หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 ปัญหาสุขภาพในชุมชน

หน่วยการเรียนรู้ที่ 9 พฤติกรรมเสี่ยงที่มีผลต่อสุขภาพ?

ปัจจัยเสี่ยงและพฤติกรรมเสี่ย เป็นสิ่งที่พบเห็นได้ทั่วไปงต่างๆ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 10 การแก้ไขปัญหาการใช้ความรุนแรงของเยาวชน

หน่วยการเรียนรู้ที่ 11 วิธีหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรง

หน่วยการเรียนรู้ที่ 12 หลักการช่วยฟื้นคืนชีพ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 13 การวางแผนการสร้างเสริมสุขภาพ (อินเทอร์เนต)

แบบสอบถามความพึงพอใจ

12.2 หลักการช่วยเหลือคืนชีพขั้นพิ้นฐาน

การช่วยชีวิตเบื้องต้น ในผู้ใหญ่ (ขั้นพื้นฐาน)

             ในกรณีเจอคนหมดสติ การให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นเพื่อที่จะช่วยชีวิตคนป่วยให้ปลอดภัยผ่านวิกฤตไปได้ ก่อนรถพยาบาลจะมาถึง และส่งถึงมือหมอได้อย่างทันท่วงทีนั้น ต้องทำอย่างไร  

            การช่วยชีวิตเบื้องต้น คือ การช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นหรือหยุดหายใจกะทันหันให้หัวใจกลับมาเต้นและส่งถึงแพทย์ได้ทันท่วงที ซึ่งช่วยในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นลม หมดสติ และตรวจพบไม่มีชีพจรหรือไม่หายใจแล้ว

      การช่วยเหลือเบื้องต้น คือ การทำ CPR* หรือการกดหน้าอก ซึ่งการทำ CPR หรือการกดหน้าอกที่ถูกต้องจะช่วยเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตของผู้ป่วยก่อนที่จะนำส่งโรงพยาบาล โดยการทำ CPR ร่วมกับการใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือ คือ เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจอัติโนมัติ หรือ AED** จะช่วยเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตผู้ป่วยมากขึ้น  โดยการช่วยชีวิตเบื้องต้นดังกล่าว ควรทำพร้อมกับการตามทีมหน่วยกู้ชีพ หรือทีม EMS เพื่อนำผู้ป่วยไปส่งได้อย่างทันท่วงที

ขั้นตอนการช่วยเหลือเบื้องต้น โดยการทำ CPR  

  1.  เมื่อพบคนหมดสติ ให้ดูความปลอดภัยของสิ่งแวดล้อมก่อนเข้าไปช่วยเหลือผู้ป่วย เช่น ระวังอุบัติเหตุ ไฟช็อต หรือความเสี่ยงอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้น
  2.  ปลุกเรียกผู้ป่วยด้วยเสียงที่ดัง และตบไหล่ทั้งสองข้าง หากผู้ป่วยรู้สึกตัว หายใจเองได้ให้จัดท่านอนตะแคง แต่หากยังไม่หายใจให้ทำตามขั้นตอนต่อไป
  3.  เรียกผู้คนที่อยู่ในระยะใกล้เข้ามาร่วมช่วยเหลือผู้ป่วย ร่วมกับโทรศัพท์ขอความช่วยเหลือ ที่ สายด่วน 1669*** โดยขอผู้ช่วยพร้อมกับนำเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจอัติโนมัติ AED มาด้วย แจ้งสถานที่เกิดเหตุ สภาพผู้ป่วย เบอร์โทรติดต่อกลับ
  4.  ประเมินผู้ป่วย หากยังไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ ให้ทำการช่วยเหลือฟื้นคืนชีพ  หรือ ทำ CPR ในทันที
  5.  ช่วยเหลือฟื้นคืนชีพด้วยการกดหน้าอก จัดท่าให้ผู้ป่วยนอนหงายบริเวณผิวที่แข็ง ปลอดภัย วางสันมือข้างหนึ่งตรงครึ่งล่างกระดูกหน้าอก และวางมืออีกข้างทับประสานกันไว้ เริ่มการกดหน้าอกด้วยความลึกอย่างน้อย 5 เซนติเมตร ในอัตราเร็ว 100-120 ครั้งต่อนาที
  6.  หากมีเครื่อง AED ให้เปิดเครื่องและถอดเสื้อผ้าผู้ป่วยออก
  7.  ติดแผ่นนำไฟฟ้า บริเวณใต้กระดูกไหปลาร้าด้านขวา และชายโครงด้านซ้าย และห้ามสัมผัสตัวผู้ป่วย
  8.  ปฏิบัติตามเครื่อง AED แนะนำ คือ หากเครื่องสั่งให้ช็อตไฟฟ้า ให้กดปุ่มช็อต และทำการกดหน้าอกหลังทำการช็อตทันที แต่หากเครื่องไม่สั่งช็อตให้ทำการกดหน้าอกต่อไป
  9.  กดหน้าอกต่อเนื่อง และปฏิบัติตามคำแนะนำ
  10.  ส่งต่อผู้ป่วยให้กับทีมหน่วยกู้ชีพเพื่อนำส่งโรงพยาบาล เพียงเท่านี้ก็จะช่วยให้ผู้ป่วยฉุกเฉินมีโอกาสรอดชีวิตได้มากยิ่งขึ้น

            สิ่งที่สำคัญที่สุดในการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน คือ การทำ CPR หรือการกดหน้าอกอย่างถูกวิธี นอกจากนั้น การตามทีมหน่วยกู้ชีพ หรือ ทีม EMS ก็เป็นสิ่งสำคัญเพราะจะได้นำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลได้ทันท่วงทีและเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตของผู้ป่วยได้มากขึ้น