หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เศรษฐกิจพอเพียง?

ความหมาย ความเป็นมาของเสรษฐกิจพอเพียง , โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ชุมชนพอเพียง?

ทฤษฎีใหม่

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การพัฒนาชุมชน

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เศรษฐกิจพอเพียงกับสหกรณ์

ความหมายและความเป็นมาของเศรษฐกิจพอเพียง

ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง

          เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนา และบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์

          ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอก และภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผน และการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิต ด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุล และพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

ความเป็นมาของเศรษฐกิจพอเพียง

          คำว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางในการดำเนินชีวิตให้แก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 30 ปี เพื่อนำไปปฏิบัติในการดำเนินชีวิตในยามที่ประเทศประสบปัญหาวิกฤติทางเศรษฐกิจใน พ.ศ.2540 ภายหลังเมื่อได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้ประชาชนรอดพ้นและสามารถอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์ จากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2517 ว่า

“…การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมี พอกิน พอใช้ ของประชาชนส่วนใหญ่เบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัดแต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานจากมั่นคงพร้อมพอสมควร และปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญ และฐานะทางเศรษฐกิจขั้นที่สูงโดยลำดับต่อไป…”

ใน พ.ศ. 2540 เกิดปัญหาวิกฤตการณ์เศรษฐกิจ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระราชทานพระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงอีกครั้ง เพื่อแนวทางแก้ปัญหาให้กับประเทศ

“…การเป็นเสือนั้นไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เรามีเศรษฐกิจแบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกินนั้น หมายความว่าอุ้มชูตนเองได้ให้มีพอเพียงกับตนเอง อันนี้ก็เคยบอกว่าความพอเพียงไม่ได้หมายความว่า ทุกครอบครัวจะต้องผลิตอาหารของตัว จะต้องทอผ้าใส่เอง อย่างนั้นมันเกินไป แต่ว่าในหมู่บ้านหรือในอำเภอจะต้องมีความพอเพียงพอสมควร บางสิ่งบางอย่างที่ผลิตได้มากกว่าความต้องการ ก็ขายได้ แต่ขายในที่ไม่ห่างไกลเท่าไร ไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากนัก…”

คำว่า “พอเพียง” จากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเต้าอยู่หัวฯ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ณ ศาลาดุสิตดาลัย สวนจิตรลดา พระราชทานความหมายของคำว่า “พอเพียง” ไว้ว่า

“…คำว่าพอเพียงมีความหมายอีกอย่างหนึ่ง มีความหมายกว้างออกไปอีก ไม่ได้หมายถึงการมีพอสำหรับใช้เองเท่านั้น แต่มีความหมายว่า พอมีพอกิน พอมีพอกินนี้แผลว่าเศรษฐกิจพอเพียงนั้นเอง…”

“…ให้เพียงพอนี้หมายความว่ามีกินมีอยู่ ไม่ฟุ่มเฟือยไม่หรูหราก็ได้แต่ว่าพอ แม้บางอย่างอาจจะดูฟุ่มเฟือยแต่ก็ทำให้มีความสุข ถ้าทำได้ก็สมควรจะทำ สมควรที่จะปฏิบัติ…”

“…Self-sufficiency นั้นหมายความว่า ผลิตอะไรมีพอที่จะใช้ ไม่ต้องไปขอยืมคนอื่นอยู่ได้ด้วยตนเอง…”