เรื่อง เพลงยุวกาชาด?

ยุวกาชาดจะไม่มีการทักทายการใช้คำว่า “สวัสดี” และบอกลาด้วยคำว่า “ลาก่อน” แต่จะใช้เพลงแทนคำว่าสวัสดี และ ลาก่อน

เรื่อง สัญญลักษณ์ยุวกาชาด?

สัญลักษณยุวกาชาด มีลักษณะเปนรูปกากบาทสีแดงบนพื้นสีขาวลอมรอบดวยวงกลมสีน้ําเงิน ลักษณะของกากบาทเปนรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส5รูปมาประกอบกันวงกลมสีน้ำเงินมีความหนาของเสนวงกลมเท่ากับครึ่งหนึ่งของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขอบวงกลมดานในหางจากเสนขอบดานบน ดานลางและดานขางของกากบาท มีอัตราสวนเทากับครึ่งหนึ่งของสี่เหลี่ยมจัตุรัสเชนกัน

เรื่อง เครื่องแบบยุวกาชาด

พิธีเปิด – ปิด ประจำกอง

ประวัติกาชาดสากล หลักการกาชาด

ประวัติสภากาชาดไทย

คำปฏิญาณตน

การฝึกระเบียบแถวแบบต่าง ๆ

ประวัติกาชาดสากล และหลักกาชาด

เพลงหลักการกาชาด (ทำนองลาวโซ่ง)

โอ้เจ้าช่อเบญจมาศ หลักการกาชาดมีอยู่เจ็ดข้อ (ซํ้า)

ที่ปีระชุมรับรองหลักการ (ซํ้า) เพื่อให้ทํางานได้ผลเพียงพอ

หนึ่ง เจ้าช่อเอื้องคํา มนุษยธรรมหลักการข้อใหญ่ (ซํ้า)

ป้ องกันและบรรเทาทุกข์ (ซํ้า) เสริมสร้างความสุขแก่คนทั่วไป

สอง เจ้าช่อชํามะเลียง ความไม่ลําเอียงนั้นน่าชื่นใจ (ซํ้า)

ทุกผิวและทุกชาติเชื้อ (ซํ้า) กาชาดเอื้อเฟื้ อไม่รังเกียจใคร

สาม ดอกเล็บมือนาง ถือความเป็นกลางไม่เข้าฝ่ ายไหน (ซํ้า)

ยามศึกหรือยามสงบ (ซํ้า)เราไม่เลือกคบเฉพาะชาติใด

สี่ เจ้าพวงอุบะ เรามีอสิระไม่ขึ้นแก่ใคร (ซํ้า)

ไม่ก้าวก่ายกฎหมายบ้านเมือง (ซํ้า) ทำ แต่ในเรี่องที่จะทำได้

ห้า เจ้าดอกพุดตาน ให้บริการอาสาสมัคร (ซํ้า)

ทําโดยไม่ทวงบุญคุณ (ซํ้า) เราบําเพ็ญบุญด้วยนํ้าใจรัก

หก เจ้าช่อกุหลาบ รักษาเอกภาพเป็นอันหนึ่งอันเดียว (ซํ้า)

ประเทศหนึ่งก็มีเพียงหนึ่ง (ซํ้า) กาชาดคํานึงถึงความกลมเกลียว

เจ็ด เจ้าช่อดอกรัก กาชาดยึดหลักความเป็นสากล (ซํ้า)

ฐานะความรับผิดชอบ (ซํ้า) หน้าที่ในระบอบเหมือนกันทุกแห่งหน

โอ้เจ้าช่อดอกโศก กาชาดทั่วโลกทําการยิ่งใหญ่ (ซํ้า)

ถ้าท่านช่วยกันบํารุง (ซํ้า) ก็เหมือนผดุงให้โลกพ้นภัย

 

ประวัติกาชาดสากล
 

icrc_03

อังรี ดูนังต์ ผู้จุดประกายกาชาด

นายอังรี ดูนังต์ (HENRY DUNANT) เกิดเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2371 ณ นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อ พ.ศ. 2402 ขณะที่เขาเดินทางไปประเทศอิตาลี เขาได้พบเห็นเหตุการณ์อันน่าสลดใจ และความทารุณโหดร้ายอันเนื่องมาจากสงคราม เขาจึงชักชวนชาวบ้านทำการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บเป็นจำนวนมากในสงครามที่ซอลเฟริโน ต่อจานั้นสามปี เขาได้เขียนหนังสือขึ้นเล่มหนึ่ง มีชื่อว่า ความทรงจำแห่งซอลเฟริโน ซึ่งบรรยายเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เขาได้พบในสงครามครั้งนั้น โดยเขาได้เสนอความคิดที่ว่า “จะเป็นไปได้หรือไม่ ที่จะตั้งองค์กรอาสาสมัครเพื่อช่วยเหลือทหารบาดเจ็บในยามเกิดสงคราม” จากประเด็นสืบเนื่องความคิดดังกล่าวได้ปรากฏผลมาจนถึงทุกวันนี้ คือ

1. การริเริ่มก่อตั้งคณะกรรมกาชาดระหว่างประเทศ และการก่อตั้งสภากาชาดประจำชาติขึ้นใน พ.ศ. 2406 โดยมีบทบาทในการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ เมื่อเกิดภัยสงครามและภัยพิบัติต่างๆ

2. การเผยแพร่และพัฒนากฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ(Inter National Humanitarian Law) จากการประชุมกาชาดระหว่างประเทศใน พ.ศ. 2407 ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งเป็นที่มาของอนุสัญญาเจนีวา (Geneva Conventions) และถือได้ว่าเป็นกฎหมายมนุษยธรรมฉบับแรกของโลก

ผลของกฎหมายมนุษยธรรมระหว่งประเทศนี้ ทำให้องค์กรกาชาดระหว่างประเทศและกาชาดประจำชาติ มีบทบาทในการเข้าช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์อย่างดีเยี่ยมนี้ ทำให้ นายอังรี ดูนังต์ ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพครั้งแรกของโลกในปี พ.ศ. 2444 เมื่ออายุ 73 ปี และต่อจากนั้นองค์กรกาชาดระหว่างประเทศได้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพอีก 3 ครั้ง นายอังรีดูนังต์ ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ.2453 อายุ 82 ปี

ดังนั้น วันที่ 8 พฤษภาคมของทุกปี ประเทศทั่วโลกที่เป็นสมาชิกกาชาดได้พร้อมใจกัน จัดกิจกรรมวันกาชาดโลก เพื่อแสดงความรำลึกถึงผู้ริเริ่มก่อตั้งกาชาด นายอังรี ดูนังต์ ผู้ซึ่งเป็นแบบอย่างของนักมนุษยธรรมที่อุทิศตนเพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ให้รอดพ้นจากความโหดร้ายของภัยสังคม

หลักการกาชาด
มนุษยธรรม

กาชาดเกิดขึ้นมาจากความปรารถนาที่จะนำ ความช่วยเหลือโดยมิเลือกปฏิบัติมาสู่ผู้บาดเจ็บในสนามรบ กาชาดเพียรพยายามทั้งในฐานะทางระหว่างประเทศและในระดับชาติ เพื่อป้องกัน และบรรเทาความทุกข์ทรมานของมนุษย์ไม่ว่าจะพบได้ในที่ใด ความมุ่งประสงค์ของกาชาดได้แก่การคุ้มครองชีวิตและสุขภาพ และการประกันความเคารพนับถือต่อมนุษยชน กาชาดส่งเสริมความเข้าใจ มิตรภาพ ความร่วมมือระหว่างกัน และสันติภาพยั่งยืนระหว่างประชากรทั้งมวล

ความไม่ลำเอียง

กาชาดไม่เลือกปฏิบัติในเรื่องสัญชาติ เชื้อชาติ ความเชื่อถือทางศาสนา ชั้น วรรณะ หรือความคิดเห็นทางการเมือง กาชาดเพียรพยายามอย่างเดียวที่จะบรรเทาความทุกข์ทรมาน โดยให้การปฏิบัติเป็นลำดับแรกต่อกรณีความทุกข์ยากที่เร่งด่วนที่สุด

ความเป็นกลาง

เพื่อที่จะได้รับความไว้วางใจสืบต่อไปจาก ทุกฝ่าย กาชาดไม่อาจเข้ากับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดในการสู้รบ หรือเกี่ยวข้องไม่ว่าในเวลาใดในการขัดแย้ง ซึ่งมีลักษณะทางการเมือง เชื้อชาติ ศาสนา และลัทธินิยม

ความเป็นอิสระ

กาชาดเป็นอิสระ สภากาชาดแห่งชาติแม้จะมีส่วนช่วยเหลือในบริการด้านมนุษยธรรมของรัฐบาลของตน และอยู่ในบังคับแห่งกฎหมายของประเทศตน จะต้องธำรงความเป็นอิสระอยู่เสมอไป เพื่อที่จะสามารถปฏิบัติตามหลักการกาชาดได้ทุกเวลา

photo_formaility_19
บริการอาสาสมัคร

กาชาดเป็นองค์การอาสาสมัครในการบรรเทาทุกข์ โดยไม่มีความปรารถนาผลประโยชน์ในประการใด ๆ

ความเป็นเอกภาพ

ในประเทศหนึ่งพึงมีสภากาชาดได้เพียงแห่ง เดียว สภากาชาดต้องเปิดให้แก่คนทั่วไป สภากาชาดต้องปฏิบัติงานด้านมนุษยธรรมตลอดทั่วดินแดนของตน

ความเป็นสากล

กาชาดเป็นสถาบันสากล ซึ่งสภากาชาดทั้งมวลที่สังกัดอยู่มีฐานะเท่าเทียมกัน และมีส่วนความรับผิดชอบและหน้าที่เท่าเทียมกันในการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน