หน่วยการเรียนรู้ที่ 11 อย่าเปิดโอกาศ?

สถานการณ์และโอกาสที่จะนำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ เป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งของการมีเพศสัมพันธ์ในวัยรุ่น ดังนั้นการปล่อยตัวให้เข้าไปอยู่ในสถานการณ์ดังกล่าว จึงเป็นสิ่งที่หน้าเป็นห่วสำหรับปัจจัยทางสังคม เช่น สื่อต่างๆ วัฒนธรรมที่เปลี่ยนไป อิทธิพลของกลุ่มเพื่อน ก็มีผลสนับสนุนให้เกิดการมีเพศสัมพันธ์เหมือนกัน ในเรื่องของการล่วงเกินทางเพศนั้น ส่วนใหญ่ผู้ถูกกระทำจะเป็นผู้หญิง ซึ่งมักเป็นเด็กและวัยรุ่นตลอดจนเด็กชาย

หน่วยการเรียนรู้ที่ 12 เข้าใจดีไม่มีปัญหา

หน่วยการเรียนรู้ที่ 13 ตัดสินใจดีไม่มีเสี่ยง

หน่วยการเรียนรู้ที่ 14 สื่อสารดีแท้ช่วยแก้ปัญหา

หน่วยการเรียนรู้ที่ 15 เอดส์มหันตภัยใกล้ตัว

แบบสอบถามความพึงพอใจ

11.2 ปัจจัยเสี่ยงของสังคมที่มีต่อการมีเพศสัมพันธ์
 

          สถานการณ์เสี่ยงเรื่องเพศในสังคมหมายถึงสถานการณเหตุการณ์หรือพฤติกรรมของบุคคลที่ไม่ปลอดภัย ที่อาจนำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่คาดคิดมาก่อนเช่นหน่อยไปเที่ยวผับกับเพื่อน นิดไปงานฉลองวันเรียนจบชั้นม.๖บ้านเพื่อนที่มีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ น้อย ไปนอนค้างบ้านเพื่อน ต้อยนั่งซ้อนมอเตอร์ไซด์กับเพื่อนชายไปเที่ยวตามลำพังสองต่อสองก้อยใส่เสื้อผ้าที่โปร่งบาง และกางเกงขาสั้นๆ เป็นต้น หรืออาจมีปัจจัยและสถานการณ์ เสี่ยง

ปัจจัยและสถานการณ์ในสังคมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่นใน

คือการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรช่วงวัยรุ่นควรเป็นวัยแห่งการเรียนรู้เพื่อการมีอนาคตที่ดี ยังไม่ใช่วัยที่ควรจะมีความรัก มีเพศสัมพันธ์ มีคู่ครอง อย่างไรก็ตามในปัจจุบันการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มมากขึ้น และในขณะเดียวกันอายุของการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกก็ลดลงด้วย จากผลการสำรวจ เมื่อปี ๒๕๔๘ โดยกระทรวงสาธารณสุข พบว่าวัยรุ่นที่มีเพศสัมพันธ์เร็วขึ้นมีอายุอยู่ระหว่าง ๑๓ – ๑๕ปี โดยเฉลี่ยอายุ ๑๔. ๖๖ปี ซึ่งการที่วัยรุ่นมีเพศสัมพันธ์
ก่อนวัยอันควรมีผลมาจากสถานการณ์เสี่ยงในเรื่องเพศ และปัจจัยที่เสี่ยงทางสังคม ได้แก่
ปัญหาครอบครัวแตกแยก พ่อแม่หย่าร้างกันในครอบครัว
ปัญหาการขาดความอบอุ่น ขาดความสุขในครอบครัว
ปัญหาสังคมมีแหล่งมั่วสุมแหล่งอบายมุข
ปัญหาบุคคลในสังคมมั่วสุมอบายมุข
ปัญหาการคุกคามทางเพศจากคนใกล้ชิด เช่น เพื่อน ญาติ พี่น้อง พ่อ เป็นต้น
ปัญหาคนในสังคมขาดการศึกษาที่ดี
ปัญหาเด็กขาดการให้คำแนะนำ ปรึกษาจากบุคคลรอบข้างที่ดี ที่ถูกต้อง
ปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศ
ปัญหาคนในสังคมขาดคุณธรรม จริยธรรม เป็นแบบอย่างที่ไม่ดี

การป้องกันเพื่อหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงจากพฤติกรรมทางเพศ
๑.หลีกเลี่ยง การแต่งกายที่ ยั่วยวนโป๊โชว์สัดส่วนเรือนร่างเลียนแบบละครโทรทัศน์สื่อต่างๆ หรือแสดงกิริยาอาการที่เสี่ยงต่อพฤติกรรมทางเพศเพราะการแต่งกายที่ยั่วยุจะเสี่ยงต่อการถูกกระ
ตุ้นความรู้สึกทางเพศ   
๒.การแต่งกายที่เหมาะสมกับกาลเทศะ 
หมายถึง การแต่งกายที่มีการเลือกผ้า สี เลือกลาย และเลือกแบบ ที่สวมใส่ให้เหมาะสมกับผู้สวมใส่ เหมาะสมกับสถานที่ที่จะไป และงานที่จะไปร่วมกิจกรรม เช่น ไปงานทำบุญที่วัด ไปสถานที่ราชการ ไปงานศพ งานขึ้นบ้านใหม่ งานที่โรงแรม เป็นต้น เหมาะกับฤดูกาล เสื้อผ้าที่สวมต้องเลือกให้เหมาะสม เช่น ฤดูฝน ฤดูร้อน ฤดูหนาว เป็นต้น
๓ . หลีกเลี่ยง การสนทนาเรื่องทะเล้น ลามกกับเพื่อนชายในเรื่องเพศ เพราะส่วนใหญ่จะเริ่มต้นด้วยการพูดคุยก่อน แล้วพัฒนาต่อเนื่องไปจนถึงการถูกลวนลาม ล่วงละเมิดทางเพศ
๔ 
. หลีกเลี่ยง การเดินทางไปต่างหมู่บ้าน ต่างอำเภอ หรือต่างจังหวัดกับเพื่อนชาย สองต่อสองตามลำพัง ซึ่งหากมีความจำเป็น ควรไปกับเพื่อน ยิ่งมากยิ่งดี และต้องบอกให้ผู้ปกครองรู้ด้วยว่าไปที่ใด ไปกับใคร จะกลับเมื่อไร
๕ . หลีกเลี่ยง 
การอยู่ใกล้ชิดกับเพศตรงข้าม และเลี่ยงการให้เพื่อนชายแตะเนื้อต้องตัวจนถือเป็นเรื่องปกติ เพราะหากเกิดเหตุการณ์ถูกลวนลาม คนทั่วไปจะเห็นเป็นเรื่องที่ ผู้หญิง ให้ท่า จากการสำรวจพบว่า   การจับมือถือแขนมีโอกาสเกิดเพศสัมพันธ์ ๑๐% การโอบกอดมีโอกาสเกิดเพศสัมพันธ์ ๒๐ % การจูบมีโอกาสเกิดเพศสัมพันธ์ ๖๐ % การสัมผัสภายนอกมีโอกาสเกิดเพศสัมพันธ์ ๘๐%
๖. หลีกเลี่ยง 
การปฏิบัติตนที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์เสี่ยง เช่น การอยู่ใน ที่ลับตาคน การอยู่ด้วยกันสองต่อสองในยามวิกาล การใช้เครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ สารเสพติด โดยเฉพาะวัยรุ่นที่นิยมดื่มเบียร์ ทำให้ขาดความยับยั้งชั่งใจ   นำไปสู่การดูสิ่งยั่วยุจากสื่อต่างๆ เป็นต้นและสามารถคิดวิเคราะห์เพื่อประเมินสถานการณ์เสี่ยงดังกล่าวว่าควรตัดสินใจอย่างไรจึงปลอดภัย ๗. หลีกเลี่ยง การอยู่สองต่อสองกับเพศตรงข้าม ในสถานที่เกิดความเสี่ยง( ซอยเปลี่ยว จุดที่ลับตาคน จุดที่มีทางเข้าออกทางเดียว จุดที่มีแสงสว่างน้อย) ช่วงเวลาที่เสี่ยง( กลางคืน เลิกเรียน วันหยุด) และบุคคลที่เสี่ยง ( บุคคลที่อยู่ใกล้ตัวเรา เช่น เพื่อนสนิท เพื่อนนักเรียน หรือบุคคลที่เราต้องมีปฏิสัมพันธ์ด้วย ในสถานที่ต่างๆ เช่น สวนสาธารณะ ช่างซ่อมบ้าน บริเวณป้ายรถเมล์ คนขับแท็กซี่ เป็นต้น)
๘.หลีกเลี่ยง การเดินกลับบ้านพักในเวลาดึก บ้านพักอยู่ในซอยลึกเปลี่ยว แสงสว่างไม่เหมาะสม ไม่มีเพื่อนร่วมเดินทาง และเกิดความประมาท ซึ่งปัจจัยนี้ก่อให้เกิดอันตรายในการก่อเหตุร้ายมากที่สุด ๙.ควรเรียนรู้ศิลปะป้องกันตัว ฝึกสังเกตสภาพแวดล้อม และที่สำคัญในช่วง เวลาที่วิกฤตต้องมีสติตลอดเวลา รู้จักเอาตัวรอดเช่น