หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 ปัญหาสุขภาพในชุมชน

หน่วยการเรียนรู้ที่ 9 พฤติกรรมเสี่ยงที่มีผลต่อสุขภาพ?

ปัจจัยเสี่ยงและพฤติกรรมเสี่ย เป็นสิ่งที่พบเห็นได้ทั่วไปงต่างๆ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 10 การแก้ไขปัญหาการใช้ความรุนแรงของเยาวชน

หน่วยการเรียนรู้ที่ 11 วิธีหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรง

หน่วยการเรียนรู้ที่ 12 หลักการช่วยฟื้นคืนชีพ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 13 การวางแผนการสร้างเสริมสุขภาพ (อินเทอร์เนต)

แบบสอบถามความพึงพอใจ

11.1 การใช้ความรุนแรง

 หลีกเลี่ยงความรุนแรง

ความรุนแรง (อังกฤษviolence) นิยามโดยองค์การอนามัยโลกว่าเป็น การใช้กำลังหรือพลังทางกายโดยเจตนาต่อตนเอง ผู้อื่น หรือต่อกลุ่มหรือชุมชนอื่น โดยข่มขู่หรือแท้จริง เพื่อให้เกิดหรือมีความเป็นไปได้สูงว่าจะเกิดการบาดเจ็บ การเสียชีวิต การทำร้ายจิตใจ การพัฒนาไม่เพียงพอหรือการริดรอนนิยามนี้เกี่ยวข้องกับเจตนาของการก่อพฤติกรรมนั้น โดยไม่คำนึงถึงผลที่ตามมา

ความรุนแรงพรากชีวิตผู้คนทั่วโลกไปมากกว่า 1.5 ล้านคนทุกปี สูงกว่า 50% เป็นเพราะอัตวินิบาตกรรม อีก 35% มาจากฆาตกรรม และอีก 12% เป็นผลโดยตรงมาจากสงครามหรือความขัดแย้งรูปแบบอื่น สำหรับผู้เสียชีวิตหนึ่งคนจากเหตุความรุนแรง ต้องมีการเข้าโรงพยาบาลหลายสิบครั้ง การเยี่ยมแผนกฉุกเฉินหลายร้อยครั้ง และการนัดของแพทย์หลายพันครั้ง[2] ยิ่งไปกว่านั้น ความรุนแรงมักมีผลตลอดชีวิตต่อสุขภาพกายและจิตของเหยื่อ ตลอดจนหน้าที่ทางสังคม และชะลอการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม

ความรุนแรง  หมายถึง  การทำร้ายร่างกาย การทำร้ายจิตใจ การทำร้ายทางเพศ และการทอดทิ้งเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี
          ความรุนแรงมี 4 ประเภท ดังนี้

 
 

 1.การทำร้ายทางร่างกาย คือ มักเกิดจากการทุบ ตี ต่อย เตะ จับศรีษะโขกกับของแข็ง ซึ่งการทำร้ายร่างกายนี้จะส่งผลถึงสภาพจิตใจของผู้ถูกทำร้าย

2.การทำร้ายทางจิตใจ เป็นการกระทำด้วยกิริยา  วาจา  ท่าทาง  สายตา  สีหน้า  จนทำให้ผู้ถูกกระทำเจ็บช้ำน้ำใจ อับอาย  อาจถึงขั้นคิดสั้นได้
3.การทำร้ายทางเพศ ผู้ที่ถูกทำร้ายทางเพศมักได้แก่เพศหญิงและมีเด็กชายบ้างเหมือนกันลักษณะการทำร้ายทางเพศมีหลายรูปแบบ  เช่น  การถูกจับหน้าอก  ถูกจับก้น  ถูกจับอวัยวะเพศ  การถูกฝ่ายชายเอาอวัยวะเพศมาถูไถร่างกายขณะอยู่ในที่ชุมชน  การถูกปลุกปล้ำ  การถูกข่มขืนโดยผู้ชายคนเดียว   การถูกข่มขืนโดยผู้ชายหลายคน  การถูกบังคับให้ถอดเสื้อผ้าเพื่อถ่ายภาพ  ถูกพูดจาลวนลาม  ล่วงเกินทางเพศ  เป็นต้น
4.การทอดทิ้งเด็ก  อาจทอดทิ้งตั้งแต่แรกเกิด  จนถึงการทอดทิ้งเด็กโตซิ่งอายุไม่เกิน 18 ปี  จนผู้ถูกทอดทิ้งได้รับความเดือดร้อน หรือถึงขั้นเสียชีวิต ปัจจุบันนี้เรื่องการทอดทิ้งเด็กมีมากมายในสังคมไทยทั้งนี้เกิดจากการไม่รับผิดชอบของผู้ใหญ่และพวกวัยรุ่นใจแตกทั้งหลายก่อให้เกิดปัญหาสังคม
 
    ดั้งนั้นจะเห็นได้ว่าความรุนแรง ไม่ได้หมายถึงให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บทางร่างกาย แต่การปล่อยให้อดอาหาร การไม่สนใจความเป็นตายของผู้อื่น การข่มขู่ให้ผู้อื่นหวาดกลัว การใช้คำพูดที่ทำร้ายจิตใจผู้อื่น ล้วนเป็นความรุนแรงได้ทั้งสิ้น