หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 สมดุลกายสมดุลจิต ชีวิตมีสุข

หน่วยการเรียนรู้ที่ 9 จิตดีชีวิตมีสุข

หน่วยการเรียนรู้ที่ 10 อย่ารอง อย่าริ อย่าเสพ?

ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาที่สำคัญของชาติต้องดำเนินการป้องกันและแก้ปัญหาไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดมากขึ้น

หน่วยการเรียนรู้ที่ 11 ลดความเสี่ยง

หน่วยการเรียนรู้ที่ 12 ทักษะชีวิต?

ทักษะชีวิตเป็นทักษะที่ช่วยให้บุคคลสามารถเผชิญสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
9.4 เทคนิคการจัดการกับอารมณ์และความเครียด

การจัดการกับอารมณ์และความเครียด

4.3 วิธีการและแนวทางในการจัดการกับอารมณ์และความเครียด

การจัดการกับอารมณ์และความเครียด เป็นอีกวิธีที่ช่วยสร้างศักยภาพให้เกิดขึ้นกับตนเองเนื่องจากการรู้จักจัดการกับอารมณ์และความเครียด จะช่วยให้เรารู้จักระงับหรือหลีกเลียงอารมณ์ที่ไม่พึงประสงค์และภาวการณ์เกิดความเครียด ซึ่งจะส่งผลให้ปฏิบัติกิจกรรมต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรับการจัดการกับอารมณ์และความเครียดมีวิธีในการปฏิบัติหลายวิธีด้วยกัน เช่น
                1. การออกกำลังกาย การออกกำลังกายนอกจากจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรง สดชื่น กระปรี้กระเปร่าแล้ว ยังช่วยผ่อนคลายความเครียด ความวิตกกังวล ไม่ทำให้คิดฟุ้งซ่าน อีกทั้งยังสามารถประกอบกิจกรรมต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล


                2. การพักผ่อน การพักผ่อนในที่นี้ไม่ได้หมายถึงแต่การนอนหลังให้เพียงพอเท่านั้น แต่จะรวมถึงการไปเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ


                3. การปรับเปลี่ยนความคิด เป็นการปรับเปลี่ยนวิธีการคิดทางลบให้เป็นทางบวก เช่น การคิดว่าการทำงานที่หนักและยากเป็นการเพิ่มประสบการณ์ให้กับตนเอง หรือการคิดว่าการที่ผู้อื่นตำหนิเราเป็นการช่วยให้เราเห็นข้อบกพร่องของตนเองและนำไปปรับปรุงให้ดีขึ้น นอกจากนี้การรู้จักความพอดี ไม่โลภ ไม่อิจฉาริษยาผู้อื่น ย่อมทำให้เรามีจิตใจที่สงบ ไม่มีความวิตกกังวลและคลายความเครียดได้

                4. การดำรงชีวิตด้วยความยืดหยุ่น เป็นการรู้จักผ่อนปรน ไม่ยึดติดกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง รู้จักปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่งถ้าทุกคนสามารถทำได้จะช่วยให้บุคคลเหล่านั้นสามารแก้ไขปัญหาต่างๆได้ และสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
                5. การฝึกผ่อนคายความเครียด เป็นการช่วยให้จิตใจที่มีความสับสน วุ่นวาย เกิดความสงบและคลายความตึงเครียดลง ในการฝึกผ่อนคลายความเครียดนั้นในระยะแรกๆของการฝึกจิตใจอาจจะเกิดความพะวงอยู่ แต่ถ้าได้ฝึกจนชำนาญแล้ว ก็ช่วยคลายความเครียดได้เป็นอย่างดี ในการฝึกผ่อนคลายความเครียดนี้มีหลายวิธีด้วยกัน แต่ในที่นี้จะขอนำเสนอวิธีการใช้จินตนาการ


                วิธีการใช้จินตนาการ
                การใช้จินตนาการ เป็นการดึงความสนใจออกจากสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความอึดอัดในใจ ปัจจุบันไปสู่ประสบการณ์อันงดงามที่เคยผ่านมาในอดีต โดยการระลึกถึงสถานที่ที่มีความสวยงามและเคยไปมาแล้ว เช่น น้ำตก ภูเขา ชายทะเล ทุ่งหญ้า หรืออาจจะจินตนาการถึงสถานที่ที่สวยงามก็ได้ และเมื่อนึกถึงแล้วจะทำให้จิตใจสงบและมีความสุข
                ในขณะที่ใช้วิธีจินตนาการนั้น จะต้องทำให้ตัวเองรู้สึกเหมือนอยู่ในสถานที่นั้นจริงๆ เช่น หากจินตนาการถึงดอกไม้ที่มีกลิ่นหอม ก็จะจินตนาการจนกว่าจะได้กลิ่นหอมของดอกไม้ หรือจินตนาการว่าได้ยินเสียงคลื่น ได้สัมผัสหยาดย้ำค้างบนใบหญ้า เพื่อที่จะได้เกิดอารมณ์คล้อยตามจนรู้สึกมีความสุข
                การใช้จินตนาการในการคลายความเครียดนั้น มีขึ้นตอนในการปฏิบัติดังนี้
                1.เลือกสถานที่ที่สงบและเป็นส่วนตัว
                2. นั่งในท่าที่สบายบนเก้าอี้ที่มีพนักพิงหรืออาจนอนเอนหลัง แต่ต้องระวังอย่าให้หลับ
                3. คลายเสื้อผ้าให้หลวมแล้วถอดรองเท้าออก
                4. หลับตาลงแล้วเริ่มจินตนาการถึงสถานที่ที่สวยงาม สงบ และเป็นสุข โดยอาจนำเสียงดนตรีมาบรรเลงเบาๆ มาเปิดประกอบขณะจินตนาการ
                5. เมื่อจิตใจเริ่มสงบและเป็นสุขแล้ว ให้ย้ำกับตัวเองว่า เรารู้สึกสบาย และเราเป็นคนมีความสามารถพอที่จะเอาชนะอุปสรรคต่างๆได้เสมอ
                6. ค่อยๆลืมตาขึ้น แล้วคงความรู้สึกสดชื่นไว้ พร้อมที่จะลงมือปฏิบัติงานต่อไปการฝึกคลายความเครียดโดยใช้จินตนาการ นอกจากจะทำให้รู้สึกสงบ สบาย และสดชื่นแล้ว ยังทำให้มีพลังพร้อมที่จะมาต่อสู้กับปัญหาและอุปสรรคต่างๆในชีวิตอีกด้วย
                การฝึกความเครียดโดยใช้วิธีการจินตนาการ นอกจากจะทำให้รู้สึกสงบ สบาย และสดชื่นแล้ว ยังทำให้มีพลังพร้อมที่จะมาต่อสู้กับปัญหาและอุปสรรคต่างๆในชีวิตอีกด้วย
                อนึ่ง การฝึกการผ่อนคลายด้วยวิธีนี้ไม่ควรใช้บ่อยๆ และใช้เพียงวิธีเดียว ควรฝึกวิธีอื่นๆสลับบ้าง เช่น การฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ การฝึกการหายใจ การฝึกสมาธิ ฯลฯ มิฉะนั้น อาจจะส่งผลให้เราขาดทักษะในการเผชิญความจริง
                โดยสรุปแล้ววิธีการและแนวทางในการจัดการกับอารมณ์และความเครียดต่างๆดังกล่าวทั้งการออกกำลังกายเพื่อช่วยให้ร่างกายแข็งแรง และการพักผ่อนอย่างเพียงพอซึ่งสร้างความสดชื่นแล้วผ่อนคลายความเครียด การปรับเปลี่ยนความคิดด้วยการมองโลกในแง่ดี การรู้จักผ่อนปรน รวมทั้งการฝึกผ่อนคลายความเครียดด้วยการใช้จินตนาการและการฝึกการผ่อนคลายความเครียดด้วยวิธีอื่นๆล้วนแต่เป็นการสร้างศักยภาพในการจัดการกับอารมณ์และความเครียดที่ส่งผลดีต่อสุขภาพของบุคคลเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งนักเรียนควรนำมาปฏิบัติเพื่อสร้างศักยภาพในการจัดการกับอารมณ์และความเครียดของตนเองให้มีความเหมาะสม ส่งเสริมการมีสุขภาพจิตที่ดี และการดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างเป็นปกติสุข