หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 ปัญหาสุขภาพในชุมชน

หน่วยการเรียนรู้ที่ 9 พฤติกรรมเสี่ยงที่มีผลต่อสุขภาพ?

ปัจจัยเสี่ยงและพฤติกรรมเสี่ย เป็นสิ่งที่พบเห็นได้ทั่วไปงต่างๆ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 10 การแก้ไขปัญหาการใช้ความรุนแรงของเยาวชน

หน่วยการเรียนรู้ที่ 11 วิธีหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรง

หน่วยการเรียนรู้ที่ 12 หลักการช่วยฟื้นคืนชีพ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 13 การวางแผนการสร้างเสริมสุขภาพ (อินเทอร์เนต)

แบบสอบถามความพึงพอใจ

11.2 สื่อและพฤติกรรมต่อความรุนแรงของสุขภาพ

ผลกระทบจากสื่อ

 
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าสื่อนั้นมีอิธิพลอย่างหนักกับทุกสังคมในทุกยุคทุกสมัย ไม่ว่าจะเป็นการทำสงครามหรือความเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ใดๆ ก็มักจะมีสื่อเป็นแรงขับหรือปัจจัยสำคัญอยู่เสมอ หรือแม้แต่การเรียนการสอนประวัติศาสตร์ ก็มักจะใช้สื่อจากยุคสมัยนั้นเป็นสื่อการสอนและเป็นหลักฐานสำคัญ นี้แสดงให้เห็นว่า สื่อนั้น นอกจากจะเป็นเครื่องมือในการชักนำและกระจายข่าว ยังเป็นสิ่งที่สะท้อนสังคมอีกด้วย จึงเป็นที่น่าเป็นห่วงว่า ความเสื่อมโทรมที่มีให้เห็นในสังคมปัจจุบัน กำลังถูกสะท้อนออกมาผ่านสื่อหรือเป็นตัวสื่อเอง ที่ส่งผลให้สังคมเป็นเช่นนี้กัน
 
ปัญหาแรก คือ ความเหลือมล้ำทางสังคม ระหว่างชายหญิง เช่นปัญหาการทุบตีภรรยา การข่มขืน หรือแม้แต่ภาพพจน์ที่โด่งดังของประเทศไทยในฐานะแหล่งค้าบริการทางเพศใหญ่ สอดคล้องกับภาพพจน์ของผู้หญิงในสื่ออย่างละครไทยที่ไม่เคยเปลี่ยนไปไหน ไม่ว่าเวลาจะพาสังคมพัฒนาไปเท่าไหร่ จะต้องสวย ถูกรังแก ยอมคน หรือแม้แต่ถูกข่มขืน “แม้ละครจะมีการนำเสนอเรื่องเกี่ยวกับผู้หญิงมากขึ้น แต่ภาพการนำเสนอก็ยังเป็นแบบเดิมๆ คือภาพลักษณ์ของการเป็นแม่, ภรรยา และเรื่องความงาม…….คนดูจะชอบ เพราะมองผู้หญิงเป็นสัตว์โลกแสนสวย” อย่างที่ ผศ.เอกธิดา เสริมทอง กล่าวไว้ในการเสวนาเรื่อง “เขียนชีวิต พลิกบทบาทผู้หญิงไทยในละคร การรื้อสร้างภาพตายตัวและมายาคติ” โดยสังเกตได้ว่าที่ผ่านมาละครทีวีที่โด่งดังจนเป็นที่พูดถึงจะมีแก่นเรื่อง เป็นเรื่องของผู้หญิงที่ตบตีแย่งผู้ชายกัน
 

ปัญหาทางเพศนี้มีส่วนมาจากค่านิยมเกี่ยวกับการแสดงออกในเรื่องเพศที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะในวัยรุ่น โดยสะท้อนออกมาทางเพลงที่ฟังกัน ซึ่งจะเห็นได้ชัดว่า เพลงวัยรุ่นส่วนใหญ่เป็นเพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรัก ส่วนใหญ่เป็นเพลงที่เกี่ยวกับอาการรักไม่สมหวังมากกว่ารักสมหวัง มีคำที่เป็นการแสดงออกและการสัมผัสต่อกันเพื่อแสดงความรักอย่างชัดเจนมากขึ้น เห็นได้ดังคำที่ปรากฏในเนื้อเพลงที่มีการจับมือ กอด หรือเรื่องบนเตียงก็ยังมี ตลอดจนการยอมเป็นมือที่สาม หรือกิ๊ก มากขึ้น” อย่างที่ผศ.ดร.พรทิพย์ เย็นจะบก หัวหน้าโครงการ “การพัฒนาองค์ความรู้การรู้เท่าทันสื่อในประเทศไทย” ได้กล่าวไว้ ทั้งยังมีรายงานการวิจัยทางการแพทย์อีกว่า เพลงสมัยใหม่นั้นเต็มไปด้วยเนื้อหาของอาการอกหัก อาจะมีผลทำให้วัยรุ่นและเยาวชน ซึมเศร้า ประชดประชัน และเป็นเนื้อหาในทางลบ การควบคุมดูแลเนื้อหาให้เป็นไปในทางบวกมากขึ้นควรได้รับความสนใจจากสังคม เพื่อส่งค่านิยมและอุดมการณ์ที่ถูกต้อง ซึ่งจะช่วยบอกและแนะนำวัยรุ่นถึงการปฏิบัติตัวและคิดที่ถูกที่ควร ในสถาณการณ์อกหัก” หากเรารู้เท่าทันและใช้ประโยชน์จากสื่อ ปัญหาการฆ่าตัวตายและค่านิยมผิดๆนั้นอาจจะไม่ได้แก้ยากอย่างที่คิด

ปัญหาที่เกิดจากเนื้อหาสื่อนั้น ยังไม่น่าจับตามองเท่าการเปลี่ยนแปลงของตัวสื่อเอง จริงอยู่ที่ทุกวันนี้คนไทยเสพสื่อมากขึ้น แต่พฤติกรรมการเสพสื่อนั้นเปลี่ยนแปลงไป สื่อออนไลน์ หรือ โซเชี่ยลมีเดีย นั้นกลายเป็นสื่อหลักที่คนไทยให้ความสำคัญ ทั้งยังช่วยทำตัวเป็นกระบอกเสียง กระจายสื่ออื่นๆ เช่นละคร หรือรายการโทรทัศน์ อีกด้วย การใช้สื่อโซเชี่ยลมีเดียนี้ แตกต่างจากสื่ออื่นๆอย่างมาก เนื่องจากมีความสามารถเข้าถึงผู้ชมได้ทุกที่24ชั่วโมง แต่ขณะเดียวกัน การควบคุมกลับยากลำบากและไร้มาตรฐานอย่างมาก โดยเฉพาะบุคคลมีชื่อเสียงที่มีผู้คนให้ความสนใจติดตาม หลายครั้งที่ใช้โซเชี่ยลมีเดียกระจายข่าวผิดๆ ส่งผลให้เกิดกระแส ซึ่งจะวนกลับไปเอื้อให้เป็นข่าวในสื่อประเภทอื่นๆ เช่น หนังสือพิมพ์ และนิตยสาร เป็นต้น เมื่อเกิดวงจรอย่างนี้ขึ้นเรื่อยๆ คนไทยจะติดอาการตื่นข่าว และเชื่อคนง่าย หูเบา เป็นปัญหาที่อาจส่งผลในระดับชาติ