ดนตรีกับสังคมและวัฒนธรรม?

ดนตรีเป็นศิลปะอย่างหนึ่งที่มนุษย์ได้สร้างสรรค์ปรุงแต่งขึ้น และได้เป็นเพื่อนทางจิตใจของมนุษย์มาช้านานแล้ว คำถามที่ว่าศิลปะแขนงนี้เริ่มต้นขึ้นเมื่อใด ไม่มีผู้ใดสามารถให้คำตอบได้ แต่ว่าอาศัยหลักฐานและข้ออิงทางมานุษยวิทยาแล้วก็จะกล่าวได้ว่า ดนตรีเริ่มมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์นานนักหนาแล้ว มีหลักฐานว่าอารยธรรมของดนตรีในซีกโลกตะวันออกนั้น เกิดขึ้นมาก่อนดนตรีในซีกโลกตะวันตก ประมาณ 2,000 ปี สิ่งหนึ่งที่ทำให้เกิดดนตรีขึ้นครั้งแรก คือ “ความหวาดกลัว” ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ไม่ว่าการเกิดกลางวันหรือกลางคืน การผลัดเปลี่ยนของฤดูกาล ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ฝนตก น้ำท่วม แผ่นดินไหว ฯลฯ ล้วนเป็นสิ่งที่สร้างความประหวั่นพรั่นพรึงและความกังวลใจให้แก่มนุษย์ในยุคนั้นเป็นอันมาก พวกเขามีความเข้าใจว่า ปรากฏการณ์ต่างๆเหล่านี้มีทั้งพระเจ้าที่ดีและร้ายอยู่ในตัวดนตรีมีส่วนเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวนของมนุษย์ โดยไม่จำกัดเพศ วัย ระดับการศึกษา หรือฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม ดนตรีสำหรับบางคนอาจมีวัตถุประสงค์ เพื่อผ่อนคลายความตึงเครียด เพื่อความซาบซึ้งไปกับอารมณ์ของบทเพลง บางคนต้องการฝึกฝนอย่างจริงจังเพื่อเป็นนักร้อง นักดนตรี ฯลฯ การมีประสบการณ์ทางดนตรีในลักษณะต่างๆ แต่ละคนจึงมีมุมมองเกี่ยวกับดนตรีในมิติที่แตกต่างกัน อาทิเช่น มิติที่เป็นรูปแบบของศิลปะวัฒนธรรม มิติที่เป็นรูปแบบของความคิดและจินตนาการ มิติที่เป็นรูปแบบของนันทนาการและการบันเทิง มิติที่เป็นศาสตร์แขนงหนึ่ง มิติที่เป็นหลักสูตรการศึกษา มิติที่เป็นสุนทรียภาพ มิติที่เป็นสื่อธุรกิจ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ข้อค้นพบจากการศึกษาวิจัยในช่วงปลายคริสตศตวรรษที่ผ่านมาสามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีกับชีวิตได้ชัดเจนมากขึ้น มุมมองเกี่ยวกับดนตรีในมิติที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของชีวิต จึงกำลังเป็นที่สนใจ มีการขยายผล นำไปประยุกต์ใช้ และค้นคว้าทดลองอย่างจริงจังในปัจจุบัน ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีกับชีวิตมีประเด็นการศึกษาการดำเนินชีวิตของคนไทยตลอดชีวิต ต้องมีดนตรีเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่เสมอ ทั้งนี้เป็นไปตามความเชื่อและวัฒนธรรมหรือวิถีไทย ดนตรีจะมีส่วนเสริมสร้างความเข้มแข็ง ความสุข ความสนุกสนาน เพื่อให้คลายจากความกลัว ความกังวน ความเหน็ดเหนื่อย หรือความทุกข์ทั้งหลาย ดนตรีนับว่ามีคุณค่าต่อมนุษย์อย่างมากมาย ดนตรีมีบทบาทในชีวิตคนเราตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย โดยเฉพาะคนไทยถ้าได้ยินเสียงดนตรีที่ไหนก็ตาม หมายความว่าที่แห่งนั้นจะต้องมีงานมหรสพ ไม่ว่าจะเป็นงานบุญ งานกุศล งานฉลองต่าง ๆ หรืองานศพ เช่น พอเด็กเกิดมาก็จะมีการทำขวัญเดือน โกนผมไฟ ซึ่งถือว่าเป็นพิธีมงคลแก่ชีวิตเด็ก ซึ่งผู้ใหญ่ต้องเป็นฝ่ายทำให้ และเมื่อเข้าสู่วัยหนุ่มสาวก็มีการโกนจุกซึ่งแสดงว่าเด็กเข้าสู่วัยที่โตแล้ว ในช่วงชีวิตต่อไปก็คือ การอุปสมบทของชายก็มีการทำขวัญนาค นอกจากที่กล่าวมาแล้วยังมีอีกหลายงาน อาทิเช่น การแต่งงาน การฉลองอายุ ฉลองครบรอบแต่งงาน งานขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น กิจกรรมเหล่านี้ล้วนแต่ใช้ดนตรีประกอบทั้งสิ้น เป็นการแสดงให้เกิดความสนุกสนานรื่นเริง มองดูศักดิ์สิทธิ์ ดังนั้นจะเห็นว่าการดำเนินชีวิตของคนไทยจะมีความสัมพันธ์กับดนตรีมาตลอด

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับดนตรี?

การอ่านโน้ตดนตรีหรือบทเพลงต่างๆ ก็เฉกเช่นเดียวกันกับการอ่านหนังสือโดยทั่วไป กล่าวคือผู้เรียนหรือผู้อ่านจะต้องจดจำสัญลักษณ์หรือพยัญชนะเบื้องต้นที่ใช้ แทนเสียง เช่น ก,ข,ค,……ฮ. หรือสระต่าง ๆ แล้วจึงนำสิ่งเหล่านั้นมารวมกันแล้วสะกดเป็นคำๆ จึงจะมีความหมาย ที่เราสามารถใช้เขียนเป็นการแสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิดต่างๆ และเป็นการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น ในทางดนตรีก็เช่นกันความคิดของผู้ประพันธ์เพลง(Composer) ที่แต่งเพลงออกมาจะถูกบันทึกไว้ด้วยตัวโน้ต เพื่อให้นักดนตรีได้เล่นและถ่ายทอดอารมณ์ออกมาให้ผู้ฟังได้โดยที่นักดนตรี ผู้นั้นไม่เคยรู้จักมาก่อนได้ ตัวโน้ตที่ใช้บันทึกในลักษณะต่างๆนั้นจะกลายเป็นโสตภาษาของผู้ฟัง

ประโยชน์ของดนตรี?

ดนตรีเป็นเรื่องของ “เสียง” ที่เราได้ยินกันเป็นประจำผ่านทางสื่อประเภทต่างๆ ดนตรีในปัจจุบันมีหลากหลายประเภท ป็อบ ร็อค แร็พ แจ๊ส ลูกทุ่ง หมอลำ เพลงคลาสสิค เพลงไทยเดิม ฯลฯ ซึ่งเปรียบเสมือนอาหารนานาชนิดที่มีรสเปรี้ยว หวาน มัน เค็ม ที่เรากินกันอยู่ทุกวัน ดังนั้นสิ่งที่เราไม่สามารถปฏิเสธได้ก็คือ ดนตรีเป็นสิ่งหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของเราทุกคน โดยเฉพาะกับเด็กแล้วนั้น “ดนตรีกับเด็ก” นับว่าเป็นสิ่งที่ผูกพันกันอย่างลึกซึ้ง เพราะดนตรีเป็นสื่อที่ตอบสนองต่อธรรมชาติของเด็กโดยตรงและสร้างความสุขให้เด็กได้อย่างง่ายๆ และที่สำคัญดนตรีเป็นเหมือนทางลัดที่คุณพ่อคุณแม่สามารถนำมาใช้ในการช่วยส่งเสริมพัฒนาการในด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาของเด็กได้เป็นอย่างดี

ดนตรีกับอาชีพทางดนตรี?

ในการศึกษาเล่าเรียนในวิชาดนตรีนั้น ผู้เรียนสามารถนำไปประกอบอาชีพได้ในอนาคต ซึ่งมีอาชีพที่เกี่ยวข้องกับดนตรีอยู่หลายอาชีพ ซึ่งเป็นอาชีพที่สร้างความสุข ความบันเทิงให้กับคนในสังคม ซึ่งอาชีพทางดนตรีที่เราควรรู้จัก

ธุรกิจที่เกี่ยวกับดนตรี?

ธุรกิจบันเทิง คือ การประกอบกิจการหรือการค้าขาย,การประกอบอาชีพเกี่ยวกับความบันเทิง ซึ่งในการประกอบอาชีพธุรกิจบันเทิงจะต้องมีดนตรีเข้ามาเกี่ยวข้องในการประกอบธุรกิจอยู่เสมอ ดนตรีจึงมีบทบาทที่สำคัญต่อธุรกิจบันเทิงดังนี้ -ดนตรีสามารถสร้างความสุข ความบันเทิงให้กับผู้ชมในงานและสถานบันเทิงต่างๆเพื่อผ่อนคลายความตึงเครียด -ดนตรีสามารถที่จะสร้างรายได้ได้ให้กับนักดนตรี -ดนตรีสามารถที่จะบอกความก้าวหน้าของธุรกิจบันเทิงได้ -ดนตรีมีส่วนสำคัญที่จะทำให้เกิดรางวัลต่างๆที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจบันเทิง -ดนตรีสามารถตอบสนองความต้องการของคนในสังคม จึงทำให้เกิดการประกอบอาชีพที่เกี่ยวกับธุรกิจบันเทิงและดนตรีต่างๆ เช่น วงดนตรีลูกทุ่ง ลิเก หมอลำ เป็นต้น โดยสรุปอาชีพทางด้านดนตรีนั้นมีมากมายหลากหลายอาชีพ ซึ่งในแต่ละอาชีพจะมีบทบาทและหน้าที่ ที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งสามารถที่จะสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบอาชีพ และสร้างความสุข ความบันเทิง ให้กับคนในสังคม อีกทั้งดนตรียังช่วยส่งเสริมให้ธุรกิจบันเทิงมีความหลากหลายเพื่อที่จะตอบสนองคนในสังคม

หลักการร้องและบรรเลงเพลงสากล?

การร้องเพลง เกิดขึ้นพร้อมๆกับมนุษย์ เมื่อต้องการจะแสดงความรู้สึกนึกคิดแสดงอารมณ์ หรือสิ่งที่ได้พบเห็นออกมาเป็นคำพูด การระบายออกมาเป็นคำพูดครั้งแรกยังไม่มีความไพเราะงดงามลึกซึ้งพอกับความต้องการของตน จึงบรรยายออกเป็นร้อยกรอง มีจังหวะ ต่อมาการแสดงความรู้สึกนั้นมีมากเกินกว่าจะสรรหาคำพูดที่จะถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดนั้นได้ จึงหาวิธีระบายออกที่ลึกซึ้งยิ่งกว่านั้นอีกจนกลายเป็นการร้องเพลงในที่สุด การร้องเพลงในขั้นต้น เป็นการร้องในพิธีศาสนาในการสวดอ้อนวอนพระเจ้า หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ตนเคารพนับถือ เพื่อขอสิ่งที่ตนต้องการ ต่อมาได้กลายเป็นเสียงเพลงในการบันเทิงผ่อนคลายความตึงเครียดในยามว่าง เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินและผ่อนคลายอริยาบถ เช่น เพลงร้องและระบำต่างๆ

แบบประเมินหลังเรียน

ดนตรีอัฟริกา (Music of Africa)

ดนตรีอัฟริกา (Music of Africa)

ดนตรีอัฟริกา หมายถึง ดนตรีของชนเผ่าดั้งเดิมของทวีปอัฟริกาที่อยู่ตั้งแต่ทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮารา (Sahara) จนจรดปลายทวีป ได้แก่ ประเทศ กีเนีย ไอวอรีโคส กานา ไนจีเรีย แคมมารูน ซูดาน เอธิโอเปีย โซมาเลีย เคนยา ซาอี ราวานดา เบอรุนดี แทนซาเนีย แซมเบีย โรดีเซีย แองโกลา นามิเบีย โมซัมบีก บอตสวานา กาบอน อูกานดา และอัฟริกาใต้ เนื่องจากมีพื้นที่กว้างใหญ่มาก ดังนั้นจึงทำให้รูปแบบของดนตรีมีความแตกต่างกันอย่างหลากหลาย ดนตรีเป็นสิ่งที่ผูกพันกับชีวิตความเป็นอยู่ของชาวอัฟริกันมาก ชาวอัฟริกันใช้ดนตรีเกี่ยวกับวิถีชีวิตมากกว่าคนที่อยู่ในส่วนอื่น ๆ ของโลก กิจกรรมทางดนตรีที่ชาวอัฟริกันทำอยู่ประจำมีอยู่ 3 รูปแบบ คือ การร้องเพลง การเต้นรำ และการตีกลอง ปกติแล้วก็จะทำกิจกรรทั้ง 3 อย่างนี้ไปพร้อม ๆ กัน ท่าเต้นที่สวยงาม มีลีลาที่แปลกกว่าการเต้นของผู้คนในแถบอื่นของโลก โครงสร้างจังหวะที่สลับซับซ้อน เร้าใจ เครื่องดนตรีที่นำมาประกอบกิจกรรมดนตรีเป็นของดั้งเดิม บทเพลงที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมาจากบรรพบุรุษโดยไม่มีการจดบันทึก เหล่านี้ล้วนทำให้วิถีชีวิตของชาวอัฟริกันเต็มไปด้วยสีสันของดนตรี

  ดนตรีอัฟริกาเป็นดนตรีที่มีลักษณะเฉพาะ จะนำเครื่องดนตรีใด ๆ ที่ไม่ใช่เครื่องดนตรีอัฟริกามาบรรเลงแทนจะทำได้ลำบาก ทำนองเพลงเป็นทำนองสั้น ๆ จดจำง่าย มีการโต้ตอบกันระหว่างวรรคถามและวรรคตอบ ในบางครั้งมีการนำวิธีการแบบคีตปฏิพาณ (Improvisation) มาใช้ในการโต้ตอบทำนองเพลงด้วย 


            ทุกครั้งที่บรรเลงดนตรี นักดนตรีที่ทำหน้าที่ตีกลอง 1 คน จะถูกคัดเลือกให้เป็นหัวหน้า ทำหน้าที่เหมือนกับผู้นำวง คอยให้สัญญาณต่าง ๆ กับนักดนตรีคนอื่น ๆ ในวงเพื่อให้เกิดความพร้อมเพรียงในการบรรเลง จังหวะการตีกลองที่มีลีลาสลับซับซ้อน เร้าใจ  ท่าเต้นที่สวยงาม มีลีลาที่แปลกกว่าการเต้นของผู้คนในแถบอื่นของโลก   เครื่องดนตรีที่นำมาประกอบกิจกรรมดนตรีเป็นของดั้งเดิม บทเพลงที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมาจากบรรพบุรุษโดยไม่มีการจดบันทึก  เหล่านี้ล้วนทำให้วิถีชีวิตของ ชาวอัฟริกันเต็มไปด้วยสีสันของดนตรี และน่าสนใจ

 ดนตรีดั้งเดิมของอัฟริกาสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 จำพวกใหญ่ คือ ดนตรีในพิธีกรรม และดนตรีเพื่อความบันเทิง

 ดนตรีในพิธีกรรม 

ดนตรีที่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรมของชาวอัฟริกันมีหลายรูปแบบ เช่น ใช้บรรเลงเกี่ยวกับการเกิด ใช้บรรเลงหลังจากเสร็จสิ้นฤดูการเก็บเกี่ยวผลิตทางการเกษตร หรือใช้บรรเลงหลังจากการออกไปทำการประมงเสร็จสิ้นลง  เป็นต้น การบรรเลงในลักษณะนี้ก็เพื่อขอบคุณสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายที่ช่วยดลบันดาลให้การกระทำการงานทั้งหลายบรรลุผลสำเร็จไปด้วยดี ในขณะที่ดนตรีในพิธีกรรมกำลังบรรเลงอยู่ จะต้องมีการตีกลองด้วยทุกครั้ง ชาวอัฟริกันเชื่อว่า เสียงกลองที่ตีไปนั้นจะเป็นสื่อนำพาสิ่งที่พวกตนปรารถนาไปถึงพระเจ้าเบื้องบนได้

 ดนตรีเพื่อความบันเทิงหรือเพื่อกิจกรรมอื่น ๆ  

  ดนตรีที่ไม่เกี่ยวข้องกับศาสนา   มีจุดมุ่งหมายเพื่อความบันเทิงของคนทั่ว ๆ ไป หรือใช้ประกอบกิจกรรมการทำงาน เช่น เกี่ยวข้าว การเก็บพืชไร่ เป็นต้น การร้องเพลงประกอบการทำงานนั้น เพื่อลดความเครียดในการทำงาน  ทำให้เกิดความเพลิดเพลิน หรืออาจจะเป็นการสร้างจังหวะในการทำงานบางอย่างให้เกิดความพร้อมเพรียงก็ได้

  เครื่องดนตรีชาวอัฟริกัน ( African Instruments) 

  เครื่องดนตรีอัฟริกาที่พบในทุกพื้นที่มีหลายประเภท เช่น เครื่องสาย  เครื่องเป่า  และเครื่องตีกระทบจังหวะ ซึ่งส่วนใหญ่จะทำมาจากผลของน้ำเต้าแห้ง   ผลบวบแห้ง    เครื่องดนตรีบางชนิดจะเป็นได้ทั้งเครื่องเคาะจังหวะและเครื่องสาย    
               ระนาดไม้เป็นเครื่องดนตรีอัฟริกาที่ได้รับความนิยมนำมาใช้บรรเลงเช่นกัน ลูกระนาดทำด้วยไม้ รางที่ใช้สำหรับวางลูกระนาด อาจจะทำด้วยต้นกล้วย หรือผลน้ำเต้าแห้ง หรือขอบไม้ก็ได้
               กลอง คือ เครื่องดนตรีที่สำคัญที่สุดของดนตรีอัฟริกา การตีกลองของอัฟริกาเหมือนกับการตีเพื่อเลียนเสียงพูดของชาวอัฟริกันเอง ทั้งนี้เพราะลักษณะการพูดของชาวอัฟริกันเกิดขึ้นแบบทำนองดนตรีเป็นเสียงสูง ๆ ต่ำ ๆ สลับกันไป ชาวอัฟริกันสามารถใช้เสียงกลองส่งข้อความเพื่อสื่อสานกันได้ เช่น ส่งสัญญาณเพื่อเรียกประชุม เป็นต้น

Djembe

Cabaza

Maracas

Marimba

Mbira or Thumb Piano

Atenteben  or Bamboo Flute

  Talking Drum