หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 ปัญหาสุขภาพในชุมชน

หน่วยการเรียนรู้ที่ 9 พฤติกรรมเสี่ยงที่มีผลต่อสุขภาพ?

ปัจจัยเสี่ยงและพฤติกรรมเสี่ย เป็นสิ่งที่พบเห็นได้ทั่วไปงต่างๆ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 10 การแก้ไขปัญหาการใช้ความรุนแรงของเยาวชน

หน่วยการเรียนรู้ที่ 11 วิธีหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรง

หน่วยการเรียนรู้ที่ 12 หลักการช่วยฟื้นคืนชีพ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 13 การวางแผนการสร้างเสริมสุขภาพ (อินเทอร์เนต)

แบบสอบถามความพึงพอใจ

8.2 แนวทางแก้ไขปัญหาสุขภาพในชุมชน

         

   (1.) ควบคุมอัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร โดยการคุมกำเนิดเพื่อให้ลดลงเหลือร้อยละไม่เกิน 1.0 จะทำให้ประเทศไทยมีประชากรไม่มากจนเกินไป การบริการด้านสุขภาพของภาครัฐและเอกชน ก็จะสามารถตอบสนองความต้องการได้เพียงพอและทั่วถึงมากยิ่งขึ้น

           (2.) การปรับปรุงสภาพแวดล้อม โดยจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ จัดการสุขาภิบาล สิ่งแวดล้อมเพื่อลดปัญหามลพิษต่างๆ เช่น อากาศเสีย น้ำเสีย เสียงดัง ขยะมูลฝอย และสิ่งปฏิกูล

           (3.) เน้นกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพให้มากขึ้น ปัจจุบันภาครัฐได้มีการส่งเสริมสุขภาพมากกว่าแต่ก่อน เช่น การส่งเสริมให้ประชาชนออกกำลังกายเป็นประจำ ส่งเสริมให้ประชาชนรู้จักเลือกบริโภคอาหาร และควบคุมในเรื่องของอาหารที่เป็นพิษภัยต่อสุขภาพ เพราะการป้องกันนั้นดีกว่าการแก้ไข ถ้าประชาชนรู้จักดูแลรักษาสุขภาพของตนเองให้ดี ก็จะลดความเจ็บป่วยและอุบัติภัยต่างๆได้ เป็นต้น

          (4.)  จัดสวัสดิการในการรักษาพยาบาลแก่ผู้ที่ยากจนหรือผู้ที่ด้อยโอกาส ปัจจุบันรัฐบาลได้ดำเนินโครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ที่ยากจนหรือด้อยโอกาสมีโอกาสเข้ารับการรักษาพยาบาลกับ สถานพยาบาลของรัฐและของเอกชนบางแห่งที่เข้าร่วมโครงการ

        (5.)   เพิ่มงบประมาณด้านสาธารณสุข โดยเพิ่มทั้งด้านการซื่อยา เครื่องมือแพทย์ เวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ การสร้างสถานพยาบาลต่างๆ และการผลิตบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งได้มีการกำหนดไว้ในแผนพัฒนาสุขภาพฉบับที่ 9 ว่าควรจะมีอัตราส่วนของบุคลากรทางการแพทย์ต่อประชากรในชนบทไม่เกิน 1 ต่อ 6,000 คน เมื่อสิ้นแผน

        (6.)   ต้องกระจายบุคลากรทางแพทย์ให้ทั่วถึง ปัจจุบันในตัวเมืองมีอัตราของแพทย์มากกว่าในชนบท ควรมีการให้แรงจูงใจแก่แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ที่ทำงานในชนบท เช่น ค่าตอบแทน สวัสดิการ เป็นต้น เพราะแพทย์ที่อยู่ในชนบทมีโอกาสที่จะหารายได้ได้น้อยกว่าแพทย์ที่อยู่ในตัวเมือง

        (7.)การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน ต้องให้การศึกษาแก่ประชาชนและส่งเสริมให้ประชาชนลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ มีสุขนิสัยและสุขปฏิบัติที่ดี ในเรื่องนี้ถ้าทำได้ดีก็จะช่วยแก้ไขปัญหาสุขภาพได้อย่างมาก