หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 ปัญหาสุขภาพในชุมชน

หน่วยการเรียนรู้ที่ 9 พฤติกรรมเสี่ยงที่มีผลต่อสุขภาพ?

ปัจจัยเสี่ยงและพฤติกรรมเสี่ย เป็นสิ่งที่พบเห็นได้ทั่วไปงต่างๆ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 10 การแก้ไขปัญหาการใช้ความรุนแรงของเยาวชน

หน่วยการเรียนรู้ที่ 11 วิธีหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรง

หน่วยการเรียนรู้ที่ 12 หลักการช่วยฟื้นคืนชีพ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 13 การวางแผนการสร้างเสริมสุขภาพ (อินเทอร์เนต)

แบบสอบถามความพึงพอใจ

10.3 การหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรง

การป้องกันปัญหาความรุนแรงในสังคม
              การป้องกันปัญหาความรุนแรงในสังคม จะให้บังเกิดผลอย่างสมบูรณ์และยั่งยืนได้นั้น ทุกระดับของสังคมต้องร่วมมือกัน โดยมีแนวทางปฏิบัติ ดังนี้
              1. ระดับบุคคลและครอบครัว
              1) การเลี้ยงดูอบรมลูกชายและหญิงต้องมีความเสมอภาค สอนให้ช่วยเหลือเกื้อกูล เคารพสิทธิซึ่งกันและกันไม่ใช้อำนาจ ไม่เอาเปรียบ ผู้เป็นพ่อแม่ต้องฟังความเห็นของลูก และสอนทักษะระงับอารมณ์โกรธที่เหมาะสมด้วย
              2) ดำรงชีวิตเรียบง่าย ไม่ฟุ้งเฟ้อตามกระแสวัตถุนิยม ครองตนอยู่ในศีลธรรมอันดี ไม่ยุ่งเกี่ยวกับอบายมุขซื่อสัตย์ต่อคู่ครอง รับผิดชอบในหน้าที่ของตน
              2. ระดับสังคม
              1) รัฐควรจัดให้มีหน่วยงานบริการแนะแนว และคำปรึกษาปัญหาชีวิตสมรส ปัญหาครอบครัวกระจายไปสู่ชุมชนมากขึ้น
              2) รัฐต้องส่งเสริมให้ประชาชนทุกคนเกิดความรู้ความเข้าใจ และจิตสำนึก เรื่องสิทธิเด็ก สิทธิสตรี และสิทธิมนุษยชน
              3) มีการแก้ไขกฎหมายให้มีความทันสมัยโดยเฉพาะกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับครอบครัว กฎหมายที่ก่อให้เกิดช่องว่างในเรื่องความไม่เสมอภาค และทำให้สตรีต้องตกอยู่ในภาวะจำยอมควรได้รับการแก้ไข และควรมีการบังคับใช้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเผยแพร่กฎหมายดังกล่าวให้ประชาชนทราบ
              4) องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนต้องมีมาตรการในการป้องกันและควบคุมสื่อให้เสนอข้อมูลที่ถูกต้องเหมาะสม และผู้ผลิตสื่อต้องแสดงความรับผิดชอบในการนำเสนอสื่อทุกรูปแบบ
              5) ระบบการศึกษา ต้องให้ความสำคัญในการบรรจุหลักสูตรการเรียนการสอนเรื่องจริยธรรมทางเพศ การเป็นพ่อแม่ที่ดี สิทธิสตรี สิทธิเด็ก และสิทธิมนุษยชน รวมไปถึงการสอนทักษะการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้วยเหตุผลและสันติวิธี