หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ประเด็นปัญหาเพื่อการศึกษาค้นคว้า?

ประเด็นปัญหาเพื่อการศึกษาค้นคว้า - การตั้งประเด็นปัญหาเพื่อการศึกษาค้นคว้า - วัสดุสารสนเทศ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 สมมุติฐาน?

- การตั้งสมมุติฐาน - หลักการเขียนสมมุติฐาน

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การศึกษาค้นคว้าจากแหล่งการเรียนรู้?

- แหล่งการเรียนรู้อินเทอร์เน็ต - การอ้างอิงแทรกในเนื้อหา - นิยามศัพท์เฉพาะ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 การเก็บรวบรวมข้อมูล?

- ประชากร และกลุ่มตัวอย่าง - แบบสอบถาม - มาตราส่วนประมาณค่า

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 แหล่งที่มาของข้อมูล?

- การตรวจสอบแหล่งที่มาของข้อมูล - แหล่งที่มาของข้อมูลภาพ และส่วนประกอบของรายงาน - เครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูล - วิธีดำเนินการศึกษา
หลักการเขียนสมมุติฐาน

หลักการเขียนสมมุติฐาน

สมมุติฐานที่ดีควรมีลักษณะดังนี้

  1. จุดมุ่งหมาย สอดคล้องกับสมมุติฐาน และผลของการศึกษาค้นคว้า
  2. สามารถทดสอบได้ด้วยข้อมูล หลักฐานต่าง ๆ
  3. ใช้ภาษาชัดเจน เข้าใจง่าย และรัดกุม
  4. สมเหตุสมผล โดยตั้งมาจากหลักของเหตุผล ตามทฤษฏี และผลการศึกษาค้นคว้า ที่ผู้ศึกษาค้นคว้ามา

หลักการเขียนสมมุติฐาน

  1. ใช้ข้อความที่เฉพาะเจาะจง กะทัดรัด ชัดเจน สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า
  2. เขียนสมมุติฐานหลังจากได้ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง ครบถ้วนแล้ว
  3. โดยทั่วไปจะตั้งสมมุติฐานก่อนการเก็บรวบรวมข้อมูล แต่มีการศึกษาค้นคว้า บางประเภท เช่น การศึกษาค้นคว้าเชิงคุณลักษณะ หรือเชิงคุณภาพ อาจไม่จำเป็นต้องตั้งสมมุติฐานก่อน แต่อาจเริ่มจากการสังเกต รวบรวมข้อมูล แล้วตั้งสมมุติฐานจากข้อมูลที่ค้นพบก็ได้
  4. เขียนสมมุติฐานที่สามารถทดสอบได้จากข้อมูลที่ได้รวบรวมมา
  5. กรณีมีหลายประเด็นควรแยกสมมุติฐานออกเป็นรายข้อ ซึ่งในการศึกษาค้นคว้าครั้งนั้นจะทำการทดสอบเป็นรายข้อ

ตัวอย่างสมมุติฐาน

  1. นักเรียนที่ดื่มนมจะเติบโตมากกว่านักเรียนที่ไม่ได้ดื่มนม (จรัญ จันทลักขณา และกษิดิษ อื้อเชี่ยวชาญกุล. 2551 : 39)
  2. เกษตรกรที่รวมกลุ่ม มีความเข้มแข็งทางสังคม และเศรษฐกิจ มากกว่าเกษตรกร ที่ไม่รวมกลุ่ม (จรัญ จันทลักขณา และกษิดิษ อื้อเชี่ยวชาญกุล. 2551 : 36)
  3. ผลการเรียนมีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (บุญชม ศรีสะอาด. 2545 : 37)
  4. หลังจากใช้โปรแกรมค่ายโรงเรียนเพื่อสร้างสัมพันธภาพ นักเรียนกลุ่มทดลองปรับตัวเข้ากับเพื่อนได้ สูงกว่าก่อนการทดลอง (วาสนา ฤทธิสิทธิ์. 2552 : 63)                                                   

     ตัวอย่างสมมุติฐาน

    1. นักเรียนที่ดื่มนมจะเติบโตมากกว่านักเรียนที่ไม่ได้ดื่มนม (จรัญ จันทลักขณา และกษิดิษ อื้อเชี่ยวชาญกุล. 2551 : 39)
    1. เกษตรกรที่รวมกลุ่ม มีความเข้มแข็งทางสังคม และเศรษฐกิจ มากกว่าเกษตรกร ที่ไม่รวมกลุ่ม (จรัญ จันทลักขณา และกษิดิษ อื้อเชี่ยวชาญกุล. 2551 : 36)
    1. ผลการเรียนมีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (บุญชม ศรีสะอาด. 2545 : 37)
    1. นักเรียนที่เรียนด้วยกระบวนการกลุ่ม มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่า นักเรียนที่เรียนด้วยการบรรยาย (บุญชม ศรีสะอาด. 2545 : 34)
    1. บุคลากรสาธารณสุข มีอิทธิพลต่อการบริหารงานของหัวหน้าสถานีอนามัย (อิสรา ตุงตระกูล. 2553 : 10)
    1. ครูบรรณารักษ์ ที่มีวุฒิต่างกัน มีปัญหาการประชาสัมพันธ์ห้องสมุดโรงเรียนแตกต่างกัน (ศุภชัย เขียวทอง. 2533 : 3)
    1. ปัญหาการจัดกิจกรรมชุมนุมห้องสมุดของครู และนักเรียน แตกต่างกัน (วัชรีวรรณ วัดบัว. 2535 : 4)
    1. ครูที่มีประสบการณ์ต่างกัน คือน้อยกว่า 5 ปี กับตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป มีปัญหาการสอนวิชาการศึกษาค้นคว้า แตกต่างกัน (สมเกียรติ สงฆ์สังวรณ์. 2533 : 5)
    1. ปัญหาการจัดกิจกรรมสหกรณ์โรงเรียนของครู และนักเรียน แตกต่างกัน (จารุ    โรจนรังสิมันตุ์. 2526 : 29)
    1. ความวิตกกังวลในการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียน หลังการจัดกิจกรรม ลดลงจากก่อนการจัดกิจกรรม (ลดาวัลย์ อูปแก้ว. 2552 : 4)
    1. ความสามารถทางการเขียนภาษาไทย ของนักเรียนที่เรียนแบบมุ่งประสบการณ์ กับการเรียนตามคู่มือครู แตกต่างกัน (นลินี บพิตรสุวรรณ. 2537 : 78)
    1. หลังจากใช้โปรแกรมค่ายโรงเรียนเพื่อสร้างสัมพันธภาพ นักเรียนกลุ่มทดลองปรับตัวเข้ากับเพื่อนได้ สูงกว่าก่อนการทดลอง (วาสนา ฤทธิสิทธิ์. 2552 : 63)