หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ประเด็นปัญหาเพื่อการศึกษาค้นคว้า?

ประเด็นปัญหาเพื่อการศึกษาค้นคว้า - การตั้งประเด็นปัญหาเพื่อการศึกษาค้นคว้า - วัสดุสารสนเทศ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 สมมุติฐาน?

- การตั้งสมมุติฐาน - หลักการเขียนสมมุติฐาน

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การศึกษาค้นคว้าจากแหล่งการเรียนรู้?

- แหล่งการเรียนรู้อินเทอร์เน็ต - การอ้างอิงแทรกในเนื้อหา - นิยามศัพท์เฉพาะ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 การเก็บรวบรวมข้อมูล?

- ประชากร และกลุ่มตัวอย่าง - แบบสอบถาม - มาตราส่วนประมาณค่า

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 แหล่งที่มาของข้อมูล?

- การตรวจสอบแหล่งที่มาของข้อมูล - แหล่งที่มาของข้อมูลภาพ และส่วนประกอบของรายงาน - เครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูล - วิธีดำเนินการศึกษา
ประชากร และกลุ่มตัวอย่าง

ประชากร และกลุ่มตัวอย่าง

     ประชากร คือ กลุ่มคน สัตว์ สิ่งของ หรือลักษณะทางจิตวิทยาที่ทำการศึกษา

     กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มคน สัตว์ สิ่งของ หรือลักษณะทางจิตวิทยาที่เป็นตัวแทน ของประชากรที่ทำการศึกษา

     ผู้ศึกษาค้นคว้าบางครั้งไม่สามารถทำการศึกษากับประชากรได้ เพราะมีจำนวนมาก หรือ มีสภาพยากแก่การเก็บรวบรวมข้อมูล จึงจำเป็นต้องศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง แล้วใช้สถิติอ้างอิงถึงประชากร มีประโยชน์ คือ ประหยัด ควบคุมความถูกต้องได้ง่าย และใช้กับข้อมูลบางอย่างที่ไม่สามารถศึกษาจากประชากรได้ เช่น เลือดทุกหยดในตัวคนไข้ นักเรียน ม. 4 ทุกคนในประเทศไทย เป็นต้น

     การเลือกกลุ่มตัวอย่าง ผู้ศึกษาต้องกำหนดประชากรให้ชัดว่า คืออะไร มีขอบเขต และคุณลักษณะอย่างไร กำหนดข้อมูลที่จะรวบรวมตามจุดมุ่งหมายที่ศึกษา กำหนดเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล กำหนดจำนวน และวิธีเลือกกลุ่มตัวอย่าง

การกำหนดจำนวนสมาชิกกลุ่มตัวอย่าง

  1. ประชากรมีลักษณะคล้ายกัน เลือกกลุ่มตัวอย่างน้อย ถ้าประชากรมีลักษณะต่างกัน เลือกกลุ่มตัวอย่างมาก
  2. การทดลอง การสัมภาษณ์ ใช้กลุ่มตัวอย่างน้อยกว่าการส่งแบบสอบถามให้ตอบ

วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่าง

  1. ไม่อาศัยความน่าจะเป็น โดยไม่ใช้วิธีการสุ่ม ประชากรมีโอกาสถูกเลือกไม่เท่ากัน ผู้ศึกษาเลือกแบบบังเอิญ แบบเจาะจงตามความสะดวกของผู้ศึกษา
  2. อาศัยความน่าจะเป็น โดยการสุ่ม ประชากรทุกส่วนมีโอกาสถูกเลือกเท่ากัน เช่น การจับฉลาก เป็นต้น