แบบทดสอบก่อนเรียนรายวิชา I20201 การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้

เนื้อหาน่ารู้

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ประเด็นที่ฉันสนใจ

แบบทดสอบหลังเรียนรายวิชา I20201 การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้

แบบประเมินความคิดเห็น

การออกแบบ วางแผน การเก็บข้อมูล

ประชากร คือ กลุ่มคน สัตว์ สิ่งของ หรือลักษณะทางจิตวิทยาที่ทำการศึกษา 

กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มคน สัตว์ สิ่งของ หรือลักษณะทางจิตวิทยาที่เป็นตัวแทน ของประชากรที่ทำการศึกษา 

ผู้ศึกษาค้นคว้าบางครั้งไม่สามารถทำการศึกษากับประชากรได้ เพราะมีจำนวนมาก หรือ มีสภาพยากแก่การเก็บรวบรวมข้อมูล จึงจำเป็นต้องศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง แล้วใช้สถิติอ้างอิงถึงประชากร 

มีประโยชน์ คือ ประหยัด ควบคุมความถูกต้องได้ง่าย และใช้กับข้อมูลบางอย่างที่ไม่สามารถศึกษาจากประชากรได้ เช่น เลือดทุกหยดในตัวคนไข้ นักเรียน ม. 4 ทุกคนในประเทศไทย เป็นต้น 

การเลือกกลุ่มตัวอย่าง 
ผู้ศึกษาต้องกำหนดประชากรให้ชัดว่า คืออะไร มีขอบเขต และคุณลักษณะอย่างไร 
กำหนดข้อมูลที่จะรวบรวมตามจุดมุ่งหมายที่ศึกษา 
กำหนดเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล กำหนดจำนวน และวิธีเลือกกลุ่มตัวอย่าง 

การกำหนดจำนวนสมาชิกกลุ่มตัวอย่าง 
1. ประชากรมีลักษณะคล้ายกัน เลือกกลุ่มตัวอย่างน้อย ถ้าประชากรมีลักษณะต่างกัน เลือกกลุ่มตัวอย่างมาก 
2. การทดลอง การสัมภาษณ์ ใช้กลุ่มตัวอย่างน้อยกว่าการส่งแบบสอบถามให้ตอบ 

วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่าง 
1. ไม่อาศัยความน่าจะเป็น โดยไม่ใช้วิธีการสุ่ม ประชากรมีโอกาสถูกเลือก ไม่เท่ากัน ผู้ศึกษาเลือกแบบบังเอิญ แบบเจาะจงตามความสะดวกของผู้ศึกษา 
2. อาศัยความน่าจะเป็น โดยการสุ่ม ประชากรทุกส่วนมีโอกาสถูกเลือกเท่ากัน เช่น การจับฉลาก เป็นต้น

นิยามศัพท์เฉพาะ 

         นิยาม คือ การกำหนด หรือการจำกัดความหมายที่แน่นอน ในการศึกษาค้นคว้าจะมี ศัพท์เฉพาะ ซึ่งจำเป็นต้องให้นิยาม เพราะจะมีผู้อ่านบางคนไม่ทราบความหมายของศัพท์นั้นมาก่อน หรือทราบความหมายของศัพท์นั้น แต่อาจจะไม่ตรงกับความหมายที่ผู้ศึกษาค้นคว้ากาหนดไว้ จึงต้อง มีการนิยามศัพท์เฉพาะ ซึ่งมี 2 ลักษณะดังนี้

         1. การนิยามแบบทั่วไป เป็นการนิยามตามความหมายของคาศัพท์ปกติ อาจยกนิยามตามที่ระบุไว้ในพจนานุกรม สารานุกรม ตามตำราที่ผู้อื่นนิยามไว้ หรือตามที่ผู้ศึกษาค้นคว้านิยาม ด้วยตนเองในกรณีที่ไม่มีผู้อื่นนิยามมาก่อน ทั้งนี้ผู้ศึกษาค้นคว้าต้องมีความรอบรู้ในเรื่องนั้นอย่างลึกซึ้ง ใช้ภาษาที่ครอบคลุม แจ่มชัด และรัดกุม ดังตัวอย่าง

ความคิด หมายถึง สิ่งที่นึกรู้ขึ้นในใจ สติปัญญาที่จะทาสิ่งใดสิ่งหนึ่ง อย่างถูกต้อง และสมควร (ราชบัณฑิตยสถาน. 2546 : 231)
สงกรานต์ หมายถึง วันที่พระอาทิตย์เคลื่อนจากราศีหนึ่ง ไปสู่อีกราศีหนึ่ง เรียกว่า วันสงกรานต์ แต่วันที่พระอาทิตย์เคลื่อนจากราศีมีน เข้าสู่ราศีเมษ เรียกว่า วันมหาสงกรานต์ ในสมัยโบราณถือเอาวันนี้เป็นวันขึ้นปีใหม่

         2. การนิยามปฏิบัติการ ให้ความหมายของศัพท์นั้น และบอกให้ทราบว่าผู้ศึกษาค้นคว้า จะวัด ตรวจสอบ หรือสังเกตได้อย่างไร ดังตัวอย่าง องค์ความรู้ คือ knowledge ในภาษาอังกฤษ หมายถึง ความรู้ หรือข้อมูล หรือสาระวิชาต่าง ๆ ที่ผู้เรียนมีอยู่ วัดโดยใช้แบบทดสอบที่ผู้ศึกษาค้นคว้าสร้างขึ้น (จรัญ จันทลักขณา และกษิดิศ อื้อเชี่ยวชาญกิจ. 2551 : 2)
อำเภอ หมายถึง พื้นที่ปกครองตามกำหนดของกระทรวงมหาดไทย ในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 32 อำเภอ (อิสรา ตุงตระกูล. 2553 : 14)

รายการอ้างอิง

        การอ้างอิงแทรกในเนื้อหา วิธีการอ่านควรมีความสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายในการอ่าน การศึกษาค้นคว้าโดยการอ่านแบบสารวจ เป็นการอ่านอย่างรวดเร็ว เพื่อช่วยเลือกเรื่อง และรวบรวมบรรณานุกรม เมื่อเลือกเรื่องได้แล้วควรใช้การอ่านเพื่อเก็บประเด็นสาคัญ ซึ่งเป็นวิธีเดียวกับการอ่านเพื่อเตรียมสอบ นิยมใช้หลัก SQ3’R คือ สำรวจ ตั้งคำถาม ค้นหาคำตอบ บันทึก และทบทวน ดังนี้ (วิโรจน์ ถิรคุณ. 2543 : 167)
         1. S (Survey) คือ การสำรวจส่วนประกอบของเรื่องที่อ่าน
         2. Q (Question) คือ การตั้งคาถามเรื่องที่ต้องการรู้
         3. R 1 (Read) การค้นหาคำตอบจากเรื่องที่อ่าน
         4. R 2 (Recall) การจดบันทึกใจความสำคัญจากเรื่องที่อ่าน
         5. R 3 (Review) การอ่านทบทวนเพื่อเชื่อมโยงความเข้าใจภาพรวม ของเรื่อง

เมื่ออ่านพบเรื่องที่ตรงกับประเด็นสำคัญของเรื่องที่จะศึกษาค้นคว้าแล้ว ควรบันทึกในบัตรบันทึกข้อมูล หรือสมุดบันทึกการอ่าน และการศึกษาค้นคว้า หากมีการคัดลอก อ้างข้อความ หรือแนวคิดของผู้อื่นมาลงไว้ในบันทึก หรือผลงานของตนต้องมีการอ้างอิง (Citation) คือ การแสดงให้เห็นถึงแหล่งที่มาของข้อมูล หรือแนวคิดที่นามาใช้ในการเขียนรายงาน โดยการเขียนอ้างอิงแทรกในเนื้อหา และการเขียนบรรณานุกรม