แนะนำบทเรียน

หน่วยที่ 1ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการจัดสวน

หน่วยที่ 3 โครงงานจัดสวน

บทที่ 9 โครงงานจัดสวน

   เนื้อหา

 โครงงานจัดสวน

   6 ขั้นตอนการจัดสวน

   วิธีคิด ประเมินราคางานจัดสวน

    การบันทึกรายรับ รายจ่าย

//////////////////////////////////////////

เขียนโครงงานและปฏิบัติงานตามโครงงาน 

โครงการ การจัดสวนถาดน.ส. จารุวรรณ ศุขเจริญ

ชื่อโครงการ     การจัดสวนถาด

 หลักการและเหตุผล

สืบเนื่องมาจากความเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการรับเอาเทคโนโลยีใหม่ๆมาใช้ในชีวิตประจำวันตลอดจนการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร ทำให้มีการว่างงานกันมากขึ้นดังนั้นเพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้กลุ่มคนในชุมชนได้รับรู้ถึงปัญหาขยะ และในทางกลับกันจะช่วยให้ประชาชนรู้ถึงการทำวิกฤตให้เป็นโอกาส กล่าวคือได้มองเห็นในด้านทีมีประโยชนและยังทำรายได้ จึงได้จัดให้มีโครงการนี้ขึ้น

วัตถุประสงค์  

  การจัดดอกไม้ เป็นเรื่องที่มีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของทุกคนหาน้อยไม่ และมีคุณค่าอันสำคัญจำเป็นต่อชีวิต เพราะนอกจากมีกินแล้ว เรายังต้องการความสุขทางใจอีกด้วย การรู้จักนำเอาความงามของดอกไม้ใบหญ้ามาใช้เพื่อประโยชน์แห่งความสุขนั้น เป็นที่นิยมและมีมานานนับแต่โบราณกาล และยิ่งโลกมีความเจริญทางวัตถุมากขึ้นเพียงใด ความงามอันเกิดจากธรรมชาติเช่นดอกไม้ ก็ยิ่งเป็นสิ่งจำเป็นมากขึ้นเป็นเงาตามตัว จำนวนผู้คนที่นิยมการจัดดอกไม้ก็ได้เพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ จนกระทั้งการจัดดอกไม้ได้กลายเป็นศิลปและวิชาการแขนงหนึ่ง

ระยะเวลาดำเนินการ

  กรกฎาคม  2549  – ตุลาคม 2549   

ขั้นตอนและวิธีดำเนินการ

  1. ประชุมเพื่อมอบหมายผู้รับผิดชอบโครงการ
  2. วางแผนการดำเนินการตามโครงการ
  3. ดำเนินการตามแผน
  4. สรุปผล และประเมินผลการดำเนินการ

  แผนดำเนินการ

ที่

กิจกรรม

ระยะเวลาการดำเนินโครงการ

1

ดำเนินการขออนุมัติโครงการ

วันที่ 1-30 ก.ค. 49

2

วางแผนการดำเนินการผลิต        

วันที่ 15 ก.ค. – 20 ส.ค. 49

3

ดำเนินการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

วันที่  20 ส.ค. – 15 ก.ย. 49

4

ทดลองใช้

วันที่ 15 ก.ย.  – 15 ต.ค. 49

5

ปรับปรุงแก้ไข

วันที่  15 ต.ค. – 20 ต.ค. 49

6

สรุปและประเมินผล

วันที่  20 ต.ค. – 31 ต.ค. 49

งบประมาณ          จำนวนเงิน  —   บาท   

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. เป็นเสมือนสื่อกลางให้เราได้ใกล้ชิดธรรมชาติมากขึ้น  นอกจากความสว

  2.ทำให้จิตใจของเราสงบและผ่อนคลาย 

  3.การที่เราได้ลงมือจัดสวนด้วยตัวเอง ถือเป็นกิจกรรมยามว่างที่ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ 

4.ได้ความภาคภูมิใจกับผลงานสวนสวย ที่จัดด้วยฝีมือเราเอง ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจและเหมาะกับการเรียนรู้ในวัยผู้ใหญ่

    ผู้รับผิดชอบ

น.ส.จารุวรรณ  ศุขเจริญ  48071200น.ส.ธาริณี  นภาวรรณกุล 48071316นายจาตุวัฒน์  ลี้ตระกูล  48071194

https://www.gotoknow.org/posts/37732&usg=AFQjCNHO-IQDrgQz6Z80cn7cWkdA-Izhuw

การบันทึกรายรับ-รายจ่าย – งานเกษตร(พืช)  https://sites.google.com/site/ngankestrphuch/bth-thi6/kar-banthuk-rayrab-ray-cay

1. การบันทึกการปฏิบัติงาน หมายถึง การบันทึกรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับการปฏิบัติงาน ปัญหาที่พบและวิธีแก้ปัญหา อาจบันทึกเป็นรายวัน หรือรายสัปดาห์ก็ได้ เพื่อนำเป็นหลักฐานไปประเมินผลงานและปรับปรุงแก้ไขการทำงานในครั้งต่อไป นอกจากนั้นอาจบันทึกข้อมูลรายรับ -รายจ่ายของการปฏิบัติงานไว้เพื่อเป็นข้อมูลในการประเมินผล การปฏิบัติงานเมื่อสิ้นสุดโครงการนั้น ๆ

ประโยชน์ของการบันทึกการปฏิบัติงาน

การบันทึกการปฏิบัติงาน เป็นสิ่งจำเป็นมากในการดำเนินกิจการปลูกพืชสมุนไพร เพราะก่อให้เกิดประโยชน์หลายประการพอสรุปได้ดังนี้

  1. ช่วยบันทึกความทรงจำว่ามีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นบ้างระหว่างการปฏิบัติงาน
  2. เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนการปฏิบัติงาน
  3. เพื่อใช้เป็นข้อมูลฐานะทางการเงินของกิจการ
  4. เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการประเมินผลการดำเนินงาน
  5. ช่วยพัฒนานิสัยในการทำงานอย่างเป็นระบบและมีระเบียบแบบแผน

1) การบันทึกทรัพย์สิน หนี้สิน

เป็นการบันทึกรายการทรัพย์สินต่าง ๆ เช่น ที่ดิน, เครื่องมือ, เครื่องจักรกลต่าง ๆ , อุปกรณ์การเกษตรต่าง ๆ , ปุ๋ย, ปัจจัยการผลิตอื่น ๆ , จำนวนผลผลิต, ผลผลิตที่คงเหลือ ตลอดจนหนี้สินต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการดำเนินการผลิต ในการบันทึกทรัพย์สิน – หนี้สินต่าง ๆ เพื่อจะนำไปใช้ในการสรุปฐานะทางการเงินและเป็นข้อมูลที่จะใช้ในการคำนวณหารายได้สุทธิต่อไป

2) การจดบันทึกการปฏิบัติงาน

เป็นการบันทึกข้อมูลในด้านการผลิต ที่สำคัญได้แก่

2.1 พันธุ์

บันทึก ชื่อพันธุ์ การคัดพันธุ์ การเตรียมพันธุ์ รวมถึงรายละเอียดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเปรียบเทียบ เพื่อหาลักษณะ วิธีการที่เหมาะสมและให้ผลดีที่สุดในท้องถิ่นของตน วิธีการเก็บเกี่ยว โรค-แมลง ศัตรูพืชอื่น ๆ เพื่อพิจารณาการปลูกครั้งต่อไป

2.2 ความอุดมสมบูรณ์ของดิน

เช่น ผลการทดสอบดิน รวมทั้งชนิดและปริมาณปุ๋ยที่ใช้ ความเป็นกรดเป็นด่างของดินเพื่อ ป้องกันและหาวิธีการปรับปรุงรักษาดินให้สมบูรณ์และรักษาความสมดุลของธาตุอาหารตลอดไป

2.3 ผลผลิต

เป็นรายงานปริมาณของผลผลิตที่ส่งจำหน่ายทั้งตลาดบริโภค และส่งจำหน่ายตลาด อุตสาหกรรม เพื่อเป็นแนวในการวางแผน กำหนดจำนวน และขนาดของพื้นที่ในการผลิตครั้งต่อไปได้อย่างถูกต้อง

2.4 สภาพแวดล้อม

เป็นข้อมูลทั่วๆ ไปของสภาพแวดล้อมในการปลูกในขณะนั้นได้แก่ ปริมาณน้ำฝน การกระจายตัวของฝน สภาพแสง อุณหภูมิสูงสุด-ต่ำสุด ทิศทางลม กระแสลม รวมถึงโรค-ศัตรูอื่น ๆ มาตรการการป้องกันกำจัด ปริมาณผลผลิตที่ได้คุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่ และเพื่อหาวิธีการปรับปรุงในการปลูกครั้งต่อไป

2.5 การตลาด

ถือเป็นหัวใจที่มีความสำคัญและจำเป็นมาก ที่ผู้ผลิตควรรับทราบข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการตลาด เช่น แหล่งรับซื้อ พ่อค้าคนกลาง ความเคลื่อนไหวที่เกี่ยวกับปริมาณและราคาของผลผลิตในแต่ละช่วงของปี การบันทึกข้อมูลดังกล่าวนี้จะเป็นข้อมูลพื้นฐานอย่างหนึ่ง ที่จะช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดระบบการปลูกพืช การปรับปรุงดินบำรุงดินต่าง ๆ ตลอดจนช่วงเวลาที่เหมาะสมในการที่จะปลูกพืชในปีต่อไป

3. แนวทางการจดบันทึกการปฏิบัติงานในการปลูกพืชสมุนไพร

ในการดำเนินการปลูกพืชสิ่งที่ต้องทำการจดบันทึกขณะปฏิบัติงานคือ

    1. ข้อมูลเกี่ยวกับพืชสมุนไพรที่ปลูก ชื่อ พันธุ์ สภาพสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับการปลูก การปลูก การปฏิบัติดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว การเก็บรักษาและการจำหน่าย เพื่อให้ผู้ปลูกรับทราบและเป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อไป
    2. การจดบันทึกการปฏิบัติงานทุก ๆ ขั้นตอนที่ได้ปฏิบัติในการปลูกพืช จนถึงการเก็บเกี่ยวและการจำหน่ายผลผลิต
    3. จดบันทึกค่าใช้จ่ายแต่ละครั้งในการปลูกใน 1 ฤดูกาล เช่น


1) ค่าพันธุ์พืช 
2) ราคาปุ๋ย 
3) ยาป้องกันกำจัดศัตรูพืช 
4) เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการปลูกพืช 
5) ค่าแรงงาน 
แล้วจดบันทึกค่าใช้จ่ายรวมยอดไว้

    1. จดบันทึกผลผลิตที่ได้ในการปลูกใน 1 ฤดูกาล เช่น


1) ผลผลิตจำนวนกี่กิโลกรัมต่อเนื้อที่ 1 แปลง 
2) ในการนำไปจำหน่ายได้กิโลกรัมละเท่าไร 
3) ขายให้กับโรงงานอุตสาหกรรมและขายให้กับตลาดบริโภคสดในอัตราร้อยละเท่าไร

  1. นำเงินทุนและรายได้นำไปคำนวณหาผลกำไร

ตอนที่ 2. การทำบัญชี

การทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย หมายถึง การจดบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับการเงินหรืออย่างน้อยที่สุดบางส่วนเกี่ยวข้องกับการเงิน โดยผ่านการวิเคราะห์ จัดประเภทและบันทึกไว้ในแบบฟอร์ม ที่กำหนดเพื่อแสดงฐานะการเงิน และผลการดำเนินงานของกิจการในช่วงระยะเวลาหนึ่ง

ประโยชน์ของการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย

  1. เป็นหลักฐานประกอบการดำเนินกิจการ เพื่อให้ทราบว่ามีทรัพย์สิน หนี้สิน และเงินทุนเป็นจำนวนเท่าใด
  2. เป็นหลักฐานในการตรวจสอบ ตัวเงินสดกับยอดบัญชีว่าถูกต้อง หรือมีข้อผิดพลาดอย่างไร
  3. เป็นสถิติช่วยในการบริหาร การควบคุม การทำงบประมาณ เพื่อให้ผลงานมีประสิทธิ ภาพดียิ่งขึ้น
  4. ช่วยเป็นหลักฐานในการบริหารงาน เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่เกิดขึ้นอีก
  5. ช่วยในการคำนวณผลการดำเนินงานว่ามีกำไรหรือขาดทุนอย่างไร
  6. ช่วยให้ทราบฐานะทางการเงินของกิจการว่า ทรัพ์สิน หนี้สิน และเงินทุนในขณะใดขณะ หนึ่ง เป็นจำนวนเท่าใด

สรุป

การจดบันทึกการปฏิบัติงานและการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย เป็นการช่วยความทรงจำ และถ้ามีการจดบันทึกกิจการต่าง ๆ อย่างมีระบบ การลงบัญชีที่ดี มีความเข้าใจในการจดบันทึก และการสรุปข้อมูลให้เหมาะสมแล้ว สามารถนำข้อมูลที่ได้รับมาใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจทำการปลูกพืชให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด แนวโน้มของราคา ตลอดจนเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อการดำเนินกิจกรรมได้อย่างเหมาะสมยิ่งขึ้น ทำให้ผู้ผลิตทราบได้ว่ากิจการของตนเป็นอย่างไร และวิธีการอย่างหนึ่งที่จะแสดงฐานทางการเงินและผลการดำเนินงานว่ามีรายรับ-รายจ่ายอย่างไร ช่วยในการประเมินผลการดำเนินงานว่ามีกำไร หรือขาดทุนอย่างไรอีกด้วย

รูปแบบการบันทึกการปฏิบัติงานและการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย

การบันทึกการปฏิบัติงานและการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย อาจบันทึกในหัวข้อต่อไปนี้

    1. การบันทึกเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ เพื่อจะได้ทราบว่าในการผลิตพืชสมุนไพร จำเป็นต้องใช้เครื่องมือ และวัสดุอุปกรณ์อะไรบ้าง จำนวนเท่าใด ถ้าจำเป็นจะต้องซื้อจะเสียค่าใช้จ่ายมากน้อยเพียงใด
แบบรายการเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์
ลำดับที่ รายการ จำนวนหน่วย ราคา/หน่วย หมายเหตุ
บาท สต.
           
           
           
           
           
           
           
           
    1. การบันทึกการปฏิบัติงานปลูกพืชสมุนไพร เป็นการบันทึกข้อมูลในการปฏิบัติงาน เพื่อจะได้ทราบว่าการปฏิบัติงานในแต่ละวันหรือแต่ละสัปดาห์มีงานอะไรบ้าง มีปัญหาในการดำเนิน งานอย่างไร และได้แก้ปัญหานั้นอย่างไรควรมีการลงชื่อผู้ปฏิบัติงานด้วย
แบบบันทึกการปฏิบัติงาน
วัน เดือน ปี งานที่ปฏิบัติ ปัญหาและอุปสรรค ข้อเสนอแนะ และการแก้ไข ผู้ปฏิบัติ งาน ผู้ตรวจ/ครู/ผู้ปกครอง
           
           
           
           
           
           
           
           
           
    1. การบันทึกบัญชึรายรับ-รายจ่าย การบันทึกรายรับและรายจ่ายนับว่ามีความสำคัญ เนื่องจากเป็นแหล่งข้อมูลที่ต้องการใช้ในการกำหนดรายได้-รายจ่าย, การจัดทำแผนและงบประมาณ รวมถึงการกำหนดราคาขายด้วย
แบบบัญชีรายรับ-รายจ่าย
วันเดือนปี รายรับ จำนวนเงิน วันเดือนปี รายรับ จำนวนเงิน
บาท สต. บาท สต.
               
               
               
               
               
               
               
               
               
แบบฟอร์มบัญชีเงินสด
วันเดือนปี รายการ รายรับ รายจ่าย คงเหลือ
บาท
หมายเหตุ
บาท สต. บาท สต.