หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 สมดุลกายสมดุลจิต ชีวิตมีสุข

หน่วยการเรียนรู้ที่ 9 จิตดีชีวิตมีสุข

หน่วยการเรียนรู้ที่ 10 อย่ารอง อย่าริ อย่าเสพ?

ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาที่สำคัญของชาติต้องดำเนินการป้องกันและแก้ปัญหาไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดมากขึ้น

หน่วยการเรียนรู้ที่ 11 ลดความเสี่ยง

หน่วยการเรียนรู้ที่ 12 ทักษะชีวิต?

ทักษะชีวิตเป็นทักษะที่ช่วยให้บุคคลสามารถเผชิญสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
8.1 ควาสัมพันธ์ของสุขภาพกายและสุขภาพจิต

องค์การอนามัยโลก ซึ่งเป็นองค์การสากลที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม ดูแล และส่งเสริมสุขภาพอนามัยของประชากรทั่วโลก ให้คำจำกัดความของคำว่า สุขภาพกาย และสุขภาพจิต ไว้ดังนี้

สุขภาพกาย หมายถึง สภาพของร่างกายที่เจริญเติบโต แข็งแรง สมบูรณ์ ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ไม่ทุพพลภาพ อวัยวะต่างๆ อยู่ในสภาพที่ดีมีความสมบูรณ์ แข็งแรง สามารถทำงานได้ตามปกติ และมีความสัมพันธ์กันทุกส่วนได้เป็นอย่างดีและก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานด้วย

สุขภาพจิต หมายถึง ความสามรถของบุคคลที่จะปรับตัวให้มีความสุขอยู่กับสังคมและสิ่งแวดล้อมได้ดี มีสัมพันธภาพอันดีกับบุคคลอื่น และดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยความสมดุลอย่างสุขสบาย รวมทั้งสนองความสามารถของตนเองในโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงได้ โดยไม่มีข้อขัดแย้งภายในจิตใจ และไม่ขัดกับสภาพความเป็นจริงในสังคมที่บุคคลนั้นดำรงชีพอยู่

ความมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีส่งผลให้
1. สภาพร่างกายและจิตใจมีการพัฒนาการและเจริญเติบโตได้เหมาะสมกับวัย
2. การทำงานของอวัยวะต่างๆ มีความสมบูรณ์แข็งแรง และทำงานได้อย่างปกติ
3. บุคคลมีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดี

คุณค่าของภาวะความสมดุลระหว่างสุขภาพกายและสุขภาพจิต
นักปราชญ์ชาวกรีกโบราณที่กล่าวถึงความเชื่อในเรื่องดังกล่าวไว้ว่า
“ A Sound Mind in a Sound Body” ซึ่งมีผู้ให้ความหมายว่า “จิตใจที่ดีย่อมอยู่ในร่างกายที่สมบูรณ์” ถ้าคนเราร่างกายสมบูรณ์และแข็งแรงดี จิตใจก็จะเป็นสุข สดชื่น แจ่มใส เบิกบาน แต่ถ้าร่างกายอ่อนแอ เจ็บไข้ได้ป่วยบ่อยๆ จิตใจก็จะหดหู่ ไม่สดชื่นแจ่มใส ดังนั้นคนเราถ้าจิตใจไม่สบายไม่เป็นสุข มีความเครียด มีความวิตกกังวลใจ ก็จะมีผลต่อร่างกาย เช่น กินไม่ได้ นอนไม่หลับ อาหารไม่ย่อย ร่างกายซูบผอม หน้าซีดเซียวเศร้าหมอง นี่เป็นเครื่องพิสูจน์ว่าร่างกายและจิตใจแยกขาดออกจากกันไม่ได้ ฉะนั้นเราจึงควรดูแลรักษาสุขภาพร่างกายและจิตใจควบคู่กันไป
สำหรับคำว่า ภาวะความสมดุลระหว่างสุขภาพกายและสุขภาพจิต จะหมายถึงสภาวะที่ร่างกายและจิตใจมีความปกติในด้านความสัมพันธ์ระหว่างกัน ในทางตรงกันข้ามหากสุขภาพส่วนใดส่วนหนึ่งมีความบกพร่องหรือมีสภาวะที่ผิดปกติไป ก็ถือว่าเกิดความไม่สมดุลระหว่างสุขภาพทั้งสองด้านขึ้น

ขอบคุณที่มาจาก ชัยสิทธิ์ สุริยจันทร์ และคณะ. หนังสือสุขศึกษา ม.1 (ฉบับปรับปรุง) สำนักพิมพ์ วีบุ๊ค. พ.ศ.2551
ขอบคุณภาพจาก www.bhumibolhospital.rtaf.mi.th

สุขภาพกาย, สุขภาพจิต, ความหมายของสุขภาพกาย, ความหมายของสุขภาพจิต, ความสมดุลระหว่างสุขภาพกายและสุขภาพจิต