หน่วยการเรียนรู้ที่ 11 อย่าเปิดโอกาศ?

สถานการณ์และโอกาสที่จะนำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ เป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งของการมีเพศสัมพันธ์ในวัยรุ่น ดังนั้นการปล่อยตัวให้เข้าไปอยู่ในสถานการณ์ดังกล่าว จึงเป็นสิ่งที่หน้าเป็นห่วสำหรับปัจจัยทางสังคม เช่น สื่อต่างๆ วัฒนธรรมที่เปลี่ยนไป อิทธิพลของกลุ่มเพื่อน ก็มีผลสนับสนุนให้เกิดการมีเพศสัมพันธ์เหมือนกัน ในเรื่องของการล่วงเกินทางเพศนั้น ส่วนใหญ่ผู้ถูกกระทำจะเป็นผู้หญิง ซึ่งมักเป็นเด็กและวัยรุ่นตลอดจนเด็กชาย

หน่วยการเรียนรู้ที่ 12 เข้าใจดีไม่มีปัญหา

หน่วยการเรียนรู้ที่ 13 ตัดสินใจดีไม่มีเสี่ยง

หน่วยการเรียนรู้ที่ 14 สื่อสารดีแท้ช่วยแก้ปัญหา

หน่วยการเรียนรู้ที่ 15 เอดส์มหันตภัยใกล้ตัว

แบบสอบถามความพึงพอใจ

14.1 การสื่อสารในเรื่องเพศ

ทักษะดีแก้ปัญหาได้

แนวคิด

การพูดคุยในเรื่องเพศกับวัยรุ่นทำให้เข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของตนเองเกี่ยวกับพัฒนาการทางเพศการปรับตัวอย่างเหมาะสมและไม่มีปัญหาในเรื่องทางเพศ เป็นเรื่องที่ทั้งสถานศึกษาครอบครัว และองค์กรต่างๆ จะต้องร่วมกันให้ความรู้ คำชี้แนะ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับวัยรุ่นสำหรับทักษะการต่อรองและการปฏิเสธเป็นทักษะสำคัญที่จะทำให้วัยรุ่นรอดพ้นจากมหันตภัยทางเพศได้

 สาระการเรียนรู้

    1. การสื่อสารในเรื่องเพส

    2. ทักษะการสื่อสาร

    3. ทักษะการฟัง

    4. การต่อรองและการปฏิเสธ

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
    1. มีความเข้าใจว่าการสื่อสารในเรื่องเพศเป็นเรื่องที่ไม่น่าอายและมีประโยชน์
    2. มีความเข้าใจเกี่ยวกับการสื่อสารเรื่องเพศในครอบครัว
    3. มีทักษะในการต่อรองและปฏิเสธ
 

การสื่อสารในเรื่องเพศ

การสื่อสารในเรื่องเพศ เป็นความจำเป็นที่พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูอาจารย์ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรสื่อสารให้เด็กและวัยรุ่น เพราะมีการแพร่ระบาดที่รุนแรงของโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร การตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ การหลอกลวงและการล่วงเกินทางเพศ ซึ่งจะส่งผลโดยตรงกับเด็กและวัยรุ่น

ภาพข่าวนักเรียนซึ่งมีทั้งเด็กและวัยรุ่นขายบริการทางเพศ หลบหนีการเรียนไปมั่วเพศกันตามบ้านเพื่อน หอพัก หรือแม้แต่โรงแรม การทำแท้ง การเข้าจับกุมสถานที่ทำแท้งของเจ้าหน้าที่ตำรวจ การนำทารกไปทิ้ง ซึ่งภาพข่าวเหล่านี้ก่อให้เกิดความสะเทือนใจแก่ผู้พบเห็นและอ่านข่าวปัญหาจึงเกิดขึ้นว่า ทำอย่างไรวัยรุ่นจึงจะมีความรู้เรื่องเพศอย่างถูกต้อง มีสติและคุณธรรม ควบคุมจิตใจ เพื่อลดปัญหาเหล่านี้ ในขณะที่สังคมไทยกำลังมีการเปิดกว้างในเรื่องนี้ ดังนั้นการสื่อสารในเรื่องเพศที่ถูกต้องจึงน่าจะมีบทบาทในเรื่องนี้

    จากการวิจัยโดยองค์การอนามัยโลกที่ติดตามผลการให้การศึกษาเรื่องเพศศึกษาที่เน้นเรื่อง การนําำไปปฏิบัติได้เหมาะสม ถูกต้อง ในหลายประเทศทั่วโลก พบผลใกล้เคียงกันว่าการสอนเพศศึกษาไม่ได้ทํำให้วัยรุ่นมีเพศสัมพันธ์กันเร็วขึ้นหรือมากขึ้นแต่ว่าวัยรุ่นสามารถทํำให้เพศสัมพันธ์ของตนเองมีความปลอดภัยมากขึ้น

การสื่อสารเรื่องเพศในครอบครัว
การสื่อสารเรื่องเพศในครอบครัวโดยเฉพาะระหว่างพ่อแม่กับลูกนั้น อาจมีอุปสรรคบ้าง  ถ้าพ่อแม่คิดว่าเรื่องเพศเป็นเรื่องที่ไม่ดีงาม ไม่ควรนำมาพูดจากันในครอบครัว เรื่องเพศเป็นเรื่องไม่สมควรจะเปิดเผยเรื่องเพศเป็นเรื่องที่เรียนรู้ได้เองเมื่อแต่งงานแล้ว การพูดเรื่องเพศจะเป็นดาบสองคม และเป็นการชี้โพรงให้กระรอก ในขณะที่ลูกก็กลัวจะถูกพ่อแม่ดุด่าว่ากล่าวจึงไม่ยอมปรึกษาพ่อแม่ในเรื่องเพศและรวมถึงปัญหาทางเพศที่เกิดขึ้นกับตนเอง
 
1. การดูแลรักษาความสะอาดของอวัยวะเพศ ควรสอนลูกให้เรียกชื่ออวัยวะเพศให้สุภาพ ฟังได้.ไม่หยาบคาย และรู้จักการดูแลสุขอนามัยของอวัยวะเพศของตนเองให้ดี
2. ให้ความรักความอบอุ่นในครอบครัว เป็นการสอนโดยการปฏิบัติ โดยแสดงให้เห็นความรักความผูกพันของพ่อกับแม่ ความรักของพ่อและแม่ที่มีต่อลูก ซึ่งจะเป็นเกราะคุ้มกันลูกมิให้ริมีความรักที่ไม่ปลอดภัยในวัยเรียน
3. ต้องปลูกฝังเรื่องการเป็นสุภาพบุรุษและการเป็นสุภาพสตรี ต้องสอนลูกชายให้เรียนรู้พฤติกรรมในการเป็นสุภาพบุรุษ และพฤติกรรมในการเป็นสุภาพสตรีและการรักนวลสงวนตัวแก่ลูกสาว ชี้ตัวอย่างหรือผลร้ายในการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร รวมทั้งสอนการวางตัวต่อเพศตรงข้ามที่เหมาะสม การหัดปฏิเสธสิ่งยั่วยุที่ไม่ดีทั้งหลาย
4. สอนให้ลูกเข้าใจอย่างถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการช่วยตัวเอง การมีพฤติกรรมทางเพศที่เบี่ยงเบนเป็นทอม ดี้ ตุ๊ด ตลอดจนการแสดงออกทางเพศที่ไม่เหมาะสมต้องได้รับคำแนะนำถึงทางที่ถูกที่ควรอย่างถูกต้องตามกาลเทศะที่เหมาะสมอย่างไม่เป็นทางการ
5. การตอบสนองต่อสิ่งเร้าทางอารมณ์ ควรแนะนำว่าควรจะเป็นไปในทางใดจึงจะเหมาะสมกับวัย สถานภาพของตนเอง และสถานการณ์ที่เกิดขึ้น รวมทั้งความสามารถในการอดทน อดกลั้น การควบคุมอารมณ์หรือเบี่ยงเบนความสนใจในเรื่องเพศ โดยหันไปสนใจในดนตรี กีฬา การออกกำลังกาย การเรียน ตลอดจนการงานที่เป็นประโยชน์
6. ทักษะการปฏิเสธการมีความสัมพันธ์ทางเพศ โดยเฉพาะการสอนลูกสาว เพราะลูกสาวมีโอกาสเสี่ยงกว่าลูกชายมาก แต่ลูกชายก็อาจจะมีบ้างเหมือนกันที่อาจจะมีผู้หญิงบางคนที่ยั่วยวนและยินยอมที่จะมีเพศสัมพันธ์ด้วย
7. ให้รู้จักการเอาตัวรอดจากภัยทางเพศ โดยเฉพาะลูกผู้หญิงในเรื่องการถูกลวนลาม การข่มขืน ไม่ว่าจะเป็นจากแฟน เพื่อน คนใกล้ชิด ญาติ หรือคนร้าย สอนให้เขารู้จักป้องกัน และช่วยเหลือตนเองเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่เลวร้ายนั้น รวมทั้งการแก้ไขสถานการณ์ การหาความช่วยเหลือขณะเกิดเหตุการณ์นั้น หรือหลังจากเหตุการณ์นั้นผ่านพ้นไปแล้ว
8. การมีความสัมพันธ์ทางเพศที่รับผิดชอบและปลอดภัย สอนทั้งลูกชายและลูกสาวในเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ที่ต้องรับผิดชอบกับเหตุการณ์ที่กระทำลงไป และต้องปลอดภัยจากการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ ตลอดจนโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งก็ด้วยการใช้ถุงยางอนามัย
9. ทักษะการดำเนินชีวิตของวัยรุ่นชาย ไม่ให้เลียนแบบพฤติกรรมที่ไม่ดีงามของเพื่อนในเรื่องเพศ เช่น การเที่ยวผู้หญิงขายบริการทางเพศ การมั่วเซ็กซ์ในกลุ่ม เป็นต้น และให้รู้จักคบเพื่อนที่ดี
10. เรื่องที่จะสนทนาอื่นๆ ที่มีเหตุการณ์เกิดขึ้น อาจเกิดขึ้นกับตัววัยรุ่นเอง กับเพื่อน หรือเหตุการณ์.ตามข่าวในหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ ก็สามารถหยิบยกมาเป็นกรณีศึกษา สอนลูกหลานของตน แต่ก็ควรพูดคุยในลักษณะการสนทนา ไม่ควรสอนอย่างเป็นทางการ เพราะวัยรุ่นอาจไม่ชอบได้

ทักษะการสื่อสาร

การใช้คำพูด การพูดที่ดีหรือที่เรียกว่ามีศิลปะในการพูด ต้องฝึกการพูด วิธีพูด และการแสดงออกให้เหมาะสม โดยคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้

1. พูดกับใคร (พูดให้ถูกคน) คือ การพูดคุยหรือการสนทนากับคนแต่ละคน ปัจจัยต่างๆ เช่น ควรพิจารณาถึงสถานะทางสังคม วัยของบุคคลที่เราทำการสนทนาด้วยและเลือกใช้ถ้อยคำที่เหมาะสม เช่น การพูดกับผู้ใหญ่ก็ควรใช้คำพูดที่สุภาพ ใช้สรรพนามแทนตนเองและแทนบุคคลที่เราพูดด้วยอย่างเหมาะสม 

2. พูดที่ไหน (พูดให้ถูกที่) สถานที่ที่เราจะพูดเป็นที่สาธารณะหรือสถานที่ส่วนตัว หากสนทนาในที่สาธารณะก็ต้องระวังคำพูด แม้ว่าจะเป็นการพูดกับเพื่อนสนิทก็ตาม

3. พูดเวลาใด (พูดให้ถูกเวลา) เวลาในการพูดก็เป็นเรื่องสำคัญ การพูดต้องคำนึงถึงอารมณ์ของผู้ที่เราสนทนาด้วย เช่น ไม่ควรพูดเล่นในขณะที่คู่สนทนากำลังพูดเป็นงานเป็นการหรือจริงจังในการพูด

4. พูดในโอกาสใด (งานอะไร) การพูดคุยในโอกาสต่างๆ ก็จะแตกต่างกัน เช่น งานสังสรรค์ งานบวช งานแต่งงาน หรืองานศพ ดังนั้นการพูดคุยในแต่ละงาน

ทักษะการฟัง

การเป็นผู้ฟังที่ดี ก็สามารถสร้างความประทับใจให้กับผู้พูดหรือผู้ที่สนทนาด้วยได้เป็นอย่างดี
 วิธีฝึกให้เกิดทักษะในการฟังมีดังนี้
1. ตั้งใจฟัง จับเนื้อหาและทำความเข้าใจในเรื่องที่ผู้พูดกำลังพูดให้ได้ คือ ต้องมีสมาธิในการฟังนั่นเอง
2. ไม่สอดแทรก ขัดจังหวะโต้แย้ง หรือซักถามในขณะที่ผู้พูดยังพูดไม่จบ หรือ ยังไม่เปิดให้ซักถาม
3. คิดตาม คิดตามไปกับเรื่องที่กำลังฟังอย่างมีเหตุผลถูกไม่ถูกใช่ไม่ใช่เป็นไปได้เป็นไปไม่ได้จริงหรือไม่จริงเป็นต้น
4. มีความสงบเยือกเย็นและทำจิตใจให้มีสมาธิในการฟังเรื่องต่างๆ และสนใจผู้พูดตลอดเวลา
5. ควบคุมอารมณ์ในการฟัง หรือไม่แสดงอารมณ์ว่าไม่พอใจเมื่อไม่อยากฟังผู้อื่นพูด

ทักษะการต่อรองและการปฏิเสธ

การต่อรองเป็นการ บอกเลิก บอกปัด บอกไม่เอา ไม่สนใจ ไม่ชอบ ไม่ใช้ ไม่ไป ไม่ทำ ไม่เล่น เป็นต้น

เพื่อที่จะไม่ต้องกระทำสิ่งเหล่านั้น หรือไม่เข้าไปอยู่สถานการณ์นั้น การปฏิเสธนั้น บางครั้งปฏิเสธแล้วอาจเป็นผลดี หรืออาจเป็นผลเสียก็ได้ ดังนั้นควรที่จะพิจารณาให้ดีว่าเรื่องใดควรปฏิเสธ เรื่องใดไม่ควรปฏิเสธ

การปฏิเสธเป็นสิทธิส่วนตัวที่ทุกคนควรเคารพและยอมรับ ควรปฏิเสธให้ได้ผลในสถานการณ์ที่ถูกชวนไปทำในสิ่งที่ไม่เกิดประโยชน์หรือเกิดผลร้ายตามมาถ้าเป็นเรื่องร้ายแรงอย่าเกรงใจ หรือกลัวว่าจะเสียเพื่อน การปฏิเสธจะต้องแสดงท่าทางจริงจังประกอบกับคำพูด และนํ้าเสียงที่ หนักแน่นเพื่อแสดงความตั้งใจจริง แต่ต้องแสดงความผูกพัน และห่วงใยผู้ชวนไว้ด้วย ต้องใช้วิธีการปฏิเสธที่นุ่มนวล ถนอมนํ้าใจกันก่อน แต่ถ้าจำเป็นต้องปฏิเสธเด็ดขาด เพราะคนชวนตื๊อมากไม่ฟังเหตุผล ก็ต้องเด็ดขาดบ้างเหมือนกัน
การปฏิเสธนั้น ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ดังนี้
1. ใช้ความรู้สึกเป็นข้ออ้างประกอบเหตุผล
2. การขอปฏิเสธ 
3. การขอความเห็นชอบ