หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ประเด็นปัญหาเพื่อการศึกษาค้นคว้า?

ประเด็นปัญหาเพื่อการศึกษาค้นคว้า - การตั้งประเด็นปัญหาเพื่อการศึกษาค้นคว้า - วัสดุสารสนเทศ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 สมมุติฐาน?

- การตั้งสมมุติฐาน - หลักการเขียนสมมุติฐาน

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การศึกษาค้นคว้าจากแหล่งการเรียนรู้?

- แหล่งการเรียนรู้อินเทอร์เน็ต - การอ้างอิงแทรกในเนื้อหา - นิยามศัพท์เฉพาะ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 การเก็บรวบรวมข้อมูล?

- ประชากร และกลุ่มตัวอย่าง - แบบสอบถาม - มาตราส่วนประมาณค่า

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 แหล่งที่มาของข้อมูล?

- การตรวจสอบแหล่งที่มาของข้อมูล - แหล่งที่มาของข้อมูลภาพ และส่วนประกอบของรายงาน - เครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูล - วิธีดำเนินการศึกษา
การอ้างอิงแทรกในเนื้อหา

การอ้างอิงแทรกในเนื้อหา

      วิธีการอ่านควรมีความสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายในการอ่าน การศึกษาค้นคว้าโดยการอ่านแบบสำรวจ เป็นการอ่านอย่างรวดเร็ว เพื่อช่วยเลือกเรื่อง และรวบรวมบรรณานุกรม เมื่อเลือกเรื่องได้แล้วควรใช้การอ่านเพื่อเก็บประเด็นสำคัญ ซึ่งเป็นวิธีเดียวกับการอ่านเพื่อเตรียมสอบ นิยมใช้หลัก SQ3’R คือ สำรวจ ตั้งคำถาม ค้นหาคำตอบ บันทึก และทบทวน ดังนี้ (วิโรจน์ ถิรคุณ. 2543 : 167)

  1. S (Survey) คือ การสำรวจส่วนประกอบของเรื่องที่อ่าน
  2. Q (Question) คือ การตั้งคำถามเรื่องที่ต้องการรู้
  3. R 1 (Read) การค้นหาคำตอบจากเรื่องที่อ่าน
  4. R 2 (Recall) การจดบันทึกใจความสำคัญจากเรื่องที่อ่าน
  5. R 3 (Review) การอ่านทบทวนเพื่อเชื่อมโยงความเข้าใจภาพรวมของเรื่อง

     เมื่ออ่านพบเรื่องที่ตรงกับประเด็นสำคัญของเรื่องที่จะศึกษาค้นคว้าแล้ว ควรบันทึกในบัตรบันทึกข้อมูล หรือสมุดบันทึกการอ่าน และการศึกษาค้นคว้า หากมีการคัดลอก อ้างข้อความ หรือแนวคิดของผู้อื่นมาลงไว้ในบันทึก หรือผลงานของตนต้องมีการอ้างอิง (Citation) คือ การแสดงให้เห็นถึงแหล่งที่มาของข้อมูล หรือแนวคิดที่นามาใช้ในการเขียนรายงาน โดยการเขียนอ้างอิงแทรกในเนื้อหา และการเขียนบรรณานุกรม

     การอ้างอิงแทรกในเนื้อหา รูปแบบการอ้างอิงแทรกในเนื้อหา ที่นิยมใช้มาก คือ ระบบนาม-ปี (Author date) โดยระบุชื่อผู้แต่ง ปีพิมพ์ และเลขหน้าที่อ้างอิง ถ้าผู้แต่งเป็นชาวต่างประเทศให้ลงเฉพาะชื่อสกุล หรือชื่อท้าย

     รูปแบบการอ้างอิงแทรกในเนื้อหาจากหนังสือ คือ (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. 2549 : 103)

                       (ชื่อผู้แต่ง.//ปีพิมพ์/:/เลขหน้าที่อ้างอิง)

ตัวอย่างการอ้างอิงแทรกในเนื้อหาจากสื่อสิ่งพิมพ์

     “…หนังสือพิมพ์ เป็นสื่อใกล้ตัวที่มีเนื้อหาสาระหลายด้าน ทั้งข่าว บทความ สารคดี สาระบันเทิงด้านภาพยนตร์ ดนตรี กีฬา ปัจจุบันหนังสือพิมพ์ยังเพิ่มเติมเนื้อหาบทละครโทรทัศน์ เพื่อจูงใจผู้ชมละครที่ต้องการรู้เรื่องล่วงหน้า (ฟองจันทร์ สุขยิ่ง และคนอื่น ๆ. 2552 : 38)…”

     การศึกษาค้นคว้าจากหนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ มีรูปแบบการอ้างอิงแทรกในเนื้อหาเหมือนกัน ส่วนการอ้างอิงแทรกในเนื้อหาจากสื่อโสตทัศน์ และอินเทอร์เน็ต มีรูปแบบ คือ (ชื่อผู้แต่ง.//ประเภทของสื่อ.//ปีที่เผยแพร่) คำบอกประเภทของสื่อโสตทัศน์ เช่น รายการโทรทัศน์ รายการวิทยุ ภาพยนตร์ เป็นต้น จากซีดีรอมใช้คาว่า ซีดีรอม จากอินเทอร์เน็ตใช้คำว่า ออนไลน์

     เมื่อมีการอ้างอิงแทรกในเนื้อหาทุกรายการจะต้องมีการลงรายการที่สอดคล้องกับบรรณานุกรม

ไฟล์แนบ

ref1.pdf 471.73 KB