ประวัติมวยไทย

การพันมือ?

เทคนิคการพันข้อมือนักมวยที่ถูกต้อง ทำได้ง่าย ใช้เวลาไม่นาน แต่ช่วยป้องกันอาการบาดเจ็บที่มือได้เป็นอย่างดี         เรียกได้ว่ากีฬาชกมวยกับคนไทย ถือเป็นสิ่งที่อยู่คู่กันมาอย่างยาวนาน จนปัจจุบันกลายเป็นกีฬาที่ใครหลายคนเลือกฝึกเพื่อเสริมความแข็งแรงให้ตัวเอง ใช้ป้องกันตัว รวมถึงลดน้ำหนักด้วย แต่ก่อนที่จะชกมวยนั้น การเตรียมตัวให้พร้อมถือเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งรวมไปถึงการพันข้อมือก่อนใส่นวมด้วย ว่าแล้วกระปุกดอทคอมจึงหยิบวิธีพันข้อมือที่ถูกต้องมาแนะนำกันครับ 1.ทำไมนักมวยต้องพันข้อมือ ? เหตุผลที่นักมวยทั้งมือใหม่และมืออาชีพต้องพันข้อมือนั้น ก็เพื่อป้องกันอาการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นกับจากการชกมวย ซึ่งถือว่ามือเป็นอวัยวะที่สำคัญสุด ๆ ของกีฬาประเภทนี้ ที่อาศัยการชกเป็นหลักนั่นเอง โดยการพันมือจะช่วยป้องกันทั้งข้อต่อและกระดูกชิ้นเล็กชิ้นน้อย ซึ่งเป็นจุดที่แตกหักได้ง่าย หากมีการชกซ้ำไปซ้ำมา รวมถึงซัพพอร์ตข้อมือ นิ้ว และสันหมัดด้วย 2. ประเภทของผ้าพันข้อมือ    ผ้าพันข้อมือแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้           2.1 ผ้าพันมือแบบคอตตอน เป็นผ้าพันมือที่นิยมใช้ในการฝึกซ้อม มีความยืดหยุ่นสูง มาพร้อมกับตีนตุ๊กแก ช่วยให้ไม่หลุดง่าย           2.2 ผ้าพันมือแบบเม็กซิกัน ผ้าประเภทนี้จะดูคล้ายกับแบบแรก แต่มีความแตกต่างกันตรงวัสดุที่ใช้ในการผลิต ซึ่งผ้าพันมือแบบเม็กซิกันจะใช้ผ้าทอผสมกับเส้นใยอีลาสติก ที่ให้ความยืดหยุ่นพอสมควร แต่น้อยกว่าแบบแรก          2.3 ผ้าก๊อซ หรือ ผ้าพันแผลที่หลายคนรู้จักกันดี เป็นผ้าที่มักใช้พันข้อมือร่วมกับเทปกาว เพื่อลงแข่งขันชกมวยแบบจริงจังมากกว่าการฝึกซ้อม ทั้งยังเป็นแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งด้วย วิธีพันข้อมือนักมวยที่ถูกต้อง เลือกใช้ผ้าพันมือแบบมีห่วงสำหรับสอดนิ้วโป้งและมีตีนตุ๊กแก ซึ่งจะช่วยให้พันข้อมือได้สะดวกยิ่งขึ้น เริ่มจากนำนิ้วโป้งสอดเข้าไปในห่วงของผ้าพันมือให้เรียบร้อย จากนั้นให้พันวนรอบด้านหลังมือ พร้อมดึงผ้าให้ตึง ต่อมาให้พันบริเวณข้อมือสัก 3-4 รอบ ขึ้นอยู่กับความยาวของผ้าพันมือที่เลือกใช้ เพราะยิ่งยาวก็ยิ่งพันได้หลายรอบ ซึ่งช่วยซัพพอร์ตข้อมือได้ดีกว่า แล้วให้ขยับขึ้นมาพันรอบฝ่ามือสัก 3-4 รอบเช่นกัน ซึ่งในการพันแต่ละรอบ ควรดึงผ้าให้ตึงอยู่เสมอ จากนั้นให้พันผ้าเป็นรูปตัว X โดยพันไขว้ขึ้นเข้าไปในช่องระหว่างนิ้วก้อยและนิ้วนาง แล้วพันกลับขึ้นมาทางช่องระหว่างนิ้วชี้และนิ้วโป้ง พันเป็นรูปตัว X เข้าไปในช่องระหว่างนิ้วที่เหลือ ซึ่งก็คือระหว่างนิ้วนางและนิ้วกลาง กับระหว่างนิ้วกลางและนิ้วชี้ ดึงผ้าให้ตึง แล้วพันผ้ารอบนิ้วโป้ง 1 รอบ  ต่อมาให้พลิกฝ่ามือขึ้นเพื่อพันผ้าสำหรับล็อกนิ้วโป้ง โดยการพันที่ข้อมือและนิ้วโป้งตามภาพ จากนั้นก็พันผ้ารอบฝ่ามืออีก 3-4 รอบ พันให้แน่นเข้าไว้ ส่วนผ้าที่เหลือให้ใช้พันข้อมือสลับกับฝ่ามือจนสุด แล้วปิดทับด้วยตีนตุ๊กแก ก็เป็นอันว่าเสร็จ หลังจากพันข้อมือเสร็จเรียบร้อยแล้ว           เมื่อได้ทราบอย่างนี้แล้ว ใครที่อยากลองออกกำลังด้วยการฝึกชกมวยบ้างละก็ ลองใช้วิธีพันข้อมือข้างต้นกันได้เลย บอกเลยว่าช่วยป้องกันอาการบาดเจ็บที่มือได้ดีในระดับหนึ่งเลยทีเดียว ส่วนคนที่อยากได้นวมดี ๆ สักอันมาไว้ใช้บ้าง ก็คลิกไปชมวิธีเลือกนวมชกมวยที่นี่เลยครับ

การออกอาวุธมวยไทย?

การใช้อาวุธมวยไทย เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปแล้วว่ามวยไทยเป็นศิลปะการต่อสู้ที่ใช้อวัยวะทุกส่วนของร่างกายผสมผสานการเคลื่อนไหวด้วยจังหวะที่กลมกลืน กับแรงส่งหรือเป็นอาวุธในการจู่โจมคู่ต่อสู้และป้องกันตัว ดังนั้นการฝึกหัดฝึกฝนมวยไทยผู้เรียนจึงควรต้องเรียนรู้อย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับการใช้ อวัยวะของร่างกายซึ่งแบ่งออกเป็นส่วนใหญ่โดยภาพรวม คือ หมัด เท้า เข่า ศอก การใช้อวัยวะดังกล่าวสามารถแยกแยะออกเป็นหมวดหมู่ ย่อยได้มากมายจนกล่าวได้ว่าการใช้อวัยวะเหล่านั้นได้อย่างชำนาญคือต้นกำเนิดที่มาของคำว่า “ศิลปะมวยไทย” ทักษะสำคัญที่ควรเรียนรู้ในการชกมวยไทยนั้นประกอบไปด้วย

ข้อสอบท้ายบท

การใช้อาวุธมวยไทย

การใช้อาวุธมวยไทย

    เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปแล้วว่ามวยไทยเป็นศิลปะการต่อสู้ที่ใช้อวัยวะทุกส่วนของร่างกายผสมผสานการเคลื่อนไหวด้วยจังหวะที่กลมกลืน

กับแรงส่งหรือเป็นอาวุธในการจู่โจมคู่ต่อสู้และป้องกันตัว ดังนั้นการฝึกหัดฝึกฝนมวยไทยผู้เรียนจึงควรต้องเรียนรู้อย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับการใช้

อวัยวะของร่างกายซึ่งแบ่งออกเป็นส่วนใหญ่โดยภาพรวม คือ หมัด เท้า เข่า ศอก การใช้อวัยวะดังกล่าวสามารถแยกแยะออกเป็นหมวดหมู่

ย่อยได้มากมายจนกล่าวได้ว่าการใช้อวัยวะเหล่านั้นได้อย่างชำนาญคือต้นกำเนิดที่มาของคำว่า “ศิลปะมวยไทย” ทักษะสำคัญที่ควรเรียนรู้ใน

การชกมวยไทยนั้นประกอบไปด้วย

    ๑) การใช้หมัด การใช้หมัดโดยทั่วไปเรียกกันว่า กำปั้น นั้น นักมวยไทยใช้เพื่อชกคู่ต่อสู้ซึ่งในศิลปะมวย

ไทยการชกคู่ต่อสู้สามารถกระทำได้หลายวิธี แต่สิ่งแรกที่ผู้ฝึกมวยไทยควรเรียนรู้ก็คือ การกำหมัด

 การกำหมัด มีวิธีปฏิบัติดังนี้

๒. การชกหมัด การชกหมัดมีหลายวิธีการนำมาใช้ขึ้นอยู่กับจังหวะและโอกาส ซึ่งการชก

หมัดมีวิธีต่าง ๆ ดังนี้

๑. การชกหมัดตรง หมัดตรงสามารถชกได้ทั้งหมัดหน้าและหมัดหลัง การชกหมัดตรง

หมัดหน้านั้นนิยมเรียกกันว่า หมัดแย็บ ส่วนการชกหมัดตรงหมัดหลังมักเรียกกันว่าหมัดตามซึ่งการชก

แต่ละหมัดปฏิบัติได้ดังนี้

           การชกหมัดตรงหมัดหน้าจากท่าจดมวย

๑) ส่งแรงจากลำตัวและหัวไหล่ ยืดแขนออกไปให้สุด

๒) คว่ำหมัดลงให้สันหมัดสัมผัสเป้าหมาย

๓) ดึงหมัดกลับมาอยู่ในท่าจดมวยดังเดิม

หมัดตรงหมัดหน้าเป็นหมัดที่ไม่ค่อยรุนแรง เพราะเป็นหมัดหน้าจึงไม่มีแรงส่งอย่าเต็มที่

แต่ก็เป็นหมัดที่ชกได้รวดเร็ว ดังนั้นจึงนิยมใช้เพื่อรบกวนหรือทำลายจังหวะของคู่ต่อสู้

๒. การชกหมัดตรงหมัดหลัง จากท่าจดมวยหรือจากการดึงหมัดหลังจากการชก

๑) บิดหัวไหล่ข้างถนัดไปด้านหลังเล็กน้อย

๒) ออกแรงส่งจากสะโพก ลำตัว และหัวไหล่ ส่งกำปั้นออกไปยังเป้าหมาย

๓)  เมื่อสันหมัดสัมผัสเป้าหมาย ดึงหมัดกลับมาอยู่ในท่าจดมวยดังเดิม

หมัดตรงหมัดหลังเกิดจากการส่งแรงจากสะโพก ลำตัว และหัวไหล่ต่อเนื่องกัน จึงให้

พลังกำปั้นที่รุนแรง เหมาะสำหรับใช้เป็นอาวุธสำหรับเก็บคู่ต่อสู้

๓. การชกหมัดเสย หมัดเสย มักเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า หมัดสอยดาว เป็นหมัดที่ใช้ชกใน

ระยะประชิดตัว วิถีของหมัดจะพุ่งจากด้านล่างขึ้นด้านบน ขั้นตอนการปฏิบัติการชกหมัดเสย มีดังนี้

๑)  จากท่าจดมวย ง้างหมัดข้างถนัดไปข้างหลังแล้วดึงต่ำลง

๒) หงายกำปั้นขึ้น ออกแรงจากเท้าส่งผ่านสะโพก ลำตัว หัวไหล่ ปล่อยหมัดเข้าสู้

เป้าหมาย ซึ่งส่วนมากแล้วก็คือลิ้นปี่และปลายคาง

๓) เมื่อกำปั้นสัมผัสเป้าหมายดึงแขนกลับมาในท่าจดมวยเหมือนเดิม

    ๒)  การใช้เท้า   การใช้เท้าเป็นอาวุธในกีฬามวยไทยนั้น จัดเป็นอาวุธที่ใช้ในระยะห่างจากตัวคู่ต่อสู้ คำว่า เท้า

เป็นคำที่ไม่ได้ใช้เรียกแต่ภาพรวมของเท้า ในกีฬามวยไทยนั้นหมายความรวมถึงหน้าแข้งจดปลาย

นิ้วเท้า การใช้เท้าเป็นอาวุธสามารถทำได้ 2 ลักษณะ คือ การถีบและการเตะ

๑) การถีบ

โดยทั่วไปมักเข้าใจว่าการถีบเป็นการใช้อาวุธเพื่อป้องกันตัว หรือเพื่อทำลายจังหวะคู่

ต่อสู้เท่านั้น แต่ตามความเป็นจริงแล้วเมื่อใดที่มีจังหวะและโอกาสดี การถีบในกีฬามวยไทยสามารถ

นำมาใช้เป็นอาวุธสำหรับเก็บคู่ต่อสู้ได้เพราะการถีบรุนแรงบริเวณใบหน้าทำให้สายตาและศีรษะบาดเจ็บ

ได้ การถีบรุนแรงบริเวณลิ้นปี่และท้องน้อยทำให้เกิดอาการจุกเสียดได้ และการถีบที่รุนแรงบริเวณต้นขา

และหัวเข่าที่คู่ต่อสู้เตะมาทำให้กล้ามเนื้อหรือเข่าพลิกได้เช่นกันการถีบทำได้โดยใช้เท่าหน้าและเท้าหลัง

วิธีปฏิบัติมีขั้นตอน ดังนี้

         ๑) จากท่าจดมวย ทิ้งน้ำหนักไปที่ปลายเท้า

         ๒) ยกเท้าขึ้นจากพื้น งอเข่าเล็กน้อย

         ๓) ออกแรงส่งจากสะโพกผ่านหัวเข่าส่งไปยังปลายเท้า ยืดขาตรง งุ้มปลายเท้าพุ่งไปยัง

เป้าหมาย

         ๔) เมื่อปลายเท้าสัมผัสเป้าหมาย ดึงขากลับมา ทำท่าจดมวยเหมือนเดิม

การถีบนี้นอกจากจะใช้ปลายเท้าสัมผัสเป้าหมายในลักษณะจิกลงแล้ง การถีบด้วยส้นเท่า

ก็สามารถกระทำได้ และจะเกิดแรงปะทะต่อเป้าหมายมากขึ้น ท่าทางการถีบอาจใช้วิธีการยืนตรง ๆ หรือ

อาจหันด้านข้างให้คู่ต่อสู้ก่อนแล้วจึงถีบก็ได้

๒) การเตะ

การเตะก็เช่นเดียวกันกับการชก คือสามารถกระทำได้หลายวิธี หลายรูปแบบ การนำมาใช้นั้นขึ้นอยู่กับจังหวะ โอกาส และความชำนาญ การเตะรูปแบบต่าง ๆ มีดังนี้

๑.การเตะเฉียง การเตะเฉียงสามารถเตะได้ด้วยเท้าหน้าและเท้าหลัง

วิธีปฏิบัติในการเตะเฉียงมีขั้นตอน ดังนี้

๑) จากท่าจดมวย ส่งแรงสะโพกลงไปที่ปลายเท้า

๒) งอเข่าเล็กน้อย กระตุกปลายเท้าขึ้น

๓) เหวี่ยงขาเข้าหาเป้าหมาย โดยใช้แรงส่งจากสะโพก

๔) ให้บริเวณส่วนล่างของหน้าแข้ง ข้อเท้า และหลังเท้าทำงานร่วมกันเป้าหมายในการใช้การเตะเฉียง คือ บริเวณขมับ ก้านคอ ขากรรไกร ต้นแขน ซี่โครง ซึ่งบริเวณเหล่านี้เมื่อถูกการเตะเฉียงจะเกิดอาการบาดเจ็บหรืออ่อนเปลี้ยงได้ง่าย ทั้งนี้เพราะแรงปะทะที่เกิดจากการเตะเฉียงนั้นรุนแรงมาก

๒. การเตะตัด การเตะตัดก็เช่นเดียวกับการเตะเฉียง คือ สามารถเตะได้ทั้งเท้าหน้าและเท้าหลัง ซึ่งขึ้นอยู่กับจังหวะ โอกาส และกลยุทธ์ของผู้เตะ

วิธีปฏิบัติในการเตะตัดมีขั้นตอน ดังนี้

๑) จากท่าจดมวย ย่อเข่าลงเล็กน้อย

๒) ยกปลายเท้าขึ้นจากพื้นพร้อมกับถ่ายน้ำหนักตัวไปยังด้านตรงข้าม

๓) เหวี่ยงขาเข้าหาเป้าหมายในระนาบเกือบขนานพื้น

๔) ให้บริเวณส่วนล่างของหน้าแข่ง ข้อเท้า และหลังเท้าทำงานร่วมกันเป้าหมายในการใช้การเตะตัดก็คือบริเวณเอว โคนขา ข้อต่อเข่าที่เรียกว่า พับนอก พับใน และขาส่วนล่าง แรงปทะที่เกิดจากการเตะตัดมีมากพอที่จะทำลายความแข็งแรงของคู่ต่อสู้ได้ เช่นเดียวกับการเตะเฉียง

๓) การเข่า

การเข่าเป็นการใช้อาวุธที่นับว่ารุนแรงที่สุด เพราะการเข่าเกิดจากการใช้อวัยวะที่มีมุมและความแข็งแกร่ง คือหัวเข่า เข้าปะทะร่างกายคู่ต่อสู้ แต่การจะใช้เข่านั้นไม่สามารถใช้ได้ง่ายเนื่องจากไม่มีคู่ต่อสู้คนใดที่จะยอมให้ตัวเองถูกตีเข่า ดังนั้นการจะตีเข่า ฝ่ายตีเข่าจึงต้องอาศัยความแข็งแกร่งของร่างกาย กอด รัด ปล้ำ และเหนื่ยวรั้งคู่ต่อสู้มาตีเข่าให้ได้ ซึ่งโดยธรรมชาติแล้ว เป็นเรื่องที่ปฏิบัติได้ค่อนข้างยาก หรือบางครั้งฝ่ายที่กำลังตีเข่าเองกลับถูกความแข็งแกร่งที่เหนือกว่าของคู่ต่อสู้พลิกผันสถานการณ์ไปตรงข้าม การตีเข่าจึงเป็นศิลปะขั้นสูงอีกอย่างหนึ่งในกีฬามวยไทย การใช้เข่าสามารถกระทำได้ทั้งสองข้างและมีหลายลักษณะ หลายวิธี กล่าวคือ

๑. เข่าโหน 

วิธีปฏิบัติในการใช้เข่าโหนมีขั้นตอน ดังนี้

๑) จากท่าโน้มคอคู่ต่อสู้ ถ่ายน้ำหนักตัวมาด้านหลัง

๒) ยกปลายเท้าขึ้นพับข้อเข่า งุ้ยปลายเท้า

๓) ส่งแรงจากการยกปลายเท้า พุ่งเข่าเข้าปะทะเป้าหมายบริเวณลิ้นปี่ท้องน้อยและหน้าขา

การตีเข่าโหน สามารถตีได้ด้วยการใช้เข่าข้างใดข้างหนึ่ง ผู้ฝึกควรฝึกฝนจนชำนาญ เพราะไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่า คู่ต่อสู้จะเปิดจุดอ่อนทางใด

๒. เข่าตี

การใช้เข่าตีเช่นเดียวกับเข่าโหน คือ สามารถตีได้ทั้งสองข้าง โดยหากจะตีเข่าด้านซ้ายจะต้องพยายามโน้มคอคู่ต่อสู้ให้ร่างกายเอียงเข้าหาเข่าซ้ายของผู้ตีให้ได้ การตีเข่าทางขวาก็เช่นกัน

วิธีการปฏิบัติในการใช้เข่าตีมีขั้นตอน ดังนี้

๑) จากท่าโน้มคอคู่ต่อสู้ ถ่ายน้ำหนักตัวลงมาด้านข้าง

๒) ยกปลายเท้าขึ้นพับข้อเข่า งุ้มปลายเท้า

๓) บิดะโพก บิดเข่าออกทางด้านข้างที่จะตี

๔) ส่งแรงจากการยกปลายเท้า ตีเข่าจากทางด้านข้างเข่าปะทะเป้าหมายบริเวณโหนกแก้ กกหู และชายโครง

    ๔) การศอก ศอกเป็นอาวุธอันตรายซึ่งใช้กับคู่ต่อสู้ในระยะประชิดตัว กีฬามวยไทยพัฒนาการใช้ศอกได้หบายรูปแบบ

๑. ศอกตี มีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้

๑) จากท่าจดมวยหรือเมื่ออยู่ใกล้ชิดคู่ต่อสู้ในระยะประชิดตัว

๒) พับข้อศอกข้างที่จะใช้ บิดไหล่ออกด้านข้างเล็กน้อย

๓) ยกศอกขึ้นด้านบน แล้วลากลงมาฟาดไปยังเป้าหมายบริเวณใบหน้าศีรษะและคาง

๒. ศอกตัด มีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้

๑) จากท่าจดมวยหรือเมื่ออยู่ใกล้คู่ต่อสู้ในระยะประชิดตัว

๒) พับข้อศอกข้างที่จะใช้ บิดไหล่ออกด้านข้างเล็กน้อย

๓) ลากข้อศอกที่พับนั้นขนานกับพื้นเข้าปะทะเป้าหมาย บริเวณโหนกแก้มคิ้วและปลายคาง

กีฬามวยไทย เป็นกีฬาที่เป็นเอกลักษณ์ชองชาติไทยเป็นศิลปะการป้องกันตัวเองใน

ยามคับขัน สร้างเสริมร่างกายให้แข็งแรง และมีจิตใจที่แข็งแกร่ง