หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ประเด็นปัญหาเพื่อการศึกษาค้นคว้า?

ประเด็นปัญหาเพื่อการศึกษาค้นคว้า - การตั้งประเด็นปัญหาเพื่อการศึกษาค้นคว้า - วัสดุสารสนเทศ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 สมมุติฐาน?

- การตั้งสมมุติฐาน - หลักการเขียนสมมุติฐาน

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การศึกษาค้นคว้าจากแหล่งการเรียนรู้?

- แหล่งการเรียนรู้อินเทอร์เน็ต - การอ้างอิงแทรกในเนื้อหา - นิยามศัพท์เฉพาะ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 การเก็บรวบรวมข้อมูล?

- ประชากร และกลุ่มตัวอย่าง - แบบสอบถาม - มาตราส่วนประมาณค่า

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 แหล่งที่มาของข้อมูล?

- การตรวจสอบแหล่งที่มาของข้อมูล - แหล่งที่มาของข้อมูลภาพ และส่วนประกอบของรายงาน - เครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูล - วิธีดำเนินการศึกษา
มาตราส่วนประมาณค่า

มาตราส่วนประมาณค่า

     มาตราการวัดชนิดหนึ่งที่ใช้สร้างเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลประเภทแบบสอบถาม คือมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) มีลักษณะดังนี้

  1. มีระดับความเข้มข้นให้ผู้ตอบเลือกตอบตามความคิดเห็น เหตุผล สภาพจริง ที่นิยมใช้มี 3-5 ระดับ เช่น มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด เป็นต้น
  2. ระดับที่ให้เลือกอาจมีเฉพาะด้านบวก หรือมีเฉพาะด้านลบ หรือมีทั้งด้านบวก และด้านลบในชุดเดียวกัน ดังตัวอย่าง เห็นด้วยอย่างยิ่ง เห็นด้วย ไม่แน่ใจ ไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง

ตัวอย่างด้านบวก นักเรียนศึกษาค้นคว้าวิชา IS1 เพิ่มเติมจากที่เรียนในชั้นเรียน

      บ่อยมาก               บ่อย              บางครั้ง        น้อย            ไม่เคย

ตัวอย่างด้านลบ การเรียนโดยใช้บทเรียนสาเร็จรูปทาให้นักเรียนเรียนไม่ทันเพื่อน

      มากที่สุด               มาก               ปานกลาง      น้อย            น้อยที่สุด

ตัวอย่างด้านบวก และด้านลบในข้อเดียวกัน วิชาสังคมศึกษาให้ประโยชน์น้อย

      เห็นด้วยอย่างยิ่ง      เห็นด้วย          ไม่แน่ใจ        ไม่เห็นด้วย   ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง

  1. ข้อคำถามบางข้อมีลักษณะเชิงนิมาน หรือด้านบวก (Positive Scale) บางข้อมีลักษณะเชิงนิเสธ หรือด้านลบ (Negative Scale) อยู่ในแบบสอบถามชุดเดียวกัน ดังตัวอย่างในข้อ 2
  2. สามารถแปลผลเป็นคะแนนได้ จึงสามารถวัดความคิดเห็น คุณลักษณะด้านจิตพิสัยเป็นคะแนน นิยมทำเป็นช่องเพื่อสะดวกในการตอบ ดังตัวอย่าง

ข้อ

รายการ

ระดับความคิดเห็น

 

S.D.

มากที่สุด

(5)

มาก

(4)

ปานกลาง

(3)

น้อย

(2)

น้อยที่สุด

(1)

1

บทเรียนมีกิจกรรมหลากหลายน่าสนใจ

             

2

บทเรียนง่ายต่อการทำความเข้าใจ

             

3

บทเรียนให้เข้าใจบทเรียน และจำได้นาน

             

4

บทเรียนมีความสะดวกในการใช้

             

5

รายละเอียดของเนื้อหาบทเรียน เหมาะสม