หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เศรษฐกิจพอเพียง?

ความหมาย ความเป็นมาของเสรษฐกิจพอเพียง , โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ชุมชนพอเพียง?

ทฤษฎีใหม่

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การพัฒนาชุมชน

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เศรษฐกิจพอเพียงกับสหกรณ์

ตัวอย่างเกษตรกรทฤษฎีใหม่
นายสุทัศน์ รอดคลองตัน
ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2563
นายสุทัศน์ รอดคลองตันมีประสบการณ์ในการทำการเกษตร และดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นระยะเวลา 48 ปี สามารถเป็นแบบอย่างให้ผู้อื่นได้กว่า 24 ปี นายสุทัศน์ใช้ชีวิตแบบพอเพียง พอดี พอประมาณ ไม่มีหนี้สิน ทำการเกษตรแบบพอเพียงตามวิถีชาวบ้าน ใช้แรงงานจากสมาชิกในครอบครัว รู้จักคิดวิเคราะห์ หาเหตุผล หาสาเหตุ เพื่อแก้ปัญหา โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและทรัพยากร ที่มีอยู่ในชุมชน ศึกษา ค้นคว้า แสวงหาความรู้ และทดลองปฏิบัติอยู่ตลอดเวลา ลดการใช้สารเคมี ปรับรูปแบบการทำเกษตรเชิงเดี่ยวมาเป็นเกษตรผสมผสาน ทำให้ลดต้นทุนการผลิต สามารถพึ่งพาตนเอง จนเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับชุมชนนอกจากนี้ยังอาสาช่วยเหลือทำงานเพื่อประโยชน์ส่วนรวมและสังคม โดยสมัครใจและไม่หวังสิ่งตอบแทน เป็นแกนนำในการจัดตั้งกลุ่มต่าง ๆ ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐในการติดต่อประสานงานกับเกษตรกร เพื่อพัฒนาภาคการเกษตรในภาพรวม รวมถึงเป็นวิทยากรในการถ่ายทอดความรู้ โดยสอนด้วยวิธีลงมือปฏิบัติให้เห็นผลอย่างแท้จริง และอาศัยทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน สำหรับกิจกรรมทางการเกษตรในพื้นที่ ประกอบด้วย การทำนา การทำสวนไม้ผล (มะม่วง มะพร้าว อินทผาลัม เป็นต้น) การปลูกพืชผักสวนครัว การเลี้ยงปลา (ปลาหมอ ปลานิล ปลาตะเพียน และปลาสลิด) การเลี้ยงกบ การเลี้ยงกุ้งขาว การเลี้ยงไก่ไข่ การเลี้ยงแพะเนื้อ การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ การผลิตปุ๋ยหมักน้ำ การผลิตน้ำหมักชีวภาพ การเผาถ่าน การผลิตน้ำส้มควันไม้ การผลิตแก๊สชีวภาพใช้ในครัวเรือน และการประดิษฐ์เครื่องมือภาคการเกษตรใช้เอง อาทิเช่น เครื่องคัดและนับมะนาว เครื่องคัดแยกข้าวกล้องเครื่องขอดเกล็ดปลา เป็นต้น