคมศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6

หลักสูตรรายวิชา

รายวิชา พระพุทธศาสนา                           กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6                                                                                    ภาคเรียนที่ 1-2

รหัสวิชา ส 33101                                                                                         เวลา 40 ชั่วโมง/ปี

 

ศึกษา วิเคราะห์ พระพุทธศาสนาว่าเป็นศาสตร์แห่งการศึกษา ซึ่งเน้นความสัมพันธ์ของเหตุปัจจัยกับวิธีการแก้ปัญหา พระพุทธศาสนาสอนการฝึกตนไม่ให้ประมาท มุ่งประโยชน์และสันติภาพแก่บุคคล สังคม และโลก พระพุทธประวัติด้านการบริหารและการธำรงรักษาศาสนา เป็นมนุษย์ผู้ฝึกตนได้อย่างสูงสุดในการตรัสรู้ การก่อตั้ง วิธีการสอน และการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ประวัติพุทธสาวก พุทธสาวิกา (พระอานนท์ พระปฏาจาราเถรี นางจูฬสุภัททา นายสุมนมาลาการ) ศาสนิกชนตัวอย่าง (พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทโท) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต) ท่าน อนาคาริก ธรรมปาละ) ชาดก (มหาชนกชาดก)

วิเคราะห์และปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา พระรัตนตรัย หลักธรรมในกรอบอริยสัจ 4 ประกอบด้วย ทุกข์ (จิต – เจตสิก) สมุทัย (ปฏิจจสมุปบาท นิวรณ์ 5 อุปาทาน 4) นิโรธ (นิพพาน) มรรค (อธิปไตย 3 สาราณียธรรม 6 ทศพิธราชธรรม 10 วิปัสสนาญาณ 9 มงคล 38 (ความเพียรเผากิเลส ประพฤติพรหมจรรย์ เห็นอริยสัจ บรรลุนิพพาน)) พุทธศาสนสุภาษิต (พระราชาเป็นประมุขของประชาชน สติเป็นเครื่องตื่นในโลก สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง) คุณค่าและความสำคัญของพระไตรปิฎก ปฏิบัติตนเป็นศาสนิกชนที่ดีต่อสมาชิกในครอบครัวและคนรอบข้าง ปฏิบัติตนเป็นพุทธมามกะ ปฏิบัติตนตามศาสนพิธี พิธีกรรม วิเคราะห์หลักธรรม คติธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา สวดมนต์ แผ่เมตตา และบริหารจิตและเจริญปัญญาตามหลักสติปัฏฐาน พัฒนาการเรียนรู้ด้วยวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ 10 วิธี สัมมนาและเสนอแนวทางธำรงรักษาศาสนาที่ตนนับถืออันส่งผลถึงการพัฒนาตน พัฒนาชาติ และโลก

โดยใช้กระบวนการคิด กระบวนการสืบค้นข้อมูล กระบวนการทางสังคม กระบวนการเผชิญสถานการณ์และแก้ปัญหา กระบวนการปฏิบัติ และกระบวนการกลุ่ม เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ สามารถนำไปปฏิบัติในการดำเนินชีวิต นำไปแก้ปัญหาและพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน ประเทศชาติ และโลก มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในด้านรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ สมารถดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข

 

 

ตัวชี้วัด

ส 1.1       ม.4-6/2      ม.4-6/9      ม.4-6/10    ม.4-6/13    ม.4-6/14    ม.4-6/15

ม.4-6/18    ม.4-6/19    ม.4-6/20    ม.4-6/22

ส 1.2        ม.4-6/1      ม.4-6/2      ม.4-6/3      ม.4-6/4

รวม  14  ตัวชี้วัด

 

 

สารบัญรายวิชา

26 บทเรียน

หน่วยที่ 1 ประวัติและความสำคัญของพระพุทธศาสนา?

สังคมชมพูทวีปและคติความเชื่อทางศาสนาสมัยก่อน พระพุทธเจ้ามีคติความเชื่อทางศาสนาแตกต่างกับพระพุทธศาสนาซึ่งมีทฤษฎีและวิธีการที่เป็นสากล มีข้อปฏิบัติที่ยึดทางสายกลาง และเน้นการพัฒนาศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง
นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับพุทธประวัติแค่ไหน…??00:00:00
แบบทดสอบก่อนเรียน
ลักษณะของสังคมชมพูทวีปและคติความเชื่อทางศาสนาสมัยก่อนพระพุทธเจ้า2:45
ใบงาน 1.1 สังคมชมพูทวีปและคติความเชื่อทางศาสนาสมัยก่อนพระพุทธเจ้า
พระพุทธศาสนามีทฤษฎีและวิธีการที่เป็นสากลและมีข้อปฏิบัติที่ยึดทางสายกลาง13:48
ใบงาน 2.1 พระพุทธศาสนามีทฤษฎีที่เป็นสากล และมีข้อปฏิบัติที่ยึดทางสายกลาง
แบบทดสอบหลังเรียน

หน่วยที่ 2 พระสาวก ศาสนากชนตัวอย่าง และชาดก?

พระพุทธเจ้าเป็นผู้ฝึกตนได้อย่างสูงสุดในการตรัสรู้ การก่อตั้ง วิธีการสอนและการเผยแผ่พระพุทธศาสนา การศึกษาพุทธประวัติ ชาดก เรื่องเล่า จะได้ข้อคิดเพื่อนำไปใช้เป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต

หน่วยที่ 3 หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา?

ส 1.1 ม.4-6/13 วิเคราะห์หลักธรรมในกรอบอริยสัจ 4 หรือหลักคำสอนของศาสนาที่ตนนับถือ พระรัตนตรัยมีคุณค่าต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ การวิเคราะห์หลักธรรมในกรอบอริยสัจ 4 ในหมวดทุกข์และสมุทัยย่อมทำให้รู้ปัญหาหรือความทุกข์ และสาเหตุของปัญหาหรือความทุกข์

หน่วยที่ 4 พุทธศาสนสุภาษิต คำศัพท์ทางพระพุทธศาสนา และพระไตรปิฎก?

พระไตรปิฎก และพุทธศาสนสุภาษิตมีหลักธรรมสำคัญที่เป็นคติเตือนใจบุคคลให้นำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติในทางที่ถูกต้อง

หน่วยที่ 5 หน้าที่ชาวพุทธและมารยาทชาวพุทธ?

ชาวพุทธที่ดีพึงปฏิบัติตนต่อพระภิกษุอย่างเหมาะสมทั้งกาย วาจา และใจ โดยรักษาศีล และปฏิบัติตนต่อสมาชิกในครอบครัวและคนรอบข้างตามหลักทิศ 6

หน่วยที่ 6 พระไตรปิฏกและพทธศาสนสุภาษิต?

พระไตรปิฎก และพุทธศาสนสุภาษิตมีหลักธรรมสำคัญที่เป็นคติเตือนใจบุคคลให้นำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติในทางที่ถูกต้อง

หน่วยที่ 7 เรื่องการบริหารจิตและการเจริญปัญญา?

การสวดมนต์แปล แผ่เมตตา และเจริญปัญญาตามหลักสติปัฏฐาน และการใช้วิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ ย่อมทำให้การดำเนินชีวิตเป็นไปในทางที่ถูกต้อง

หน่วยที่ 8 พระพุทธศาสนากับการแก้ปัญหาและการพัฒนา?

ชาวพุทธที่ดีพึงปฏิบัติตนต่อพระภิกษุอย่างเหมาะสมทั้งกาย วาจา และใจ โดยรักษาศีล และปฏิบัติตนต่อสมาชิกในครอบครัวและคนรอบข้างตามหลักทิศ 6

หน่วยที่ 9 หลักธรรมทางศาสนากับการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข?

* ค่านิยม จริยธรรม เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข * การขจัดความขัดแย้งเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข * หลักธรรมทางศาสนากับการพัฒนาสังคม * แนวทางในการจัดกิจกรรมทางศาสนา เพื่อการพัฒนาสังคม

สาระการเรียนรู้หน้าที่พลเมือง

เกี่ยวกับผู้สอน

คณะรัฐศาสตร์ การปกครอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง
4.50 (10 การให้คะแนน)

13 รายวิชา

1927 ผู้เรียน

เรียน