หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 มาตราส่วน ทิศ และสัญลักษณ์ในแผนที่

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ทวีปยุโรป

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 ทวีปแอฟริกา?

ภูมิศาสตร์ทวีปแอฟริกา

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 ภัยพิบัติและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ?

ภัยพิบัติและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกา

ภูมิศาสตร์ทวีปแอฟริกา

ที่ตั้ง

ทวีปแอฟริกาตั้งอยู่ระหว่างประมาณละติจูด 37 องศาเหนือ ถึง 34 องศาใต้ ลองจิจูด 51 องศาตะวันออกถึง 17 องศาตะวันตก โดยมีเส้นศูนย์สูตรผ่านกลางทวีป ทำให้ครึ่งหนึ่งของทวีปแอฟริกาอยู่ทางซีกโลกเหนือและอีกครึ่งหนึ่งอยู่ทาง ซีกโลกใต้ ทวีปแอฟริกา เป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากทวีปเอเชีย ทั้งในแง่ของพื้นที่และจำนวนประชากร ด้วยพื้นที่ประมาณ 30.2 ล้านตารางกิโลเมตร (11.7 ล้านตารางไมล์) รวมทั้งเกาะต่าง ๆ ที่อยู่ข้างเคียง ทวีปแอฟริกามีพื้นที่ประมาณร้อยละ 6 ของพื้นผิวโลกทั้งหมด และนับเป็นพื้นที่ประมาณร้อยละ 20.4 ของพื้นดิน ทวีปแอฟริกา เป็นทวีปที่ไม่ค่อยมีคาบสมุทร และอ่าว พื้นที่ประมาณ 2 ใน 3 เป็นที่ราบสูง โดยเฉพาะทางภาคตะวันออกของทวีป เป็นที่ราบสูงโดยเฉลี่ยประมาณ 1,500 – 2,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีแนวภูเขาไฟที่ดับแล้ว มีแนวทะเลสาบขนาดใหญ่ แล้วจะลาดต่ำไปทางตะวันตก มีเกาะมาดากัสการ์ ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของทวีปส่วนพื้นที่ ที่เป็นที่ราบอย่างแท้จริงนั้น มีอยู่น้อย มักจะเป็นที่ราบแคบๆ บริเวณขอบทวีป

ลักษณะภูมิประเทศ

  1. เขตภูเขาโก่งตัวยุคใหม่ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ได้แก่บริเวณเทือกเขา แอตลาสที่ราบสูง หุบเขา และที่ราบชายฝั่งทะเลที่อุดมสมบูรณ์ ส่วนบริเวณด้านใต้ของเทือกเขาแอตลาสคือทะเลทรายสะฮารา

    
            
                                                                                              เทือกเขาแอตลาส                      ทะเลทรายสะฮารา

2.เขตที่ราบสูง ภูเขาภาคตะวันออกและภาคใต้              

          เขตที่ราบสูงและภูเขาสูงทางภาคตะวันออก เป็นเขตที่มีความ สูงมาก เต็มไปด้วยภูเขาไฟที่ยังคุกรุ่นและดับแล้ว มียอดเขา คิลิมานจาโร เป็นยอดเขาสูงสุด       ในทวีป ทางตะวันออกมีแอ่งแผ่นดิน ที่ทรุดต่ำกลายเป็นทะเลสาบอยู่หลายแห่ง เช่นทะเลสาบวิกตอเรีย ซึ่งเป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่เป็นที่ 2 ของโลก เป็นต้น

           เขตภูเขาและที่ราบสูงภาคใต้ เป็นที่ราบสูงหินแกรนิต อยู่ระหว่าง แม่น้ำวาล และแม่น้ำลิมโปโป เรียกว่า เดอะแรนด์ มีเทือกเขาดราเกนสเบอร์ก เป็นบริเวณสูงสุดอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ ทิศตะวันตกมีทะเลทรายคาลาฮารี และทะเลทรายนามิบ

3.เขตที่ราบสูงภาคตะวันตก เป็นที่ราบกว้างใหญ่มีอาณาเขตตั้งแต่ทะเลทรายสะฮาราถึงอ่าวกินี เขตนี้เป็นที่ราบสูงหินเก่า โดยมีพื้นที่ผิวปกคลุมด้วยหิน กรวด ปูน ทราย และดินตะกอน ภูเขาที่สำคัญในเขตนี้ได้แก่ ภูเขาอะฮักการ์ทางตอนใต้ของประเทศแอลจีเรีย ภูเขาทีเบสต์ในประเทศชาด ซึ่งเป็นสภาพภูมิประเทศที่มีส่วนช่วยให้เกิดฝนตกในเขตทะเลทราย ทางใต้ของเขตนี้มีที่ราบสูงหลายแห่ง เช่น ที่ราบสูงกินี ที่ราบสูงจอส ที่ราบสูงแคเมอรูน เป็นต้น

4.เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำ ระหว่างที่ราบสูงต่างๆ จะมีแม่น้ำสายสำคัญไหลผ่าน ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดจากที่สูงตอนในของทวีป และไหลลงสู่ทะเลโดยรอบ มีลักษณะเป็น ที่ราบแคบๆ ลุ่มแม่น้ำ และบางตอนเต็มไปด้วยแก่งหินและน้ำตก ทำให้กระแสน้ำ ไหลแรง ไม่มีประโยชน์ด้านการคมนาคม แต่สามารถใช้ประโยชน์ด้านการผลิต กระแสไฟฟ้า แอฟริกามีที่ราบลุ่มแม่น้ำขนาดใหญ่ 4 เขต คือ

4.1 ที่ราบลุ่มแม่น้ำไนล์ ทางตอนเหนือของทวีป ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศ อียิปต์และซูดาน แม่น้ำไนล์ เป็นแม่น้ำสายที่ยาวที่สุดในโลก คือ 6,695 กิโลเมตร เกิดจากภูเขาสูงด้านตะวันออกไหลลงสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางเหนือ

4.2 ที่ราบลุ่มแม่น้ำคองโก เกิดจากเทือกเขาด้านตะวันออก ไหลผ่าน ตอนกลางทวีปเขตศูนย์สูตร ประเทศซาอีร์ คองโก มีเกาะแก่ง และน้ำตกมาก เนื่องจากไหลผ่านที่ราบสูง หลายแห่งออกสู่มหาสมุทรแอตแลนติก มีความยาวเป็นลำดับที่ 2 ของทวีปแอฟริกา และยาวเป็นลำดับที่ 7 ของโลก

4.3 ที่ราบลุ่มแม่น้ำไนเจอร์ อยู่ในเขตประเทศมาลี ไนเจอร์ และไนจีเรีย แม่น้ำไนเจอร์เกิดจากภูเขาและที่สูงทางตะวันตกเป็นแม่น้ำที่ไหลผ่านที่ราบลุ่มอันกว้างขวาง บางตอนมีลักษณะเป็นที่ราบต่ำ มีน้ำแช่ขังเป็นที่ชื้นแฉะ ใช้เพาะปลูกไม่ได้ มีความยาวเป็นลำดับที่ 3 ของทวีปแอฟริกา

4.4  ที่ราบลุ่มแม่น้ำแซมเบซี อยู่ในเขตประเทศแองโกลาและแซมเบีย บอตาสวานา ซิมบับเว เป็นแม่น้ำทางภาคใต้มีความยาวเป็นลำดับที่ ของทวีป ไหลลงสู่มหาสมุทรอินเดียที่ประเทศโมซัมบิก เป็นแม่น้ำที่ไหลผ่านที่ราบสูงและไหลเชี่ยวมาก ที่ราบลุ่มแม่น้ำนี้จึงมีเป็นบริเวณแคบๆ แม่น้ำในทวีปแอฟริกา มักมีแก่งน้ำตก (Cataract) และน้ำตกขนาดใหญ่ กั้นขวางลำน้ำอยู่เป็นตอนๆ เนื่องจากไหลผ่านบริเวณที่ราบสูง ทำให้เกิดการกัดเซาะได้รวดเร็ว เช่นแเม่น้ำไนล์ มีแก่งน้ำตกกั้นขวางลำน้ำทางตอนใต้ของประเทศอียิปต์ กับทางตอนเหนือของซูดาน รวม แห่ง และแม่น้ำคองโกมีแก่งน้ำตกกั้นขวางลำน้ำ แห่ง น้ำตกขนาด ใหญ่ที่มีชื่อเสียง ได้แก่ น้ำตกโบโยมา (น้ำตกสแตนลีย์) ในแม่น้ำคองโก และน้ำตกวิกตอเรียในแม่น้ำแซมเบซี

ภูมิอากาศและพืชพรรนธรรมชาติ

1. ภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้น (Tropical Rainforest Climate) เป็นเขตที่มีอากาศร้อนและฝนตกชุกพืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าทึบ หรือป่าดงดิบ ได้แก่ บริเวณชายฝั่งรอบอ่าวกินี ลุ่มแม่น้ำคองโก เขตที่สูงในแอฟริกาตะวันออก และฝั่งตะวันตกของเกาะมาดากัสการ์

2. ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา (Savanna Climate) เป็นเขตอากาศที่มีฝนตกชุกในฤดูร้อนและแห้งแล้งในฤดูหนาว พืชพรรณธรรมชาติเป็นต้นไม้สลับทุ่งหญ้า ได้แก่ บริเวณตอนเหนือและตอนใต้ของแนวศูนย์สูตร ซึ่งอยู่รอบๆ เขตป่าดิบชื้น

3. ภูมิอากาศแบบทะเลทราย (Desert Climate) เป็นเขตที่มีอากาศร้อนและแห้งแล้งมากที่สุด มีฝนตกน้อยกว่า 10 นิ้วต่อปี พืชพรรณธรรมชาติมีอยู่บ้าง เช่น อินทผลัม ตะบองเพชร ได้แก่ บริเวณตอนเหนือของทวีป มีทะเลทรายสะฮาราและทะเลทรายลิเบีย ซึ่งมีอาณาเขตต่อเนื่องกัน มีเนื้อที่ประมาณ 9 ล้านตารางกิโลเมตร หรือประมาณร้อยละ 30 ของเนื้อที่ทั้งทวีป และเป็นเขตทะเลทรายที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก ส่วนทางตอนใต้มีทะเลทรายคาลาฮารี และทะเลทรายนามิบ

4. ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย (Steppe Climate) เป็นเขตที่มีอากาศไม่แห้งแล้งมากเหมือนในเขตทะเลทราย มีฝนตกไม่เกิน 15 นิ้วต่อปี พืชพรรณธรรมชาติ เป็นทุ่งหญ้าสั้น(สเตปป์) ได้แก่ บริเวณตอนกลางของทวีปและตอนใต้ของเส้นศูนย์สูตรระหว่างละติจูด 10-30 องศาใต้ ด้านชายฝั่งตะวันตกของทวีป

5. ภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean Climate) เป็นภูมิอากาศเย็นสบายตลอดปี ฤดูร้อนอากาศค่อนข้างร้อนและแห้งแล้ง มีแดดจัด ฤดูหนาวอบอุ่นและมีฝนตกค่อนข้างชุก ภูมิอากาศแบบนี้มีอยู่ 2 บริเวณ คือ ทางตอนเหนือที่เรียกว่า ชายฝั่งบาร์บารี ได้แก่ บริเวณชายฝั่งของประเทศโมร็อกโก ตูนิเซีย กับทางตอนใต้ ได้แก่ คาบสมุทรภาคใต้ของสาธารณรัฐแอฟริกาใต้

6. ภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น (Humid Subttropical Climate) เป็นภูมิอากาศชื้นกึ่งร้อน เป็นเขตที่มีฝนตกมากในฤดูร้อน ฤดูหนาวอากาศอบอุ่น เนื่องจากมีกระแสน้ำอุ่นโมซัมบิกไหลผ่าน พบในบริเวณชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ และภาคใต้ของประเทศโมซัมบิก

ลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรม

1. ประชากร

   1. เชื้อชาติ ประชากรในทีปแอฟริกาจำแนกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 2 กลุ่ม คือ            

    พวกผิวดำ เป็นเผ่าพันธุ์พื้นเมืองดั้งเดิมของทวีปแอฟริกา ที่เรียกว่า นิโกร และเป็นประชากรส่วนใหญ่ของทวีปนี้ มีลักษณะเด่นที่ผิวสีดำผมสีดำและหยิกหยอย พวกนิโกรในแอฟริกามี

อยู่หลายกลุ่มและแต่ละกลุ่มมีลักษณะแตกต่างกัน เช่น เผ่าวาตูซี มีรูปร่างสูงใหญ่ เผ่าปิ๊กมี เป็นเผ่าพันธุ์มนุษย์ที่เตี้ยที่สุด เผ่า บุชแมน มีรูปร่างเล็ก เป็นต้น

 
 

    พวกผิวขาว พวกผิวขาวที่เป็นเผ่าพันธุ์ดั้งเดิมของทวีปแอฟรกาส่วนใหญ่อยู่ทางตอนเหนือของทวีปได้แก่พวก อาหรับและเบอร์เบอร์ ส่วนพวกผิวขาวกลุ่มใหม่ที่อพยพไปจากยุโรปนิยม

ตั้งถินฐานในเขตอบอุ่นทางตอนใต้ของทวีป โดยเฉพาะในประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้มีประมาณ 7 ล้านคน นอกจากนี้ยังมีพวกผิวขาวจากปากีสถานและอินเดีย ซึ่งอพยพเข้าไป

อาศัยอยู่ทางภาคตะวันออกของทวีป    

 

   2.  ภาษา ในทวีปแอฟริกามีภาษาพูดอยู่ไม่น้อยกว่า 1,000 ภาษา ทั้งนี้เนื่องจากเป็นทวีปที่มีประชากรอยู่หลายเผ่าพันธุ์ แต่อาจแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม

       1) กลุ่มภาษาเซมิติก ได้แก่ ภาษาอาหรับ เป็นภาษาของคนส่วนใหญ่ในแอฟริกาเหนือ และบางส่วนในแอฟริกาตะวันออก ส่วนกลุ่มภาษาเซมิติกของชาวยุโรปเป็นภาษาของเจ้าอาณานิคมที่เข้ามาปกครอง เป็นภาษที่ใช้กันแพร่หลายเมื่อไม่นานมานี้ ได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาอังกฤษ และภาษาดัตช์

       2) กลุ่มภาษาซูดาน เป็นภาษาของประชากรในประเทศต่างๆ ซึ่งตั้งอยู่ในเขตทุ่งหญ้าสะวันนาทางตอนใต้ของทะเลทรายสะฮารา

       3) กลุ่มภาษาบันตู เป็นภาษาของประชากรในประเทศต่างๆ ซึ่งตั้งอยู่ทางภาคกลางและภาคตะวันออกของทวีป รวมทั้งบางประเทศที่อยู่ทางตอนใต้ด้วย

       4) กลุ่มภาษาเฮาซา เป็นกลุ่มภาษาทางการค้าของประชากรทางภาคตะวันตกของทวีป

  3. ศาสนา               ประชากรส่วนใหญ่ในทวีปแอฟริกายังมีความเชื่อและปฏิบัติตามความเชื่อนั้นสืบ ต่อกันตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษมาหลายชั่วอายุคน เช่น เรื่องจิตวิญญาณ อำนาจของ

ดวงดาว ภูเขา ต้นไม้ สิ่งมหัศจรรย์ เป็นต้น ส่วนศาสนาที่นับถือกันมาก ได้แก่ ศาสนาคริสต์ มีผู้นับถือมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ศาสนาอิสลาม นอกจานี้ยังมีชาวอินเดียที่อพยพเข้ามา

ใหม่นับถือศาสนาฮินดูและศาสนายิงก็มี ผู้นับถืออยู่บ้าง

 
 

4.การศึกษา   แอฟริกาเป็นทวีปที่ยากจนและด้อยพัฒนาทางด้านวิทยาการสมัยใหม่ และความก้าวหน้าในโลกปัจจุบัน จะเป็นเครื่องกระตุ้นให้ประชากรและรัฐบาลของประเทศต่างๆต้องยกระดับและขยายการศึกษาให้ทั่วถึงcต่การขาดแคลนทรัพยากรมนุษย์และอัตคัตขัดสนทางด้านเศรษฐกิจไปเกือบทุกประเทศย่อมเป็นอุปสรรคสำคัญในการัฒนาการศึกษา นั่านคือประเทศที่ยากจนอัตราส่วนการรู้หนังสือของประชากรจะต่ำเช่น ประเทศเอธิโอเปีย มาลี และไมเจอร์ซึ่งเป็นประเทศที่   ยากจน มากมีผู้อ่านออกเขียนได้เพียงร้อยละ 24,25 และ 28 ตามลำดับ ขณะที่ประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้และแทนซาเนียซึ่งมีสภาพ เศรษฐกิจดีกว่าประเทศทั้ง 3 นี้ มีอัตราส่วนของผู้รู้หนังสือสูงถึงร้อยละ 60และ85เป็นต้น

 

  5. การกระจายและความหนาแน่นของประชากร  พ.ศ.2541 ทวีปแอฟริกามีประชากรประมาณ 762.4 ล้านคน หรือประมาณร้อยละ 13 ของประชากรโลก แต่อาศัยอยู่ในดินแดนที่มีเนื้อที่ประมาณ ร้อยละ 20 ของโลกเฉลี่ยความหนาแน่นประมาณ 25.4 คนต่อตารางกิโลเมตรเขตที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น ได้แก่ บริเวณที่มีสภาพแวดล้อมธรรมชาติส่งเสริมต่อการตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัย คือ มีความชื้นเพียงพอ มีดินอุดมสมบูรณ์และมีอากาศไม่ร้อนจัดเกินไป ได้แก่

1) ที่ราบลุ่มแม่น้ำไนล์ ในประเทศอียิปต์ เป็นแหล่งที่มีน้ำและดินอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก

2) ที่ราบลุ่มแม่น้ำไนเจอร์และชายฝั่งอ่าวกินี ได้แก่ บริเวณชายฝั่งตั้งแต่ประเทศแกมเบียถึงคองโก เป็นบริเวณที่ได้รับอิทธิพลจากทะเล อากาศจึงไม่ร้อนจัดจนเกินไป มีความชื้นเพียงพอมีที่ราบชายฝั่งเป็นแนวยาว และมีที่ราบลุ่มแม่น้ำไนเจอร์เป็นแหล่งที่มีดินอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การอยู่ อาศัยและประกอบอาชีพเกษตรกรรม

3) ที่ราบสูงภาคตะวันออก ได้แก่ บริเวณประเทศเอธิโอเปีย ยูกันดา เคนยา และแทนซาเนีย เป็นเขตที่มีอากาศไม่ร้อนจัดเกินไปเพราะเป็นบริเวณที่ราบสูง มีพืชพรรณธรรมชาติเป็นทุ่งหญ้าเหมาะแก่การเลี้ยงสัตว์และอากาศอบอุ่นสบาย

4) คาบสมุทรภาคใต้ ในเขตประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ มีอากาศอบอุ่นและมีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การตั้งถิ่นฐานอยู่ อาศัยและประกอบอาชีพ เขตที่มีประชากร

อาศัยอยู่เบาบาง ได้แก่ ดินแดนที่ทุรกันดารและเป็นอุปสรรคต่อการดำรงชีพ มีอากาศแห้งแล้งและมีอากาศร้อนมากตลอดปี เช่น บริเวณทะเลทรายสะฮารา ทะเลทรายคาลาฮารี และเ

ขตที่มีปริมาณน้ำฝนสูงและตกชุกตลอดปีเป็นที่ชื้นแฉะ พืชพรรณเป็นป่าดงดิบ เช่น แถบลุ่มแม่น้ำคองโก พื้นที่ชายฝั่งอ่าวกินี เป็นต้น

เศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่

   1. การเพาะปลูก   การเพาะปลูกของทวีปแอฟริกามีผลผลิตแต่ละปีได้ไม่เพียงพอแก่การบริโภคภายใน ทวีป จึงต้องสั่งเข้าจากส่วนอื่นของโลก ลักษณะการเพาะปลูกมีความแตกต่าง

กันไปตามสภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศ คือ

      1) เขตร้อนชื้น ได้แก่ แอฟริกาตะวันตก ลุ่มแม่น้ำคองโกและชายฝั่งแอฟริกาตะวันออกมีอากาศร้อนชื้น เป็นแหล่งเพาะปลูกพืชเมืองร้อน เช่น โกโก้ ปลูกมากที่สุด ประเทศกานาเป็น

ประเทศที่ส่งเมล็ดโกโก้ออกจำหน่ายมากที่สุดในโลก พืชสำคัญอื่นๆ ได้แก่ เผือก มัน ปาล์มน้ำมัน กาแฟ ถั่วลิสง อ้อย ยางพารา

                  

                                                                                                     กาแฟ                                                         โกโก้

      2) เขตลุ่มน้ำไนล์ มีอากาศร้อนและแห้งแล้งแต่ได้รับน้ำจากการชลประทาน พืชสำคัญได้แก่ ฝ้าย ชา อินทผลัมและข้าวฟ่าง

      3) เขตเมดิเตอร์เรเนียน ได้แก่ ตอนเหนือสุดและใต้สุดของทวีป มีการปลูกพืชผลเมดิเตอร์เรเนียน เช่น ส้ม องุ่น มะกอก ข้าวสาลี เป็นต้น

      4). เขตอบอุ่นชื้น ได้แก่ ทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีป มีการปลูกข้าวสาลี ข้าวโพด และไม้ผล

  2. การเลี้ยงสัตว์   เป็นอาชีพที่พบมากที่สุด เพราะแอฟริกาเป็นทวีปที่มีเขตทุ่งหญ้ากว้างขวาง แต่การเลี้ยงสัตว์ก็ประสบปัญหาสำคัญ คือ ทุ่งหญ้าอันกว้างใหญ่ทางตอนใต้ของทะเล

  ทรายสะฮารามีการเลี้ยงสัตว์มากเกินไป เป็นการทำลายทุ่งหญ้าอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ส่วนในเขตร้อนทางภาคกลางของทวีปมีแมลงเซตซี (Tsetse fly) ที่เป็นพาหะแพร่เชื้อโรคเหงา

หลับ (Sleeping sickness) เข้าสู่สัตว์เลี้ยงจนบางแห่งไม่สามารถเลี้ยงสัตว์ได้   สัตว์เลี้ยงสำคัญของทวีปแอฟริกา ได้แก่

– โคพันธุ์พื้นเมือง เป็นโคเขายาวที่นิยมเลี้ยงกันทางภาคตะวันออกและภาคใต้ของทวีป การเลี้ยงโคของชาวแอฟริกานอกจากเพื่อใช้แรงงานและใช้เนื้อเป็นอาหารแล้ว ยังแสดงถึงฐานะ

ทางสังคมด้วย กล่าวคือ ผู้มีจำนวนโคมากแสดงถึงความมีฐานะดีและเป็นผู้มีหน้ามีตาในสังคม

– โคพันธุ์ต่างประเทศ เป็นโคที่นำมาจากต่างประเทศเลี้ยงไว้ เพื่อใช้เนื้อและนม เลี้ยงกันมากทางตอนใต้และตอนเหนือของทวีป ในเขตอากาศอบอุ่นชื้นและเขตเมดิเตอร์เรเนียน

– แพะและแกะ ชาวแอฟริกานิยมเลี้ยงแบบเร่ร่อน ซึ่งพบในทุกประเทศที่มีลักษณะอากาศแบบทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย

– อูฐ เป็นสัตว์เลี้ยงในเขตแห้งแล้ง เพื่อใช้เป็นสัตว์พาหนะและใช้เนื้อเป็นอาหาร

– ลา เลี้ยงไว้เป็นสัตว์พาหนะในเขตทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย

      
 
 

  3. การล่าสัตว์   แอฟริกาเป็นทวีปที่สัตว์ป่าชุกชุมและมีมากมายหลายชนิด ชนพื้นเมืองดั้งเดิมของแอฟริกา เช่น พวกปิกมี่ แถบลุ่มแม่น้ำคองโก และพวกบุชแมน ในเขตทะเลทรายคาลาฮารี ยังดำเนินชีวิตโดยการล่าสัตว์ป่าเอาไปขาย สินค้าจากป่าแอฟริกาที่ต่างชาติสนใจ ได้แก่ งาช้าง และนอแรด ต่อมาต่างชาติโดยเฉพาะชาวยุโรปนิยมเดินทางไปล่าสัตว์ในแอฟริกามากขึ้น จึงทำให้จำนวนสัตว์ป่าลดลงอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันประเทศต่างๆ ในแอฟริกาจึงได้จัดทำเขตรักษาพันธุ์สัตว์แห่งชาติ เช่น ประเทศเคนยา เอธิโอเปีย เป็นต้น และเปิดโอกาสให้ชาวต่างชาติเข้าชมโดยจ่ายเงินค่าธรรมเนียมแก่รัฐบาล  ที่รู้จักกันในชื่อ ซาฟารี (Safari) แต่ปัจจุบันทุกประเทศต่างมีนโยบายอนุรักษ์สัตว์ป่า ทำให้ซาฟารีหมดความสำคัญไป

 

  4. การประมง   การประมงไม่ได้เป็นอาชีพสำคัญของชาวแอฟริกาจะมีบ้าง ได้แก่ การจับปลาเล็กๆ น้อยๆในแม่น้ำต่างๆ ส่วนการประมงน้ำเค็มมีน้อยมาก แหล่งจับปลาน้ำเค็ม ได้แก่ 

น่านน้ำชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ โดยมีประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้เป็นประเทศที่จับปลาได้มากที่สุดในแอฟริกา

 

5.การทำป่าไม้ เขตที่มีความสำคัญในการทำป่าไม้แอฟริกา คือ บริเวณทางชายฝั่งอ่าวกินี และบริเวณลุ่มแม่น้ำคองโก เป็นแหล่งที่มีป่าไม้อยู่มากและอยู่ใกล้ทะเล ซึ่งสามารถขนส่งได้ง่าย กับเขตที่ราบสูงของแอฟริกาตะวันออก

 

 6. การทำเหมืองแร่ แร่ที่สำคัญของแอฟริกา ได้แก่ เพชร ทองคำ ยูเรเนียม ถ่านหิน ใยหิน เหล็ก แมงกานีส ทองแดง ดีบุก บอกไซต์ และฟอสเฟต มีแหล่งผลิตดังนี้

     1) เพชร แหล่งเพชรที่สำคัญ ได้แก่ สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ นามิเบีย บอตสวานา ซิมบับเว และโมซัมบิก

     2) ทองคำ ประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ซิมบับเว กานา ผลิตทองคำได้มากกว่าครึ่งหนึ่งของโลก แหล่งสำคัญอยู่ที่วิตวอเตอร์สแรนด์ในสาธารณรัฐแอฟริกาใต้

     3) ถ่านหิน มีในรัฐทรานสวาล และนาทาลในสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ เป็นแหล่งสำคัญที่สุดในแอฟริกา

     4) น้ำมันดิบและแก๊สธรรมชาติ มีในเขตทะเลทรายสะฮารา ได้แก่ ลิเบีย ไนจีเรีย แอลจีเรีย อียิปต์

     5) เหล็ก พบมาในเขตที่ราบสูงมาลาวี ซิมบับเว โมร็อกโก แต่มีปริมาณไม่มาก

     6) ทองแดง พบมากในแคว้นคาดังกา ประเทศซาอีร์ ผลิตได้มากที่สุดในแอฟริกา

  7. การอุตสาหกรรม   แอฟริกาเป็นทวีปที่มีความล้าหลังทางด้านอุตสาหกรรม ประเทศที่มีความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรม คือสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ประเทศที่มีผลผลิตทางด้านอุตสาหกรรมทำรายได้เข้าประเทศบ้าง ได้แก่ ซิมบับเว   สวาซิแลนด์ โมร็อกโก เซเนกัล ส่วนประเทศที่เป็นแหล่งอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ได้แก่ ตูนิเซีย โมร็อกโก อียิปต์ เคนยา แอลจีเรีย

  8.การค้ากับต่างประเทศ  การค้าระหว่างประเทศต่างๆ ในแอฟริกากับภูมิภาคอื่นของโลก ส่วนใหญ่เป็นฝ่ายเสียเปรียบดุลการค้า จะมีประเทศที่ได้เปรียบดุลการค้าบ้างก็เฉพาะประเทศผู้ผลติน้ำมันและแก๊ส ธรรมชาติ กับประเทศโกตดิวัวร์และรวันดาเท่านั้น ที่ได้ดุลการค้าในการค้าขายกับต่างประเทศ ลักษณะการค้ากับต่างประเทศ ดังนี้

       1) สินค้าออก ที่สำคัญได้แก่ น้ำมันดิบ แก๊สธรรมชาติ อาหาร ยาสูบ และวัตถุดิบต่างๆ ตลาดรับซื้อสินค้าจากแอฟริกา ได้แก่ กลุ่มสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และประเทศต่างๆในยุโรปตะวันออก

        2) สินค้าเข้า ที่สำคัญได้แก่ เครื่องจักรกล ยานยนต์ อุปกรณ์การขนส่งสินค้าจากโรงงานอุตสาหกรรม น้ำมันดิบ และแก๊สธรรมชาติ แหล่งที่ส่งสินค้าเข้าสู่แอฟริกา ได้แก่ กลุ่มสหภาพยุโรป กลุ่มโอเปค สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น

  9. การคมนาคม ทวีปแอฟริกาเป็นทวีปที่มีความล้าหลังทางการคมนาคมขนส่งมากกว่าทุกทวีป ทั้งเพราะประเทศ   ส่วนใหญ่ยากจน ไม่มีเงินทุนเพียงพอที่จะนำมาพัฒนาในด้านนี้ และนอกจากนี้ทวีปแอฟริกายังมีลักษณะภูมิประเทศและสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการคมนาคมขนส่งด้วย

       

      

 1) ทางบก นอกจากความขาดแคลนทางด้านเศรษฐกิจแล้ว แอฟริกายังมีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นอุปสรรคต่อการสร้างถนนและทางรถไฟ เพราะภูมิประเทศเป็นที่ราบสูง และมีเขตทะเลทรายอันกว้างขวางทางตอนเหนือและตอนใต้ เป็นบริเวณที่ไม่มีค่าทางเศรษฐกิจและแทบไม่มีประชากรอาศัยอยู่ การสร้างเส้นทางคมนาคมในเขตนี้จึงไม่คุ้มค่ากับการลงทุน ส่วนเขตแม่น้ำคองโกทางภาคกลางเป็นเขตที่ราบลุ่มที่ปกคลุมด้วยป่าดิบอันกว้าง ขวาง ก็เป็นอุปสรรคต่อการก่อสร้างเส้นทางคมนาคมขนส่ง ทั้งยังประชากรอาศัยอยู่เบาบางมาก พื้นที่ดังกล่าวจึงแทบไม่มีถนนอยู่เลย   แอฟริกาเป็นทวีปที่ไม่มีถนนหรือทางรถไฟสายยาวข้ามทวีปเหมือนทวีปอื่นๆ บริเวณที่มีเส้นทางคมนาคมขนส่งทางบกอยู่บ้าง ก็มักเป็นเส้นทางสายสั้นๆ ได้แก่ ประเทศต่างๆที่ตั้งอยู่ใกล้ชายฝั่งทะเลโดยเฉพาะสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ มีเส้นทางคมนาคมขนส่งหนาแน่นกว่าทุกประเทศ

    
       2) ทางน้ำ เส้นทางคมนาคมทางทะเลมีความสำคัญต่อแอฟริกามาก ทั้งนี้เพราะแอฟริกาตั้งอยู่ในเส้นทางเดินเรือระหว่างทวีปยุโรปกับทวีป เอเชีย และทวีปยุโรปกับทวีปออสเตรเลีย หลายประเทศในทวีปนี้ ได้มีการปรับปรุงเมืองท่าน้ำลึกให้เรือสินค้าและเรือเดินสมุทรเข้าเทียบท่า ได้ และกลายเป็นเมืองท่าขนาดใหญ่หลายเมือง เช่น อะเล็กซานเดรีย ในอียิปต์ เคปทาวน์ในสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ คาซาบลังกาในโมร็อกโก มันโรเวียในไลบีเรีย เป็นต้น
 

        3) ทางอากาศ แอฟริกาเป็นทวีปมีสายการบินที่ใช้ติดต่อกันทั้งภายในทวีปและระหว่างทวีป ศูนย์กลางคมนาคมทางอากาศ ได้แก่ ไคโรในอียิปต์ คาร์ทูมในซูดาน แอลเจียร์ในแอลจีเรีย ไนโรบีในเคนยา ลากอสในไนจีเรีย โจฮันเนสเบิร์กและเคปทาวน์ในสาธารณรัฐแอฟริกาใต้