หน่วยการเรียนรู้ที่ 11 อย่าเปิดโอกาศ?

สถานการณ์และโอกาสที่จะนำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ เป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งของการมีเพศสัมพันธ์ในวัยรุ่น ดังนั้นการปล่อยตัวให้เข้าไปอยู่ในสถานการณ์ดังกล่าว จึงเป็นสิ่งที่หน้าเป็นห่วสำหรับปัจจัยทางสังคม เช่น สื่อต่างๆ วัฒนธรรมที่เปลี่ยนไป อิทธิพลของกลุ่มเพื่อน ก็มีผลสนับสนุนให้เกิดการมีเพศสัมพันธ์เหมือนกัน ในเรื่องของการล่วงเกินทางเพศนั้น ส่วนใหญ่ผู้ถูกกระทำจะเป็นผู้หญิง ซึ่งมักเป็นเด็กและวัยรุ่นตลอดจนเด็กชาย

หน่วยการเรียนรู้ที่ 12 เข้าใจดีไม่มีปัญหา

หน่วยการเรียนรู้ที่ 13 ตัดสินใจดีไม่มีเสี่ยง

หน่วยการเรียนรู้ที่ 14 สื่อสารดีแท้ช่วยแก้ปัญหา

หน่วยการเรียนรู้ที่ 15 เอดส์มหันตภัยใกล้ตัว

แบบสอบถามความพึงพอใจ

14.3 การต่อลองและการปฏิเสธ

ทักษะการปฏิเสธ

ทักษะการปฏิเสธ
ทักษะการปฏิเสธเป็นทักษะสื่อสารเพื่อแสดงความรู้สึกนึกคิดของตนเองให้ผู้อื่นรับรู้และยอมรับว่าตนเองไม่เห็นด้วย โดยไม่เสียสัมพันธภาพอันดีต่อกัน
องค์ประกอบของการปฏิเสธ มีดังนี้
๔.๑ คุณลักษณะของการปฏิเสธ
    ๑) การปฏิเสธเป็นสิทธิและความต้องการโดยชอบธรรมที่จะปฏิเสธ
    ๒).การที่จะปฏิเสธหรือไม่นั้นต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง เพราะในเรื่องเดียวกันแต่ถ้าคนละสถานการณ์ ก็อาจปฏิเสธได้ทั้งที่ในสถานการณ์ครั้งก่อนไม่ปฏิเสธ
    ๓) .มีการพิจารณาถึงพฤติกรรม ว่าพฤติกรรมนั้นควรปฏิเสธหรือไม่
    ๔).มีองค์ประกอบในด้านความรู้สึก การแสดงพฤติกรรมที่ต้องการ และความคิดเห็นส่วนบุคคลเข้ามาเกี่ยวข้อง
 ๔.๒ หลักการปฏิเสธ
    ๑) ควรปฏิเสธด้วยคำพูด น้ำเสียง ท่าทางที่จริงจังแต่มีความสุภาพ เพื่อแสดงความตั้งใจอย่างชัดเจนในการปฏิเสธ
    ๒) แสดงความรู้สึกและพฤติกรรมประกอบไปกับเหตุผล
    ๓) การขอความเห็นส่วนร่วมกับการแสดงการขอบคุณ การขอโทษ เพื่อรักษาน้ำใจและสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน
    ๔) มีสมาธิในการปฏิเสธเมื่อถูกรบเร้าไม่ควรหวั่นไหวหรือลังเล ควรยืนยันการปฏิเสธ และหาทางออกโดยวิธีการดังนี้
            -ควรปฏิเสธซ้ำโดยไม่ต้องใช้ข้ออ้าง พร้อมทั้งกล่าวคำอำลา โดยไม่ฟังคำพูดอื่นใดอีก เพื่อไม่ให้เกิดความลังเลใจ หรือขาดความเชื่อมั่นในตนเอง
            -มีการต่อรองหรือผัดผ่อน โดยการหากิจกรรมอื่นมาทดแทน
            -มีการผัดผ่อน โดยยืดระยะเวลาออกไป เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนใจ
๔.๓ การเลือกใช้ทักษะการปฏิเสธ

        ๑) ไม่ชอบหรือไม่ต้องร่วมกิจกรรมต่างๆ ซึ่งทำให้เกิดความอึดอัดหรือคับข้องใจก็ควรใช้ทักษะการปฏิเสธ
        ๒) เมื่อรู้สึกลังเลใจต่อการเลือกสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง ก็ควรใช้ทักษะการปฏิเสธสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่งเสีย
        ๓) เมื่อรู้สึกว่าสถานการณ์นั้นเสี่ยงต่อตนเอง ก็ควรใช้ทักษะการปฏิเสธในสถานการณ์ ดังกล่าวนั้น

๔.๔ ประโยชน์ของการปฏิเสธ
        ๑) เป็นการแสดงสิทธิอันชอบธรรมของบุคคลต่อการแสดงความรู้สึกไม่พอใจความขัดแย้งของตนเอง ต่อผู้อื่นโดยไม่เสียสัมพันธภาพ
        ๒) ทำให้เกิดความปลอดภัยหรือป้องกันการเกิดความสูญเสียซึ่งอาจเกิดขึ้นได้
        ๓) เป็นการระงับความขัดแย้งหรือเพื่อการรักษาสัมพันธภาพที่ดีต่อกันให้คงอยู่
        ๔) ใช้ในการแก้ไขปัญหา รวมทั้งสถานการณ์เสี่ยงต่อสุขภาพและเหตุการณ์ต่างๆในชีวิตประจำวัน

ตัวอย่างการใช้ทักษะการปฏิเสธ
บอยมาหาบีที่บ้านเพื่อช่วยกันทำรายงาน หลังทำรายงานเสร็จบอยจึงใช้คำพูดขอหอมแก้มบีและบอกว่ารักบีมาก
บอย: “เราขอหอมแก้มบีได้มั้ย บอยรักบีนะ”
บี: “บีว่าอย่าดีกว่านะ มันไม่เหมาะสม เพราะเรายังเด็กกันอยู่ อย่าทำอะไรแบบนี้เลย”
บอย: “บีไม่รักบอยเหรอ”
บี: “บีก็รักบอย แต่ตอนนี้ยังไม่ถึงเวลา เราควรเป็นเพื่อนกันไปก่อน และทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด เรียนหนังสือให้จบ มีงานทำและสามารถรับผิดชอบตนเองได้ นั่นคือ เวลาที่เหมาะสมสำหรับเรื่องนี้”
บอย: “บอยขอโทษ ต่อไปบอยจะไม่ทำอย่างนี้อีก”