หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 สมดุลกายสมดุลจิต ชีวิตมีสุข

หน่วยการเรียนรู้ที่ 9 จิตดีชีวิตมีสุข

หน่วยการเรียนรู้ที่ 10 อย่ารอง อย่าริ อย่าเสพ?

ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาที่สำคัญของชาติต้องดำเนินการป้องกันและแก้ปัญหาไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดมากขึ้น

หน่วยการเรียนรู้ที่ 11 ลดความเสี่ยง

หน่วยการเรียนรู้ที่ 12 ทักษะชีวิต?

ทักษะชีวิตเป็นทักษะที่ช่วยให้บุคคลสามารถเผชิญสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
10.3 แหล่งช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด

หน่วยงานรับผิดชอบแก้ไขปัญหาสารเสพติด สถานบำบัดผู้ติดสารเสพติดและบริการให้คำปรึกษาสารเสพติ

 3.1 หน่วยงานที่รับผิดชอบต่อการแก้ไขปัญหาสารเสพติดในชุมชน

                1. ศูนย์รับแจ้งข่าวและระบบการข่าว การผลักดันให้กลไกสำคัญๆ ในการแก้ไขปัญหาสารเสพติด ได้แก่ หน่วยงานจัดระบบการข่าว จำนวน 85 หน่วยงาน โดยจัดให้มีระบบการข่าวและศูนย์แจ้งข้อมูลข่าวสารเจ้าหน้าที่ของรัฐเกี่ยวข้องกับสารเสพติด ประกอบด้วย

                                1.1 ส่วนกลาง รวม 9 หน่วยงาน ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กองบัญชาการทหารสูงสุด กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด และกองบัญชาการตำรวจนครบาล

                                1.2 ส่วนภูมิภาครวม รวม 76 หน่วยงาน ได้แก่ ศูนย์ป้องกันและปราบปรามยาเสพติดกรุงเทพมหานคร (ศปส.ก.) และศูนย์ป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัด (ศปส.จ.)

                                   สำหรับสำนักงาน ป.ป.ส. ได้เปิดรับศูนย์รับแจ้งข้อมูลข่าวสารเจ้าที่ของรัฐเกี่ยวข้องกับยาเสพติดดังนี้

                                   1. สำนักงานปราบปรามยาเสพติด สำนักงาน ป.ป.ส.

                                   2. สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดภาคเหนือ (เชียงใหม่)

                                   3. สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ขอนแก่น)

                                   4. สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดภาคใต้ (สงขลา)

                                   5. สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดภาคกลาง (กทม.)

                2. คณะกรรมการกลั่นกลองข้อมูลหรือข่าวสารการกระทำที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดที่มาจากหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบ ประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานของส่วนราชการต่างๆดังตารางต่อไปนี้

คณะกรรมการประจำกรุงเทพมหานคร

(ผู้แทนจากส่วนราชการ 11 ราย)

คณะกรรมการประจำภาค

(ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคใต้ ผู้แทนจากส่วนราชการ 12 ราย)

1. กระทรวงมหาดไทย

2. กระทรวงศึกษาธิการ

3. สำนักงานอัยการสูงสุด

4. ผู้แทนกองบัญชาการทหารสูงสุด

5. กรมพระธรรมนูญ

6. กองบัญชาการตำรวจนครบาล

7. กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด

8. กรุงเทพมหานคร

9. สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน

10. กองทัพบก

11. ผู้อำนวยการสำนักงานปราบปรามยาเสพติด สำนักงาน ป.ป.ส. เป็นกรรมการและเลขานุการ

1. กระทรวงมหาดไทย

2. กระทรวงศึกษาธิการ

3. สำนักอัยการสูงสุด

4. กองทัพบก

5. กองทัพเรือ

6. กองทัพอากาศ

7. กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด

8. ตำรวจภูธรภาค

9. ตำรวจภูธรภาคอีก 1 ราย

10. กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน

11. กระทรวงสาธารณสุข

12. ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ในแต่ละภาค) เป็นกรรมการและเลขานุการ