หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ประเด็นปัญหาเพื่อการศึกษาค้นคว้า?

ประเด็นปัญหาเพื่อการศึกษาค้นคว้า - การตั้งประเด็นปัญหาเพื่อการศึกษาค้นคว้า - วัสดุสารสนเทศ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 สมมุติฐาน?

- การตั้งสมมุติฐาน - หลักการเขียนสมมุติฐาน

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การศึกษาค้นคว้าจากแหล่งการเรียนรู้?

- แหล่งการเรียนรู้อินเทอร์เน็ต - การอ้างอิงแทรกในเนื้อหา - นิยามศัพท์เฉพาะ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 การเก็บรวบรวมข้อมูล?

- ประชากร และกลุ่มตัวอย่าง - แบบสอบถาม - มาตราส่วนประมาณค่า

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 แหล่งที่มาของข้อมูล?

- การตรวจสอบแหล่งที่มาของข้อมูล - แหล่งที่มาของข้อมูลภาพ และส่วนประกอบของรายงาน - เครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูล - วิธีดำเนินการศึกษา
เครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูล

เครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูล

     การเก็บรวบรวมข้อมูลจะต้องใช้เทคนิคที่เหมาะสมโดยมีการวางแผนเพื่อให้เกิดความถูกต้อง สมบูรณ์ สะดวก ประหยัด (อนันต์ ศรีโสภา. 2539 : 546) เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องแล้วนำมาพิจารณาเปรียบเทียบ วิเคราะห์ และสรุปผลได้ตรงตามจุดประสงค์ของการศึกษาค้นคว้า เครื่องมือ ที่นิยมใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยทั่วไปมีดังนี้ (บุญชม ศรีสะอาด. 2545 : 53-80)

  1. แบบทดสอบ คือ ชุดของคำถาม หรืองานที่สร้างขึ้นเพื่อให้กลุ่มตัวอย่างตอบ อาจอยู่ในรูปของการเขียนตอบ การพูด การปฏิบัติที่สามารถสังเกต หรือวัดให้เป็นปริมาณได้
  2. แบบสอบถาม คือ เครื่องมือชนิดหนึ่งที่ผู้ศึกษาค้นคว้านิยมใช้ในการเก็บรวบรวม ข้อมูล มีข้อคำถามที่ต้องการให้กลุ่มตัวอย่างตอบ โดยกาเครื่องหมาย เขียนตอบ หรือสัมภาษณ์ ตามแบบสอบถาม นิยมถามเกี่ยวกับข้อเท็จจริง ความคิดเห็นของบุคคล
  3. การสังเกตการณ์ คือ เทคนิคการรวบรวมข้อมูลอย่างหนึ่ง ที่ผู้สังเกตการณ์ใช้สายตาเฝ้าดู หรือศึกษาเหตุการณ์ เพื่อให้เข้าใจลักษณะธรรมชาติ ความเกี่ยวข้องกันระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ โดยใช้แบบบันทึกผลการสังเกต ควรมีหลักในการสังเกตการณ์ดังนี้

           3.1 มีเป้าหมายที่ชัดเจน และตั้งใจตลอดเวลาในการสังเกต

           3.2 ศึกษาทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง และกำหนดเวลาในการสังเกตให้แน่นอน

           3.3 วางตัวเป็นกลาง และบันทึกผลการสังเกตให้ได้ข้อมูลครบถ้วนที่สุด

  1. การสัมภาษณ์ คือ การที่ผู้สัมภาษณ์ ไปค้นหาข้อมูลโดยการสอบถามผู้ให้สัมภาษณ์ เกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัว บุคลิกภาพ เจตคติ ความคิดเห็น เพื่อความสะดวก รวดเร็วอาจใช้แบบสัมภาษณ์โดยมีคำถามที่สร้างขึ้น ถามแล้วจดบันทึกคำตอบลงในแบบสัมภาษณ์ ควรมีหลักการสัมภาษณ์ดังนี้

          4.1 การเตรียมตัวก่อนไปสัมภาษณ์ ทบทวนจุดประสงค์การศึกษาค้นคว้าให้ชัดเจน นัดเวลา สถานที่กับกลุ่มตัวอย่างที่จะไปสัมภาษณ์ และเตรียมวัสดุ อุปกรณ์สาหรับการสัมภาษณ์

          4.2 การเริ่มต้น ผู้สัมภาษณ์ควรแนะนำตนเอง แจ้งจุดประสงค์ของการสัมภาษณ์ สร้างความคุ้นเคยด้วยการสนทนาเรื่องที่คาดว่าผู้ให้สัมภาษณ์สนใจ โดยใช้เวลาเล็กน้อย

          4.3 การดำเนินการสัมภาษณ์ ผู้สัมภาษณ์ต้องสุภาพ ยิ้มแย้มแจ่มใส ใช้ภาษาที่เข้าใจได้ง่าย สัมภาษณ์ทีละคำถาม บันทึกคำตอบอย่างรวดเร็ว และกล่าวขอบคุณผู้ให้สัมภาษณ์

     เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลมีแบบทดสอบ เป็นชุดของคำถาม หรืองานที่สร้างขึ้นให้กลุ่มตัวอย่างตอบ แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือที่เหมาะกับการเก็บรวบรวมข้อมูลประเภทความคิด และข้อเท็จจริง กรณีใช้การสังเกตต้องมีจุดประสงค์ที่ชัดเจน ส่วนการสัมภาษณ์ต้องมีการเตรียมตัวให้พร้อมก่อนไปสัมภาษณ์ และขณะดำเนินการสัมภาษณ์