หน่วยการเรียนรู้ที่ 11 อย่าเปิดโอกาศ?

สถานการณ์และโอกาสที่จะนำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ เป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งของการมีเพศสัมพันธ์ในวัยรุ่น ดังนั้นการปล่อยตัวให้เข้าไปอยู่ในสถานการณ์ดังกล่าว จึงเป็นสิ่งที่หน้าเป็นห่วสำหรับปัจจัยทางสังคม เช่น สื่อต่างๆ วัฒนธรรมที่เปลี่ยนไป อิทธิพลของกลุ่มเพื่อน ก็มีผลสนับสนุนให้เกิดการมีเพศสัมพันธ์เหมือนกัน ในเรื่องของการล่วงเกินทางเพศนั้น ส่วนใหญ่ผู้ถูกกระทำจะเป็นผู้หญิง ซึ่งมักเป็นเด็กและวัยรุ่นตลอดจนเด็กชาย

หน่วยการเรียนรู้ที่ 12 เข้าใจดีไม่มีปัญหา

หน่วยการเรียนรู้ที่ 13 ตัดสินใจดีไม่มีเสี่ยง

หน่วยการเรียนรู้ที่ 14 สื่อสารดีแท้ช่วยแก้ปัญหา

หน่วยการเรียนรู้ที่ 15 เอดส์มหันตภัยใกล้ตัว

แบบสอบถามความพึงพอใจ

11.1 สถานการณ์และโอกาศที่จะนำไปสู้การมีเพศสัมพันธ์

ปัจจัยเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์

                  ปัจจัยเสี่ยงของสังคมที่มีต่อการมีเพศสัมพันธ์

                การมีเพศสัมพันธ์เกิดจากปัจจัยเสี่ยงของสังคม ทำให้เกิดปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน การสำส่อนทางเพศ  การข่มขืน การล่วงละเมิดทางเพศ การตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ การทำแท้งและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์  ปัจจัยเสี่ยงที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบันมีหลายรูปแบ ทั้งที่เกิดจากพฤติกรรมของตัวเอง หรือสภาพแวดล้อมรอบตัวเรานั้น        ซึ่งเราควรมีความเข้าใจและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่เกิดขึ้นนั้น เพื่อให้เกิดความปลอดภัยกับตนเองในการใช้ชีวิตประจำวัน

                สังคมปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านเศรษฐกิจและเทคโนโลยีต่างๆ ทำให้พฤติกรรม การดำเนินชีวิตของบุคคลเริ่มเปลี่ยนแปลง บางครั้งก็รับเอาวัฒนธรรมสมัยใหม่มาใช้ในชีวิตมากขึ้น  เมื่อชีวิตมีความเปลี่ยนแปลง ก็ส่งผลให้ผู้คน สภาพจิตใจและสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปด้วย  เนื่องจากมีสิ่งเร้าและค่านิยมรูปแบบต่างๆ ให้เลือกปฏิบัติตามมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเหล่านี้อาจก่อให้เกิดปัจจัยเสี่ยงและความไม่ปลอดภัย ที่พบบ่อยในสังคมคือการมีเพศสัมพันธ์โดยปัจจัยเสี่ยงของสังคมที่มีต่อการมีเพศสัมพันธ์นั้น ขอยกตัวอย่างที่สามารถเห็นได้ชัดเจน ดังนี้

1.สถานที่พักอาศัย

ที่พักอาศัยเป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างหนึ่งต่อการมีเพศสัมพันธ์ กรณีไม่ได้อยู่กับพ่อแม่สถานที่พักอาศัยมีหลายประเภท เช่น หอพัก อพาร์ตเมนต์ แฟลต คอนโดมิเนียม ห้องเช่า บ้านเช่า บ้านญาติ เป็นต้น ที่พักอาศัยในลักษณะหลากหลายดังกล่าวข้างต้นนี้ นับเป็นปัจจัยเสี่ยงของสังคมประการแรกที่ก่อให้เกิดโอกาสเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่น ซึ่งพักอาศัยอยู่ห่างไกลสายตาของพ่อแม่หรือผู้ปกครอง

การเลือกแหล่งที่พักอาศัยเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องศึกษาให้รอบคอบเพื่อดูความปลอดภัยว่าสถานที่พัก หรือบริเวณรอบๆที่พัก สภาพแวดล้อม การเดินเข้า-ออก หรือกรณีอื่นๆ มีความปลอดภัย ไม่เป็นแหล่งมั่วสุม มีกลุ่มวัยรุ่นที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อความปลอดภัยในรูปแบบต่างๆ มีสภาพแวดล้อมหรือบริเวณที่พักเปลี่ยว รกร้างไม่ค่อยมีผู้คนอาศัย ลักษณะต่างๆ เหล่านี้ควรนำมาพิจารณาในการเลือกสถานที่พักอาศัย โดยที่พักอาศัยที่มีความปลอดภัยเหมาะสมกับการอยู่อาศัย มีลักษณะดังต่อไปนี้

1.สถานที่สะอาด รอบๆ บริเวณโปร่ง โล่ง ไม่เป็นป่ารกทึบ หรือมีสภาพแวดล้อมเสื่อมโทรม
               2.มียามรักษาความปลอดภัย
               3.การเดินทางสะดวก ซอยไม่เปลี่ยว
               4.ไม่เป็นแหล่งมั่วสุมหรือมีกลุ่มวัยรุ่นนักเลง อันธพาล มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อความปลอดภัย
               5.มีบุคคลอาศัยอยู่ทุกหลังคาเรือน ไม่รกร้าง ไม่เสื่อมโทรม

2. การเที่ยวกลางคืน

                สถานที่เที่ยวกลางคืน มีหลายรูปแบบ เช่น บาร์ สวนอาหาร ไนต์คลับ ผับ อาราโอเกะ เป็นต้น สถานที่ดังกล่าวถือว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงสำหรับวัยของนักเรียน โดยเฉพาะบุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ไม่ควรเข้าไปเที่ยวในสถานเริงรมย์เหล่านี้เพราะผิดกฎหมาย
               สำหรับการเที่ยวหรือไปงานปาร์ตี้ งานเลี้ยงสังสรรค์ ซึ่งส่วนใหญ่จะจัดในเวลากลางคืนย่อมถือเป็นปัจจัยเสี่ยงของสังคมที่มีอิทธิพลต่อการมีเพศสัมพันธ์ประการที่สองด้วย การจัดงานปาร์ตี้มีหลายรูปแบบ อาจจัดเลี้ยงฉลองวันเกิด        สอบเสร็จ เรียนจบ สอบติด เพื่อพบปะสังสรรค์ พูดคุยรับประทานอาหาร การไปเที่ยวกลางคืนนั้นมีปัจจัยเสี่ยงจากการพบปะผู้คน การเดินทาง สภาพแวดล้อม รวมถึงลักษณะของงานหรือสถานที่ในการจัดงานก็มีความสำคัญด้วย ปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวอาจก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัย และเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ดังนี้

                1.งานเลี้ยงที่มีผู้คนมากมาย ซึ่งเราไม่อาจรู้จักหมดทุกคน ทำให้ไม่รู้ว่าใครเป็นอย่างไร
                2.สถานที่จัดงานที่มีการมั่วสุม เป็นห้องทึบ มืดมากเกินไป
                3.การเดินทางในเวลากลางคืนเป็นอันตราย เนื่องจากมืด และมีคนเดินทางไม่มากนัก
                4.เสี่ยงจากการรับประทานอาหารอาจถูกมอมยาในอาหารและเครื่องดื่มจากผู้ไม่หวังดี
                5.มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทำให้เมาหรือขาดสติ ควบคุมตัวเองไม่อยู่
                6.การแต่งกายในการไปเที่ยว หรือไปงานเลี้ยง อาจล่อแหลม และดึงดูดความสนใจจากคนทั่วไป
                ดังนั้น หากนักเรียนได้เรียนรู้ถึงปัจจัยเสี่ยงและความไม่ปลอดภัยดังกล่าวแล้ว ยังต้องการหรือมีความจำเป็นที่ต้องไปงานเลี้ยงสังสรรค์ประเภทต่างๆ ในเวลากลางคืน ก็ควรจะระมัดระวังตัว หรือ มีแนวทางในกลางเที่ยวกลางคืนอย่างปลอดภัย ดังนี้
                1.พิจารณาว่าเป็นงานเลี้ยงเนื่องในโอกาสใด มีใครไปบ้าง
                2.หาเพื่อนไปด้วย ไม่ควรไปคนเดียว
                3.พิจารณาสถานที่จัดงาน ความเหมาะสมในการแต่งกาย ความสะดวกในการเดินทาง
                4.ระมัดระวังในการรับประทานอาหาร และเครื่องดื่มประเภทต่างๆ โดยเฉพาะที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์
                5.บอกพ่อแม่ หรือผู้ปกครองก่อนทุกครั้ง ว่าจะไปไหนกับใคร
                6.ไม่ควรกลับดึก หรือควรหาเพื่อนร่วมทางที่รู้จักและไว้ใจได้กลับบ้านด้วย
                7.ไม่ควรไปเที่ยวต่อที่อื่นอีก

       3.การเที่ยวต่างจังหวัด

            การเที่ยวต่างจังหวัดเป็นกิจกรรมนันทนาการหรืองานอดิเรก เพื่อการพักผ่อนหรือคลายความเครียด อาจเป็นการสังสรรค์ระหว่างเพื่อนฝูง กิจกรรมระหว่างไปเที่ยวต่างจังหวัด ได้แก่ เข้าค่าย พักแรม เดินป่า ดูนก ตกปลา ถ่ายภาพ ปีนเขา ล่องแพ เที่ยวน้ำตก ทะเล ชมปะการัง เป็นต้น
               การเที่ยวต่างจังหวัดเป็นปัจจัยเสี่ยงของสังคมที่มีต่อการมีเพศสัมพันธ์ประการที่สาม โดยมีลักษณะของความเสี่ยงเมื่อมองในเรื่องของการเดินทาง การพักอยู่อาศัย ซึ่งมักไปด้วยกันเพียงสองต่อสองทำให้เกิดความใกล้ชิดสนิทสนม รวมทั้งบรรยากาศที่อาจชวนให้เคลิ้ม ทำให้ตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือปฏิเสธได้ อาจก่อให้เกิดการมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ได้ตั้งใจได้ ไม่ว่าจะถูกหลอกลวงหรือเต็มใจก็ตาม ทำให้เกิดปัญหาขึ้นตามมาภายหลังได้ ดังนั้น จึงมีข้อเตือนใจในการไปเที่ยวต่างจังหวัดด้วยความปลอดภัยและสนุกสนาน ดังนี้

           1.ควรบอกให้พ่อแม่หรือผู้ปกครองทราบ
           2.ควรชวนเพื่อนไปเที่ยวเป็นกลุ่มๆ และ อยู่ในกลุ่มเพื่อนเสมอไม่แยกตัวไปอยู่กันตามลำพังกับเพื่อนชายสองต่อสอง
           3.มีความระมัดระวังไม่เหลวไหลเคลิบเคลิ้มไปกับบรรยากาศ
           4.มีทักษะการปฏิเสธต่อสถานการณ์เสี่ยงจากการมีเพศสัมพันธ์
           5.ถ้าเป็นไปได้ไม่ควรพักค้างคืน ควรไปเช้ากลับเย็น จะเหมาะสมและปลอดภัยกว่า

  4.วันวาเลนไทน์ หรือวันแห่งความรัก

                วันวาเลนไทน์เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของวัยรุ่น และเป็นปัจจัยเสี่ยงของสังคมต่อการมีเพศสัมพันธ์อย่างหนึ่ง ซึ่งในปัจจุบันวัยรุ่นได้รับเอาวัฒนธรรมและค่านิยมทางตะวันตกมายึดถือและปฏิบัติตาม โดยการแสดงออกของความรักที่มีต่อเพื่อนมนุษย์ในรูปแบบต่างๆ ในบางกรณีเกิดความไม่เหมาะสมกับสังคมหรือวัฒนธรรมที่มีอยู่ ดังนั้นจึงถือเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งส่วนใหญ่มีแนวคิดในกรณีเพศสัมพันธ์กับวันวาเลนไทน์ ดังนี้ (สวนดุสิตโพล: สถาบันราชภัฏสวนดุสิต)

                1.วัยรุ่นให้ความสำคัญกับวันวาเลนไทน์มากน้อยเพียงใด
                    ร้อยละ 61.64ให้ความสำคัญปานกลาง (ชายร้อยละ 50.71,หญิงร้อยละ 66.53)

                2.วัยรุ่นอยากฉลองวันวาเลนไทน์กับใครมากที่สุด
                    ร้อยละ 63.40 อยากฉลองกับแฟน/คนรัก (ชายร้อยละ 70.91,หญิงร้อยละ 60.00)

               3.วัยรุ่นเลือกทำกิจกรรมใดเป็นพิเศษในวันวาเลนไทน์

   ร้อยละ 35.61 ดูภาพยนตร์/ฟังเพลง (ชายร้อยละ 35.38,หญิงร้อยละ 35.71)
                   ร้อยละ 5.58 เที่ยวกลางคืน (ชายร้อยละ 9.06,หญิงร้อยละ 4.07)
                   ร้อยละ 3.72 เที่ยวต่างจังหวัด (ชายร้อยละ 2.92,หญิงร้อยละ 4.07)
                4.วัยรุ่นคิดว่าวันวาเลนไทน์เอื้อต่อการมีเพศสัมพันธ์มากน้อยเพียงใด
                   ร้อยละ 50.95 คิดว่ามีส่วนอยู่บ้างที่เอื้อต่อการมีเพศสัมพันธ์ (ชายร้อยละ 47.39,หญิงร้อยละ 52.54)
                   ร้อยละ 11.57 คิดว่ามีวันวาเลนไทน์มีส่วนมากที่เอื้อต่อการมีเพศสัมพันธ์ (ชายร้อยละ 47.39,หญิงร้อยละ 52.54)

                จากแนวคิดดังกล่าว วันวาเลนไทน์เป็นปัจจัยเสี่ยงประการหนึ่งต่อการมีเพศสัมพันธ์ ดังนั้น นักเรียนจึงควรรู้จักหลีกเลี่ยงและป้องกันตนเองจากสถานการณ์เสี่ยงดังกล่าวจากข้อแนะนำ ดังนี้
                1.ยึดมั่นและปฏิบัติตามขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมที่ดีงามของไทย
                2.นำทักษะการปฏิบัติมาใช้ป้องกันตนเอง หรือเมื่อตกอยู่ในสถานการณ์เสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์
                3.มีความระมัดระวัง มีสติ นึกถึงปัญหาที่จะตามมาภายหลัง รวมทั้งความรับผิดชอบต่อตนเองและครอบครัว
                4.กำหนดขอบเขตความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนสนิทหรือคู่รักไว้อย่างชัดเจน
                5.ให้เกียรติซึ่งกันและกัน
5.สื่อเรื่องเพศ หรือสื่อลามก
                ปัจจุบันสื่อที่นำเสนอเรื่องเพศมีมากมายหลายรูปแบบ ซึ่งจัดเป็นปัจจัยเสี่ยงของสังคมที่มีต่อการมีเพศสัมพันธ์ประการที่ห้า ได้แก่
                1.หนังสือหรือนิตยสารโป๊ ซึ่งมีภาพถ่ายของนางแบบชุดว่ายน้ำ โป๊เปลือยหรือหนังสือทั่วไปที่สอดแทรกเรื่องเพศ
                2.หนังสือการ์ตูนบางเล่มที่มีภาพกอด จูบ และมีเพศสัมพันธ์
                3.ซีดีและวีซีดี ที่มีเรื่องราวการแสดงกิจกรรมการมีเพศสัมพันธ์กันอย่างเปิดเผย
                4.รายการโทรทัศน์ ที่มีการนำเสนอเรื่องบางส่วนในการแสดงออกเรื่องเพศ เช่น ภาพยนตร์ต่างประเทศ ละคร การ์ตูนญี่ปุ่น รายการเพลง เป็นต้น
                5.เว็บไซต์โป๊ ซึ่งมีภาพประกอบหรือการขายวีซีดีที่เกี่ยวกับเรื่องเพศ รวมทั้งโปรแกรมแชท ซึ่งสามารถใช้ติดต่อทำความรู้จักกันระหว่างชายและหญิง เกิดความสนิทสนมกันอย่างรวดเร็ว มีการนัดหมายเพื่อไปเที่ยวชวนไปมีเพศสัมพันธ์กัน (บางโปรแกรมผู้ร่วมสนทนาสามารถดูรูปร่างหน้าตาของกันและกันได้)
                6.ป้ายโฆษณา เช่น แผ่นป้ายโฆษณาตามป้ายรถประจำทาง หรือป้ายโฆษณาตามศูนย์การค้าที่มีภาพของผู้หญิงในชุดชั้นใน เป็นต้น  

                 จากสื่อดังกล่าวข้างต้นที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของสังคมต่อการมีเพศสัมพันธ์สามารถมีแนวทางวิเคราะห์และเลือกรับสื่อให้เกิดความปลอดภัยได้ดังนี้

                1.รู้จักพิจารณาและวิเคราะห์ถึงประโยชน์และโทษของสื่อประเภทต่างๆ ก่อนเลือกใช้หรือรับข้อมูลจากสื่อนั้นๆ
                2.เลือกใช้แต่เว็บไซต์หรืออ่านหนังสือที่มีประโยชน์
                3.ไม่บอกที่อยู่หรือนัดพบกับคนแปลกหน้าที่รู้จักทางหนังสืออินเทอร์เน็ต
                4.ขอคำแนะนำหรือความคิดเห็นถึงการเลือกรับและใช้สิ่งต่างๆ จากผู้อื่น เพื่อนำมุมมองในหลายๆ ด้านจากบุคคลอื่นมาพิจารณาเลือกใช้ให้เกิดประโยชน์กับตนเองมากที่สุด

6.สรุป

                วัยรุ่นควรให้ความสนใจและตระหนักถึงอันตราย เมื่อมีความจำเป็นต้องเขข้าไปเกี่ยวข้องในสิ่งแวดล้อมที่มีโอกาสเสี่ยงทำให้เกิดความพลาดพลั้งต่อการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ตั้งใจได้ ดังนั้นจึงควรรู้จักศึกษาวิเคราะห์ และหลีกเลี่ยงไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับปัจจัยเสี่ยงของสังคมที่มีต่อการมีเพศสัมพันธ์ หากวัยรุ่นบางคนมีความจำเป็นต้องเข้าไปเกี่ยวข้องก็ควรมีความเคารพตนเอง รู้จักหลีกเลี่ยงและมีทักษะการปฏิเสธ การเลือกเข้าไปอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย รวมทั้งการรู้จักระมัดระวังตัว จะช่วยให้ชีวิตมีความปลอดภัยมากขึ้นด้วย