หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 ปัญหาสุขภาพในชุมชน

หน่วยการเรียนรู้ที่ 9 พฤติกรรมเสี่ยงที่มีผลต่อสุขภาพ?

ปัจจัยเสี่ยงและพฤติกรรมเสี่ย เป็นสิ่งที่พบเห็นได้ทั่วไปงต่างๆ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 10 การแก้ไขปัญหาการใช้ความรุนแรงของเยาวชน

หน่วยการเรียนรู้ที่ 11 วิธีหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรง

หน่วยการเรียนรู้ที่ 12 หลักการช่วยฟื้นคืนชีพ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 13 การวางแผนการสร้างเสริมสุขภาพ (อินเทอร์เนต)

แบบสอบถามความพึงพอใจ

11.3 การหลีกเลี่ยงความรุนแรงในครอบครัว

แนะ 5 วิธี ยับยั้งความรุนแรงในครอบครั

ที่มา :หนังสือพิมพ์แนวหน้า

แนะ 5 วิธี ยับยั้งความรุนแรงในครอบครัว thaihealth

แฟ้มภาพ

ความรุนแรงเป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นกับตนเองหรือคนในครอบครัว มารู้จัก 5 วิธีช่วยยับยั้งความรุนแรงในครอบครัวกันค่ะ

นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า กรณีข่าวการฆ่าหรือจ้างวานฆ่าบุพการี สาเหตุมาได้จากหลายปัจจัย เช่น 1.ความผิดปกติทางระบบประสาทและ สมอง ส่งผลให้มีอารมณ์รุนแรง และขาดความยับยั้งชั่งใจ 2.การดูแลที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจเกิดจากความสัมพันธ์ ในครอบครัวที่ไม่ดีมีการใช้ความรุนแรงในครอบครัวซึ่งทำให้เกิดพฤติกรรมการเลียนแบบความรุนแรงจากครอบครัว สังคมรอบข้าง และสื่อต่างๆ ได้ รวมไปถึงขาด แนวทางการจัดการความเครียดที่ไม่เหมาะสม 3.การติดสารเสพติด ที่มีผลทำลายสมอง ช่วยทำให้มีอารมณ์ที่รุนแรงและขาดความยับยั้งชั่งใจได้

ซึ่งปัจจัยเหล่านี้มีผลต่อความอ่อนแอทางจิตใจในบุคคลที่จะส่งผลให้เกิดพฤติกรรมรุนแรงได้โดยการป้องกันการใช้ความรุนแรงในครอบครัว มีความสำคัญอย่างยิ่ง จึงขอแนะนำ ดังนี้ 

1.สร้างความรักความผูกพันกันในครอบครัวรู้จักชื่นชมกัน ใช้เวลาพูดคุยหรือทำกิจกรรมร่วมกันให้มากขึ้น 

2.ไม่ใช้ความรุนแรงในครอบครัว เพราะจะยิ่งส่งเสริมให้เกิดความรุนแรง ควรเลือกใช้วิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะสมมีความยืดหยุ่น และค่อยเป็นค่อยไป 

3.ผู้ปกครองควรเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูก โดยเฉพาะเรื่องของความดีงาม ความยับยั้งชั่งใจเพราะนิสัยส่วนหนึ่งของลูกย่อมเกิดจากการเลียนแบบพฤติกรรมของผู้ปกครอง 

4.สื่อสารกันอย่างสร้างสรรค์ โดยเฉพาะการกำหนดกฎเกณฑ์การตำหนิติเตียนหรือการกล่าวโทษกันควรเป็นไปในทางสร้างสรรค์ มีความเป็นธรรมเท่าเทียม ไม่เปรียบเทียบระหว่างพี่น้องหรือบุคคลอื่นการกล่าวโทษกันอย่างมีอคติจะนำไปสู่การทารุณทางจิตใจอย่างต่อเนื่องเพิ่มความเก็บกดและเกิดปมด้อยในจิตใจและที่สำคัญต้องไม่ละเลยที่จะรับฟังความคิดเห็นของลูก 

 5.รู้จักจัดการความเครียด โดยออกกำลังกาย ฝึกการหายใจหางานอดิเรกหรือกิจกรรมทำร่วมกัน