หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 สมดุลกายสมดุลจิต ชีวิตมีสุข

หน่วยการเรียนรู้ที่ 9 จิตดีชีวิตมีสุข

หน่วยการเรียนรู้ที่ 10 อย่ารอง อย่าริ อย่าเสพ?

ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาที่สำคัญของชาติต้องดำเนินการป้องกันและแก้ปัญหาไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดมากขึ้น

หน่วยการเรียนรู้ที่ 11 ลดความเสี่ยง

หน่วยการเรียนรู้ที่ 12 ทักษะชีวิต?

ทักษะชีวิตเป็นทักษะที่ช่วยให้บุคคลสามารถเผชิญสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
12.1 ทักษะการป้องกันตนเองจากสถารกราณ์ขับขันjavascript:;

การป้องกันและหลีกเลี่ยงสถานการณ์คับขัน

ความรู้   มีความสัมพันธ์กับทัศนคติ
ทัศนคติ มีความสัมพันธ์กับ พฤติกรรม  การเปลี่ยนแปลงทัศนคติขึ้นอยู่กับความรู้ หากมีความรู้ความเข้าใจดี  ทัศนคติจะเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อทัศนคติเปลี่ยนแปลงแล้ว จะมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
       
ทั้งสามสิ่งนี้มีความเชื่อมโยงกัน  ดังนั้นในการที่จะให้มีการยอมรับหรือปฏิเสธในสิ่งใด ต้องพยายามเปลี่ยนแปลงทัศนคติเสียก่อน  โดยการให้ความรู้ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

“ทัศนคติที่ดี” จะทำให้เกิด

“พฤติกรรมเพศสัมพันธ์ที่ถูกต้องเหมาะสม”

 
การวิเคราะห์ปัญหาและประเมินสถานการณ์
  การวิเคราะห์ปัญหา หรือการวิเคราะห์สถานการณ์ หมายถึงการระบุเหตุการณ์ต่าง ๆ  ที่เรากำลังเผชิญอยู่ รวมทั้งข้อมูลหรือรายละเอียดเกี่ยวกับความเป็นมา สาเหตุ ระดับความรุนแรงของผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับเราทั้งในด้านบวกและด้านลบ ความพร้อมของเราในการเผชิญเหตุการณ์ดังกล่าว และทางเลือกที่เป็นไปได้ในแก้ไขปัญหาหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ก่อนที่จะตัดสินใจว่าเราจะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไร
           การประเมินสถานการณ์อย่างรอบคอบเพื่อให้เข้าใจเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับเราได้อย่างถูกต้องชัดเจน จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้เราสามารถเผชิญและผ่านพ้นเหตุการณ์ดังกล่าวได้อย่างมีสติ
 
 
 มีหลายสถานการณ์ที่จะนำไปสู่การมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ และพฤติกรรมการ ติดยาเสพติด ซึ่งจะนำไปสู่การติดเชื้อเอดส์หรือตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ได้ แนวทางสำคัญซึ่งจะช่วยให้พ้นจากผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์ดังกล่าวได้ คือการตัดสินด้วยความรับผิดชอบ  ซึ่งหมายถึงการตัดสินใจที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อตนเองและบุคคลอื่น โดยคำนึงถึงสุขภาพ ความปลอดภัย กฎหมาย และความรับผิดชอบต่อตนเองและบุคคลอื่น แนวทางดังกล่าวประกอบด้วย
  1. การระบุสถานการณ์หรือปัญหาที่กำลังเผชิญ
  2. คิดถึงทางเลือกหรือทางออกที่เป็นไปได้และมีความเหมาะสม โดยอาจขอคำปรึกษาจากบุคคลที่เชื่อถือได้
  3. ตัดสินใจกำหนดทางเลือกที่พิจารณาว่าเหมาะสมที่สุดกับสถานการณ์ขณะนั้นและในอนาคต
  4. ปฏิบัติตามทางเลือก และประเมินผลการตัดสินใจดังกล่าว เพื่อเป็นบทเรียนและประสบการณ์สำหรับการเผชิญหน้ากับเหตุการณ์ในอนาคต
การสื่อสารเพื่อการปฏิเสธ
 

             การปฏิเสธในเรื่องเพศและยาเสพติดเป็นเรื่องละเอียดอ่อน และต้องกระทำอย่าง ระมัดระมัด เพื่อไม่เป็นทำลายสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลเหล่านั้น การปฏิเสธในบางสถานการณ์ที่ไม่เหมาะสมอาจมีอันตรายได้ จึงเป็นทักษะที่ต้องฝึกฝน ทักษะดังกล่าวประกอบด้วยการยืนยันความคิดและความตั้งใจในการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงและอันตรายที่อาจเกิดขึ้น เช่น

  1. การแสดงกริยาอาการ ได้แก่ การเดินออกจากบริเวณนั้น การหยุดพูดเรื่องนั้น หรือการมองหน้าเพื่อเป็นการปราม
  2. การพูดและการแสดงกริยาอาการ เช่น พูดว่า “ฉันคิดว่ามันยังไม่ถึงเวลา” พร้อมกับเดินออกจากสถานที่นั้น
  3. การพูดจาหว่านล้อมให้อีกฝ่ายหลีกเลี่ยงหรือเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างไรก็ตาม การป้องกันที่ดีที่สุดคือ การหลีกเลี่ยงการเข้าไปในสถานที่หรือสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงและการตัดสินใจที่ยากลำบาก                  
 
การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ       
               การโน้มน้าวใจเพื่อให้บุคคลอื่นเปลี่ยนแปลงความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมเดิมไปสู่สิ่งที่ถูกต้องและเหมาะสมนั้นเป็นทักษะที่จำเป็นประการหนึ่ง ซึ่งช่วยให้เราสามารถหลุดพ้นจากสถานการณ์คับขันและการตัดสินใจที่ยากลำบากในสถานการณ์ต่าง ๆ การโน้มน้าวใจอาจทำได้หลากหลายวิธี เช่น การยกเหตุและผล การยกโทษภัยของการตัดสินใจหรือการกระทำที่ไม่เหมาะสม การเสนอทางเลือกที่ไม่ทำให้อีกฝ่ายรู้สึกว่าตนเสียเปรียบ เป็นต้น

 

              
            เยาวชนมีการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะฮอร์โมนในร่างกาย  มีผลกระตุ้นให้มีความสนใจกับเพศตรงข้าม  รวมทั้งแรงขับตามธรรมชาติ  ที่ทำให้ใคร่รู้ ใคร่ลอง  ในเรื่องเพศ จนเป็นปัญหาที่วัยรุ่นปัจจุบันประสบปัญหากันมากมาย   กลวิธีการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันสมควร   ให้เยาวชนได้เรียนรู้บันได 13 ขั้น นำพาให้พ้นภัยได้ ดังนี้
    1. เรียนรู้ถึงความคิดต่างกันของหญิงชายในเรื่องเพศ
      ผู้ชายมีเพศสัมพันธ์ได้โดยไม่มีความรัก  ขณะที่ผู้หญิงมีเพศสัมพันธ์เพราะความรัก  ผู้ชายมองการมีเพศสัมพันธ์ว่าเป็นการหาความสุขร่วมกันและไม่ต้องผูกพัน   ขณะที่ผู้หญิงเมื่อมีเพศสัมพันธ์กับชายใดจะต้องการมีความผูกพันกับชายคนนั้น  หลังจากมีเพศสัมพันธ์ ผู้ชายไม่ได้คิดว่าจะต้องมีความผูกพันอะไรต่อไป  ขณะที่ผู้หญิงคิดว่าเมื่อมีเพศสัมพันธ์กันแล้ว  เธอจะต้องมีความผูกพันกับชีวิตเขา จึงเรียกความรับผิดชอบจากผู้ชาย  ความตระหนักถึงความแตกต่างระหว่างชายหญิง จะเป็นการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่คาดคิด  ซึ่งจะนำปัญหาต่าง ๆ มากมายที่ยากแก่การแก้ไข
  • วัยรุ่นชายควรคิดเสมอว่าวัยรุ่นหญิงเป็นเพศเดียวกับแม่ พี่น้อง ควรช่วยเหลือและให้เกียรติ
 
  • ควรหลีกเลี่ยงการถูกเนื้อต้องตัว  เพราะอาจนำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่คาดคิดได้
 
  • ควรหลี่กเลี่ยงการไปพักค้างคืนร่วมกันเป็นหมู่คณะ  หรือตามลำพังโดยไม่มีผู้ใหญ่คอยดูแล
 
  • ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ด้วยกันตามลำพังในที่ลับตาคน
 
  • ควรหลีกเลี่ยงการไปในสถานที่เปลี่ยว  โรงแรมและสถานเริงรมณ์ทุกรูปแบบ
 
  • ควรหลีกเลี่ยงการมีนัดหมายกับเพศตรงข้ามในยามวิกาล
 
  • ควรหลีกเลี่ยงการดื่มเหล้า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือสารเสพติดทุกชนิด
 
  • วัยรุ่นหญิงควรแต่งกายเรียบร้อย และมิดชิด ไม่ควรแต่งกายในลักษณะที่ยั่วยุ  ให้ผู้พบเห็นเกิดอารมณ์ทางเพศ เช่น เสื้อสายเดี่ยว เสื้อเกาะอก กระโปรงสั้น และกางเกงรัดรูปเกินไป
 
  • หลีกเลี่ยงการคบเพื่อนหรืออกเที่ยวกับเพื่อนต่างเพศที่ไม่รู้จักดีพอ
 
  • ควรหลีกเลี่ยงการออกเที่ยวหรือเดินทางในยามวิกาล หรือการเดินทางในที่เปลี่ยว
 
  • วัยรุ่นชายหญิงควรวางตัวต่อกันอย่างสุภาพ ให้เกียรติซึ่งกันและกัน  และไม่ควรมีการล่วงเกินทางเพศ หรือวางตัวสนิมสนมใกล้ชิดเกินไป
 
  • การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง  ในสถานการณ์ที่เหมาะสม(การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง เป็นทางออกที่ดีทางหนึ่ง  ใช้เป็นไม้ตายสุดท้าย  ควรทำในที่ลับ และอย่างพร่ำเพรื่อจนเกินไป)
การควบคุมอารมณ์ที่เสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์

การเสริมสร้างทักษะในการควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์  และการเสพยาเสพติด จึงเป็นสิ่งจำเป็น แนวทางหนึ่งในการเสริมสร้างทักษะดังกล่าวคือการรู้จักคุณค่าของตนเอง บุคคลที่รู้จักคุณค่าของตนเอง คือคนที่ยอมรับความเป็นตนเอง จะรักตัวเอง  ไม่ทำสิ่งที่เป็นโทษภัยให้ตนเอง สามารถยอมรับเหตุการณ์  และผลที่เกิดขึ้นจากการกระทำของตนเองได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ดังนั้นการรู้จักคุณค่าของตนเองจึงเป็นปัจจัยให้สามารถประเมินความเสี่ยงและผลที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งจะส่งผลให้บุคคลนั้นสามารถหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง 

 
การพัฒนาและปรับเปลี่ยนทัศนคติของตนเองและผู้เกี่ยวข้อง
 
ความเข้าใจถึงความแตกต่างและข้อจำกัดของคนแต่ละคน ทั้งในด้านภูมิหลัง เศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรม รวมทั้งการมีความพร้อมในการปรับเปลี่ยนความคิดและทัศนคติที่มีต่อสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ทักษะในการเผชิญหน้าและการแก้ไขสถานการณ์ต่าง ๆ ด้วยมุมมองที่ดีในเชิงบวก ตลอดจนมีความสามารถในการโน้มน้าวให้บุคคลอื่นมีคุณลักษณะดังกล่าวเช่นกัน เป็นสิ่งสำคัญในการอยู่กันของคนในครอบครัวและในสังคม
 
การป้องกันตัวเองไม่ให้ติดเชื้อ HIV
โดยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือการปฏิบัติตนในชีวิตประจำวันให้ปลอดภัยต่อการติดเชื้อเอดส์โดยไม่คาดคิด ดังนี้
  1. ไม่มีพฤติกรรมเสี่ยง ไม่มีเพศสัมพันธ์กับคนที่ไม่รู้จัก หรือไม่แน่ใจว่าจะมีเชื้อ
    ไวรัสเอชไอวีอยู่
  2. ต้องสวมถุงยางอนามัยทุกครั้ง เมื่อจะมีเพศสัมพันธ์กับคนที่ไม่รู้จัก หรือไม่แน่ใจว่าจะมีเชื้อไวรัสเอชไอวีอยู่หรือไม่
  3. ไม่ใช้เข็มฉีดยาหรือของมีคมร่วมกับผู้อื่น เช่น มีดโกนหนวด กรรไกรตัดเล็บ แปรงสีฟัน เป็นต้น
  4. หากต้องใช้ของมีคมกับร่างกาย ควรทำความสะอาดเครื่องมือเสียก่อนด้วยน้ำ
    และสบู่
  5. งดเว้นใช้ยาเสพติดโดยเฉพาะชนิดฉีด หากเลิกไม่ได้ควรเปลี่ยนเป็นชนิด สูดดม หรือกินแทน หากจำเป็นต้องฉีด ก็ควรใช้เข็มชนิดครั้งเดียวทิ้ง
  6. หลีกเลี่ยงไม่สัมผัส กับเลือด น้ำเหลือง น้ำอสุจิ น้ำในช่องคลอด ของผู้อื่นโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม
  7. หากสัมผัสกับเลือด น้ำเหลือง น้ำอสุจิ น้ำจากช่องคลอด น้ำลาย น้ำนม ปัสสาวะ อุจจาระของใครก็ตาม ควรรีบล้างด้วยน้ำและสบู่ทันที
  8. งดการรับบริจาคเลือด หรือ อวัยวะที่ไม่ได้ผ่านการตรวจหาเชื้อเอชไอวีเสียก่อน