ประวัติมวยไทย

การพันมือ?

เทคนิคการพันข้อมือนักมวยที่ถูกต้อง ทำได้ง่าย ใช้เวลาไม่นาน แต่ช่วยป้องกันอาการบาดเจ็บที่มือได้เป็นอย่างดี         เรียกได้ว่ากีฬาชกมวยกับคนไทย ถือเป็นสิ่งที่อยู่คู่กันมาอย่างยาวนาน จนปัจจุบันกลายเป็นกีฬาที่ใครหลายคนเลือกฝึกเพื่อเสริมความแข็งแรงให้ตัวเอง ใช้ป้องกันตัว รวมถึงลดน้ำหนักด้วย แต่ก่อนที่จะชกมวยนั้น การเตรียมตัวให้พร้อมถือเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งรวมไปถึงการพันข้อมือก่อนใส่นวมด้วย ว่าแล้วกระปุกดอทคอมจึงหยิบวิธีพันข้อมือที่ถูกต้องมาแนะนำกันครับ 1.ทำไมนักมวยต้องพันข้อมือ ? เหตุผลที่นักมวยทั้งมือใหม่และมืออาชีพต้องพันข้อมือนั้น ก็เพื่อป้องกันอาการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นกับจากการชกมวย ซึ่งถือว่ามือเป็นอวัยวะที่สำคัญสุด ๆ ของกีฬาประเภทนี้ ที่อาศัยการชกเป็นหลักนั่นเอง โดยการพันมือจะช่วยป้องกันทั้งข้อต่อและกระดูกชิ้นเล็กชิ้นน้อย ซึ่งเป็นจุดที่แตกหักได้ง่าย หากมีการชกซ้ำไปซ้ำมา รวมถึงซัพพอร์ตข้อมือ นิ้ว และสันหมัดด้วย 2. ประเภทของผ้าพันข้อมือ    ผ้าพันข้อมือแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้           2.1 ผ้าพันมือแบบคอตตอน เป็นผ้าพันมือที่นิยมใช้ในการฝึกซ้อม มีความยืดหยุ่นสูง มาพร้อมกับตีนตุ๊กแก ช่วยให้ไม่หลุดง่าย           2.2 ผ้าพันมือแบบเม็กซิกัน ผ้าประเภทนี้จะดูคล้ายกับแบบแรก แต่มีความแตกต่างกันตรงวัสดุที่ใช้ในการผลิต ซึ่งผ้าพันมือแบบเม็กซิกันจะใช้ผ้าทอผสมกับเส้นใยอีลาสติก ที่ให้ความยืดหยุ่นพอสมควร แต่น้อยกว่าแบบแรก          2.3 ผ้าก๊อซ หรือ ผ้าพันแผลที่หลายคนรู้จักกันดี เป็นผ้าที่มักใช้พันข้อมือร่วมกับเทปกาว เพื่อลงแข่งขันชกมวยแบบจริงจังมากกว่าการฝึกซ้อม ทั้งยังเป็นแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งด้วย วิธีพันข้อมือนักมวยที่ถูกต้อง เลือกใช้ผ้าพันมือแบบมีห่วงสำหรับสอดนิ้วโป้งและมีตีนตุ๊กแก ซึ่งจะช่วยให้พันข้อมือได้สะดวกยิ่งขึ้น เริ่มจากนำนิ้วโป้งสอดเข้าไปในห่วงของผ้าพันมือให้เรียบร้อย จากนั้นให้พันวนรอบด้านหลังมือ พร้อมดึงผ้าให้ตึง ต่อมาให้พันบริเวณข้อมือสัก 3-4 รอบ ขึ้นอยู่กับความยาวของผ้าพันมือที่เลือกใช้ เพราะยิ่งยาวก็ยิ่งพันได้หลายรอบ ซึ่งช่วยซัพพอร์ตข้อมือได้ดีกว่า แล้วให้ขยับขึ้นมาพันรอบฝ่ามือสัก 3-4 รอบเช่นกัน ซึ่งในการพันแต่ละรอบ ควรดึงผ้าให้ตึงอยู่เสมอ จากนั้นให้พันผ้าเป็นรูปตัว X โดยพันไขว้ขึ้นเข้าไปในช่องระหว่างนิ้วก้อยและนิ้วนาง แล้วพันกลับขึ้นมาทางช่องระหว่างนิ้วชี้และนิ้วโป้ง พันเป็นรูปตัว X เข้าไปในช่องระหว่างนิ้วที่เหลือ ซึ่งก็คือระหว่างนิ้วนางและนิ้วกลาง กับระหว่างนิ้วกลางและนิ้วชี้ ดึงผ้าให้ตึง แล้วพันผ้ารอบนิ้วโป้ง 1 รอบ  ต่อมาให้พลิกฝ่ามือขึ้นเพื่อพันผ้าสำหรับล็อกนิ้วโป้ง โดยการพันที่ข้อมือและนิ้วโป้งตามภาพ จากนั้นก็พันผ้ารอบฝ่ามืออีก 3-4 รอบ พันให้แน่นเข้าไว้ ส่วนผ้าที่เหลือให้ใช้พันข้อมือสลับกับฝ่ามือจนสุด แล้วปิดทับด้วยตีนตุ๊กแก ก็เป็นอันว่าเสร็จ หลังจากพันข้อมือเสร็จเรียบร้อยแล้ว           เมื่อได้ทราบอย่างนี้แล้ว ใครที่อยากลองออกกำลังด้วยการฝึกชกมวยบ้างละก็ ลองใช้วิธีพันข้อมือข้างต้นกันได้เลย บอกเลยว่าช่วยป้องกันอาการบาดเจ็บที่มือได้ดีในระดับหนึ่งเลยทีเดียว ส่วนคนที่อยากได้นวมดี ๆ สักอันมาไว้ใช้บ้าง ก็คลิกไปชมวิธีเลือกนวมชกมวยที่นี่เลยครับ

การออกอาวุธมวยไทย?

การใช้อาวุธมวยไทย เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปแล้วว่ามวยไทยเป็นศิลปะการต่อสู้ที่ใช้อวัยวะทุกส่วนของร่างกายผสมผสานการเคลื่อนไหวด้วยจังหวะที่กลมกลืน กับแรงส่งหรือเป็นอาวุธในการจู่โจมคู่ต่อสู้และป้องกันตัว ดังนั้นการฝึกหัดฝึกฝนมวยไทยผู้เรียนจึงควรต้องเรียนรู้อย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับการใช้ อวัยวะของร่างกายซึ่งแบ่งออกเป็นส่วนใหญ่โดยภาพรวม คือ หมัด เท้า เข่า ศอก การใช้อวัยวะดังกล่าวสามารถแยกแยะออกเป็นหมวดหมู่ ย่อยได้มากมายจนกล่าวได้ว่าการใช้อวัยวะเหล่านั้นได้อย่างชำนาญคือต้นกำเนิดที่มาของคำว่า “ศิลปะมวยไทย” ทักษะสำคัญที่ควรเรียนรู้ในการชกมวยไทยนั้นประกอบไปด้วย

ข้อสอบท้ายบท

 มวยไทยเริ่มขึ้นในสมัยไม่ปรากฏ   และไม่มีหนังสือเล่มใดเขียนไว้ว่าจะเกิดขึ้นในสมัยใด  แต่เท่าที่ได้ปรากฏนั้นมวยไทยได้เกิดขึ้นมานานแล้วและอาจเกิดขึ้นมาพร้อมๆกับชาติไทย เพราะมวยไทยนั้นเป็นศิลปะประจำชาติไทยเราจริงๆยากที่ชาติอื่นจะลอกเลียนแบบได้

         มวยไทยในสมัยก่อนเท่าที่ทราบจะมีการฝึกฝนอยู่ในบรรดาหมู่ทหาร เพราะในสมัยก่อนไทยเราได้มีการรบพุ่งและสู้รบกันกับประเทศเพื่อนบ้านบ่อยครั้ง การสู้รบในสมัยนั้นยังไม่มีปืนจะสู้กันแต่ดาบสองมือและมือเดียว เมื่อเป็นเช่นนี้การรบพุ่งก็มีการรบประชิดตัว คนไทยเห็นว่าในสมัยนั้นการรบด้วยดาบเป็นการรบพุ่งที่ประชิดตัวมากเกินไปบางครั้งคู่ต่อสู้อาจเข้ามาฟันเราได้ง่าย คนไทยจึงได้ฝึกหัดการถีบและเตะคู่ต่อสู้เอาไว้เพื่อคู่ต่อสู้จะได้เสียหลักแล้วเราจะได้เลือกฟันง่ายขึ้นทำให้คู่ต่อสู้แพ้ได้

       ต่อมาเมื่อในหมู่ทหารได้มีการฝึกถีบเตะแล้วก็เกิดมีผู้คิดว่าทำอย่างไรจึงจะใช้การถีบเตะนั้นมาเป็นศิลปะสำหรับการต่อสู้ด้วยมือได้ จึงต้องให้มีผู้ที่จะคิดจะฝึกหัดการต่อสู้ป้องกันตัวสำหรับการใช้แสดงเวลามีงานเทศกาลต่างๆไว้อวดชาวบ้านและเป็นของแปลกสำหรับชาวบ้าน เมื่อเป็นเช่นนี้นานเข้า ชาวบ้านหรือคนไทยได้เห็นการถีบเตะแพร่หลายและบ่อยครั้งเข้า จึงทำให้ชาวบ้านมีการฝึกหัดมวยไทยกันมากจนถึงกับตั้งเป็นสำนักฝึกกันมากมาย แต่สำหรับที่ฝึกมวยไทยนั้นก็ต้องเป็นสำนักดาบที่มีชื่อดีมาก่อนและมีอาจารย์ดีไว้ฝึกสอน

ดังนั้นมวยไทยในสมัยนั้นจึงฝึกเพื่อความหมาย ๒ อย่างคือ

                              ๑. เพื่อไว้สำหรับสู้รบกับข้าศึก

                              ๒. เพื่อไว้ต่อสู้ป้องกันตัว 

สมัยกรุงสุโขทัย
พ.ศ.1781 – 1921 ในสมัยสุโขทัยนี้ การต่อสู้มือเปล่าด้วยวิชามวยไทย ก็มีใช้อยู่ในการต่อสู้กับข้าศึกและเป็นการใช้ร่วมกับอาวุธมือถือชนิดต่างๆ สถานที่ที่เป็นสำนักฝึกสอนวิชามวยไทยในสมัยนี้ ได้แก่ วัด บ้าน สำนักราชบัณฑิตที่เปิดสอนวิชาการต่อสู้ป้องกันตัวรวมอยู่ด้วย

สมัยกรุงศรีอยุธยา
           พ.ศ.1893 – 2310 สมัยนี้มีการถ่ายทอดวิชาการต่างๆมาจากสมัยสุโขทัยอย่างต่อเนื่อง เช่นการล่าสัตว์ การคล้องช้าง การฟ้อนรำ และการละเล่นต่างๆและวัดก็ยังคงเป็นสถานที่ให้ความรู้ทั้งวิชาสามัญและฝึก ความชำนาญในเชิงดาบ กระบี่กระบอง กริช มวยไทย ยิงธนู เป็นต้น
พ.ศ. 2174 – 2233 สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช นับว่าเจริญที่สุดมีกีฬาหลายอย่างในสมัยนี้ เช่น การแข่งเรือ การชกมวย สมัยพระเจ้าเสือ หรือขุนหลวงสรศักดิ์ พระองค์ทรงชอบกีฬาชกมวยมาก ครั้งหนึ่งพระองค์พร้อมด้วยมหาดเล็ก 4 คน แต่งกายแบบชาวบ้านนอกไปเที่ยวงานมหรสพที่ตำบลราดรวด แล้วพระองค์ก็สมัครชกมวยในงานนั้น ในนามว่า นายเดื่อ โดยไม่เกี่ยงว่าคู่ต่อสู้จะเป็นใคร พอทางสนามรู้ว่าพระองค์เป็นนักมวยมาจากอยุธยาจึงได้จัดนักมวยฝีมือดีจาก เมืองวิเศษไชยชาญที่มีอยู่ ได้แก่ นายกลางหมัดมวย นายใหญ่หมัดเหล็ก นายเล็กหมัดหนัก ชกกับพระเจ้าเสือ และพระองค์ก็ชกชนะทั้งสามคนรวดนายขนมต้ม หลังจากกรุงศรีอยุธยาแตก พ.ศ. 2310 คนไทยถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลยมาก ครั้นต่อมามีการจัดงานเฉลิมฉลองพระเจดีย์ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระบรม สารีริกธาตุที่กรุงร่างกุ้ง
พระเจ้ามังระกษัตริย์พม่า ได้สั่งให้จัดมวยหน้าพระที่นั่งขึ้น เพื่อชมนักมวยไทยชกกับนักมวยพม่า
ใน ครั้งนั้น สุกี้ พระนายกองค่ายโพธิ์สามต้น ที่ได้กวาดต้อนนักมวยชาวไทยไว้ที่กรุงอังวะหลายคน รวมทั้งนายขนมต้ม ที่ได้สร้างประวัติศาสตร์มวยไทยสืบต่อมาจนถึงปัจจุบันเมื่อพระเจ้ามังระโปรด ให้จัดนักมวยพม่าเปรียบกับนักมวยไทย คนไทยในพม่าก็ได้ส่งนายขนมต้มผู้มีรูปร่างล่ำสัน บึกบึน ผิวดำ เข้าไปจับคู่กับนักมวยพม่า กรรมการนำนักมวยไทยออกมากลางลานและประกาศชื่อนายขนมต้มว่าเป็นนักมวยมีชื่อ จากกรุงศรีอยุธยา เชลยไทยที่มุงดูพากันโห่ร้องเพื่อเป็นกำลังใจ

สมัยกรุงธนบุรี
          พ.ศ. 2314 พม่ายกทัพมาตีเมืองเชียงใหม่ และมาตีเมืองพิชัย พระยาพิชัย (นายทองดี ฟันขาว) ซึ่งพระเจ้ากรุงธนบุรี(พระเจ้าตากสิน) ได้โปรดให้ครองเมืองพิชัยอยู่นั้นได้นำทัพออกต่อสู้กับพม่าจนดาบหัก แต่ก็สามารถป้องกันเมืองพิชัยเอาไว้ได้ ประชาชนทั่วไปจึงเรียกว่า พระยาพิชัยดาบหัก ตั้งแต่นั้นมา
เรื่องของพระยาพิชัยดาบหัก ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ในรัชกาลสมเด็จพระที่นั่งสุริยามรินทร์ ก่อนกรุงแตกเป็นยุคสงครามกับพม่า มีหนุ่มชาวบ้านห้วยคาเมืองพิชัย หรืออุตรดิตถ์ ชื่อนายจ้อย หรือ ทองดี ฟันชาว เป็นผู้สนใจในวิชาเพลงมวย เที่ยวเสาะหาวิชาไปตามสำนักต่าง ๆ จนมีฝีมือพอตัว จึงเที่ยวเปรียบหาคูชกจนมีชื่อเสียงโด่งดังและได้ฝากตัวอยู่กับพระยาตาก ซึ่งต่อมาคือพระเจ้ากรุงธนบุรีหรือพระเจ้าตากสินมหาราชที่ได้ทรงแต่งตั้งนาย ทองดีไปครองเมืองพิชัยและมีความชอบได้เป็นถึงพระยาพิชัย ในเวลาต่อมาแม้กระทั่งในตระกูลของพระยาพิชัยดาบหัก เมื่อรับราชการมาจนถึงรัชกาลที่ 6 ก็ได้รับพระราชทาน นามสกุลว่า วิชัยขัทคะ แปลว่า ดาบวิเศษของพระยาพิชัย สมัยกรุงธนบุรี มีการเล่นกีฬามวยไทย กระบี่กระบอง แข่งเรือ ว่าว ตะกร้อ หมากรุก ชักคะเย่อ

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
          พ.ศ.2325 ในระยะต้น รัชกาลที่ 1 – 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ กษัตริย์ไทยที่ทรงโปรดการกีฬามาก เช่น สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงโปรดกีฬามวยไทยอย่างต่อเนื่อง ในสมัยนี้ได้มีฝรั่งสองคนพี่น้องเข้ามาหาคู่ชกมวยชนิดมีเดิมพัน พระองค์ได้จัดส่งหมื่นผลาญนักมวยผู้เก่งกาจขึ้นชกกับฝรั่งสองพี่น้อง แม้หมื่นผลาญจะมีร่างกายเล็กเสียเปรียบฝรั่งมาก แต่ด้วยศิลปะมวยไทย อาวุธหมัด เท้า เข่า ศอก ฝรั่งสองพี่น้องจึงพ่ายแพ้ยับเยินกลับไป สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดให้พระเจ้าลูกยาเธอหลายพระองค์หัดเล่นกระบี่กระบอง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์มีความชำนาญในกีฬามวยไทยจึงจัดให้มีการแข่งขันชกมวยขึ้นในชนบทและใน กรุง นอกจากนี้ได้ทรงแต่งตั้งผู้มีฝีมือในกีฬามวยให้เป็นหัวหน้าในการจัดกีฬา และให้มียศตำแหน่งด้วย เช่น พระไชยโชคชกชนะ แห่งพระนคร, หมื่นมวยมีชื่อ จากไชยา,หมื่นมวยแม่นหมัด จากลพบุรี, หมื่นชงัด เชิงชก จากโคราช

การจัดการแข่งขันมวยไทย
         การแข่งขันมวยไทยครั้งสมัยโบราณ ไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีกติกาแน่นอนอย่างไรบ้าง ผู้มีอำนาจเด็ดขาด ได้แก่ นายสนามมวย แต่เมื่อมวยสากลได้รับการเผยแพร่เข้ามาครั้งแรก โดยหม่อมเจ้าวิบูลย์สวัสดิ์วงศ์ สวัสดิกุล เมื่อ พ.ศ. 2455 ทางวงการมวยไทยจึงได้วางกติกาขึ้น ซึ่งการชกในสมัยนี้ก็ยังคงมีการคาดเชือกกันอยู่ ต่อมาจึงได้สวมนวมชกกัน แต่การชกก็ยังเหมือนเดิม คือยังใช้การถีบ เตะ ชก ศอก เข่า ดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบันมวยไทยเป็นกีฬาที่เก่าที่สุดของเรา ได้วิวัฒนาการในเรื่องของกติกาและการจัดการแข่งขันมาจนถึงปัจจุบัน โดยย่อ ๆ ดังนี้
พ.ศ. 2477 กระทรวงมหาดไทยได้ร่างกติกาคุ้มครองมวยไทยและมวยสากล เพื่อเป็นการแข่งขันชั่วคราว
พ.ศ.2479 กรมพลศึกษา มีหน้าที่ในการจัดการแข่งขันมวยโดยตรง ได้ตั้งกรรมการขึ้นชุดหนึ่งทำการปรับปรุงแก้ไขกติกามวยไทยและมวยสากล และประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2480 เป็นต้นมา และได้จัดพิมพ์ครั้งที่ 1 เมื่อ พ.ศ.2482
การแข่งขันที่เป็นหลักฐานเริ่มอย่างจริงจังในสมัยรัชกาล ที่ 6 (ก่อนหน้านี้ขึ้นไปไม่มีหลักฐานที่แน่นอน) ซึ่งพอจะแบ่งออกเป็นสมัยต่าง ๆ ได้ 5 สมัย ดังนี้
         1. สมัยสวนกุหลาบ สมัยนี้ประชาชนนิยมการชกมวย และชมการแข่งขันชกมวยกันเป็นจำนวนมาก การชกมวยไทยในสมัยนี้ยังมีการคาดเชือก (นักมวยสมัยเก่าใช้ด้ายดิบเส้นโตขนาดดินสอดำชุบแป้งให้แข็ง พันมือตั้งแต่สันมือตลอดถึงข้อศอก และพันรัดเป็นปมทางด้านหลังของข้อนิ้วมือหรือสันหมัด เป็นรูปก้นหอย ที่เรียกกันว่า”คาดเชือก”) การชกได้กำหนดจำนวนยกไว้แน่นอนแล้ว มีกรรมการชี้ขาด ผู้ตัดสินส่วนมากนั่งอยู่ข้างเวทีและให้อาณัติสัญญาณนักมวยหยุดชกด้วยเสียง หรือนกหวีด

        2. สมัยท่าช้าง ในสมัยนี้เป็นสมัยหัวเลี้ยวหัวต่อ จากการคาดเชือกมาเป็นสวมนวม (พ.ศ. 2462) สมัยนี้ได้ดำเนินการจัดการแข่งขันมาเป็นระยะเวลานานพอสมควรในที่สุดสนามก็ เลิกไป กรรมการผู้ชี้ขาดที่มีชื่อเสียงในสมัยนี้ก็คือ นายทิม อติเปรมานนท์ และนายนิยม ทองชิตร์

       3. สมัยสวนสนุก การจัดการแข่งขันในสมัยนี้นายสนามดำเนินงานได้ดี และยืนยาวอยู่หลายปี นักมวยที่มีชื่อเสียง เช่น สมาน ดิลกวิลาศ และสมพงศ์ เวชชสิทธิ์ สมัยนี้มีการแข่งขันทั้งมวยไทยและมวยสากล กรรมการผู้ตัดสินที่มีชื่อเสียง ได้แก่ หลวงพิพัฒน์ พลกาย นายสุนทร ทวีสิทธิ์ (ครูกิมเส็ง) และ นายนิยม ทองชิตร์

      4. สมัยหลักเมืองและสวนเจ้าเชษฐ์ การแข่งขันชกมวยในสมัยนี้เข้มแข็งยิ่งขึ้น เพราะทางราชการทหารเข้ามาร่วมมือช่วยเหลือ และมีผลเป็นรายได้บำรุงกองทัพจำนวนมาก นักมวยที่มีชื่อในยุคนี้ได้แก่
สุข ปราสาทหินพิมาย ผล พระประแดง เพิก สิงหพัลลภ ประเสริฐ ส.ส. ถวัลย์ วงศ์เทเวศน์ และทองใบ
ยนตร กิจ การแข่งขันสมัยนี้ดำเนินมาหลายปีจนถึงสมัยสงครามโลกครั้งที่สองจึงได้เลิกไป กรรมการผู้ตัดสินในสมัยนี้ได้แก่ นายสังเวียน หิรัญเลขา นายเจือ จักษุรักษ์ และนายวงศ์ หิรัญเลขา

       5. สมัยปัจจุบัน ได้ทำการแข่งขัน ณ เวทีราชดำเนินและเวทีลุมพีนีเป็นประจำ และยังมีเวทีมวยที่เปิดการแข่งขันถาวรและชั่วคราวทั้งในกรุงเทพฯและต่าง จังหวัดอีกมากมาย
ปัจจุบันมี พระราชบัญญัติกีฬามวย พ.ศ.2542 มีสำนักงานคณะกรรมการกีฬามวย สำนักงานกีฬาอาชีพ ของการกีฬาแห่งประเทศไทย ที่ได้จัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.นี้ ให้มีหน้าที่ส่งเสริม คุ้มครอง สนับสนุน และควบคุมกิจการมวยในประเทศไทยให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ซึ่งนับว่าเป็นกฎหมายฉบับแรกของวงการมวยเมืองไทย