หน่วยที่ 2 วัตถุดิบ วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือและการดูแลรักษา?

- วัตถุดิบ และวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือในการทำปุ๋ยชีวภาพ - การเตรียมและเลือกใช้เครื่องมือ - การดูแลรักษาเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์

หน่วยที่ 3 การผลิตปุ๋ยชีวภาพ?

- การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพสำหรับเจริญเติบโต - การผลิตสารชีวภาพสำหรับไล่แมลง

หน่วยที่ 4 การทำบัญชี?

- การจดบันทึกการปฏิบัติงาน - การทำบัญชีรายรับ – รายจ่าย - ปฏิบัติการคำนวณค่าใช้จ่าย การกำหนดราคาขาย และจัดจำหน่าย

แบบประเมินความพึงพอใจในการเรียน

การทำน้ำหมักชีวภาพพื้นฐานสำหรับใช้ในแปลงเกษตร

การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ มี 2 กลุ่ม

1.การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพสำหรับเจริญเติบโต

2.การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพสำหรับกำจัดศัตรูพืช

 
 

การทำน้ำหมักชีวภาพพื้นฐานสำหรับใช้ในแปลงเกษตร
1..น้ำหมักพืชเขียว เร่งต้น เร่งใบ
ส่วนผสม
….ยอดอ่อนของผักบุ้ง(เก็บช่วงก่อนพระอาทิตย์ขึ้น) ผักสีเขียวต่างๆ 3กก.
….กากน้ำตาล 1กก.หรือน้ำตาลทรายแดง 0.5กก.
….น้ำสะอาด 10ลิตร
….หัวเชื้อจุลินทรีย์ท้องถิ่น 1 แก้ว(250ซีซี)
วิธีทำ
1.สับพืชผักสีเขียว ยอดผักบุ้งให้ละเอียด ใส่ลงในถัง
2.ใส่กากน้ำตาลหรือนำตาลทรายแดง และหัวเชื้อจุลินทรีย์ท้องถิ่น คลุกเคล้าให้เข้ากันปิดฝาถังหมักไว้15 วัน
3.ครบ15วันเปิดฝาถัง เติมน้ำลงไป หมักต่ออีก30วัน กรองเอาแต่น้ำใส่ขวดเก็บไว้ กากนั้นนำไปทำปุ๋ยหมักต่อไป
อัตราการใช้
น้ำหมักพืชเขียว 2ช้อนโต๊ะ/น้ำ 5ลิตร ฉีดพ่นผักทุกๆ3-5วัน เร่งต้นเร่งผล
 
2.น้ำหมักผลไม้ เร่งดอกเร่งผล
ส่วนผสม
…กล้วยน้ำว้าสุก มะละกอสุก ฟักทอง 3 กก.
….กากน้ำตาล 1กก.หรือน้ำตาลทรายแดง 0.5กก.
….น้ำมะพร้าว 10ลิตร
….หัวเชื้อจุลินทรีย์ท้องถิ่น 1 แก้ว(250ซีซี)
วิธีทำ
1.หั่นกล้วยน้ำว้าสุก มะละกอสุก ฟักทอง เป็นชิ้นเล็กๆใส่ลงในถัง
2.ใส่กากน้ำตาลหรือนำตาลทรายแดง และหัวเชื้อจุลินทรีย์ท้องถิ่น คลุกเคล้าให้เข้ากันปิดฝาถังหมักไว้15 วัน
3.ครบ15วันเปิดฝาถัง เติมน้ำมะพร้าว(ถ้าไม่มีน้ำซาวข้าวทดแทนได้)ลงไป หมักต่ออีก30วัน กรองเอาแต่น้ำใส่ขวดเก็บไว้ กากนั้นนำไปทำปุ๋ยหมักต่อไป
อัตราการใช้
น้ำหมักผลไม้ 2ช้อนโต๊ะ/น้ำ 5ลิตร ฉีดพ่นผักทุกๆ3-5วัน เร่งต้นเร่งผล
 
3.น้ำหมักช่วยให้ขั้วเหนียว ลูกดก   น้ำหมักรกหมู  
ส่วนผสม
..รกหมูคลอดใหม่ๆ 1พวง
..กากน้ำตาล 1กก.หรือน้ำตาลทรายแดง 1 กก.
..น้ำสะอาด 10ลิตร
..หัวเชื้อจุลินทรีย์ท้องถิ่น 2 แก้ว(500ซีซี)
วิธีทำ
หาถังพลาสติกมีฝา1ใบ ใส่น้ำสะอาด กากน้ำตาล หัวเชื้อจุลินทรีย์ท้องถิ่น คนให้เข้ากัน นำรกหมูใส่ถุงตาข่ายมัดปากให้แน่น ใส่ลงไปในถัง หมักไว้ไม่น้อยกว่า 30วัน
อัตราการใช้
น้ำหมักรกหมู 1ช้อนแกง / น้ำ 5 ลิตร ฉีดพ่น คุณสมบัติ ช่วยให้ขั้วเหนียว ลูกดกเพิ่มการออกรวงในข้าว
 
4.น้ำหมักเร่งการแตกยอดอ่อน  น้ำหมักปลา
ส่วนผสม
….ปลาสด 3 กก.
….กากน้ำตาลหรือนำตาลทรายแดง 1 กก.
….หัวเชื้อจุลินทรีย์ท้องถิ่น 2 แก้ว(500ซีซี)
วิธีทำ
นำส่วนผสมทั้ง3ส่วน ผสมให้เข้ากัน ใส่ถังหมักไว้อย่างน้อย 30วัน กรองเอาน้ำไปใช้ อัตราการใช้
1ช้อนแกง/น้ำ5ลิตร ฉีดพ่น เร่งการแตกใบอ่อน
 
5.น้ำหมัก ย่อยสลายตอซัง ย่อยสลายใบไม้  น้ำหมักจาวปลวก 
จาวปลวก เป็นรังของปลวกที่สร้างเพื่อเลี้ยงตัวอ่อน จะพบภายในจอมปลวก สร้างจากมูลของปลวกที่ผสมกับใบไม้ และถูกย่อยสลายในลำไส้ปลวก จาวปลวกจะพบกับเส้นใยสีขาว จับอยู่เป็นกลุ่ม เส้นใยเหล่านี้เป็นอาหารของปลวก และเมื่อปลวกกินเส้นใยของราเข้าไป จะถ่ายมูลชนิดที่สองออกมา ซึ่งปลวกจะนำมูลที่เป็นของเหลวนี้ไปใช้เคลือบผนังด้านในของห้องเห็ด
แต่เมื่อถึงระยะหนึ่งปลวกจะกินน้อยลง และทิ้งรังตัวอ่อนไป ราจะเจริญเส้นใยเพิ่มมากขึ้น และเกิดดอกอ่อน (fruiting primodia) เป็นแท่งยาวโผล่ขึ้นมาจากรังเลี้ยงตัวอ่อน เรียกว่า pseudorhiza และแทงผ่านชั้นดินขึ้นมาเป็นดอกเห็ด ที่เรารู้จักกันดี นั่นคือ เห็ดโคน
ส่วนผสม
.. 1.จาวปลวกที่ขุดมาใหม่ๆ ประมาณ 2-3 จาว
.. 2.ข้าวสุก ใช้ได้ทั้งข้าวเหนียวและข้าวเจ้า 1 หม้อ
.. 3.น้ำสะอาด ประมาณค่อนถัง
..4.ถังน้ำมีฝาปิด 1 ใบ
วิธีทำ
นำจาวปลวกมาบด แล้วคลุกกับข้าวสุก เทลงในถังพลาสติกที่มีน้ำสะอาด ใส่ไว้เกือบเต็มถัง เหลือที่ว่าง จากปากถังประมาณ 1 ฝ่ามือ ปิดฝา ตั้งไว้ในบริเวณที่โดนแดดช่วงเช้า หมักทิ้งไว้ 7 วัน จะได้จุลินทรีย์จาวปลวกแบบน้ำที่มีลักษณะเป็นน้ำสีขาว ใส มีกลิ่นเปรี้ยว พร้อมใช้งาน
ถ้าต้องการขยายเชื้อจุลินทรีย์จาวปลวกให้ได้ปริมาณมากขึ้น ไม่จำเป็นต้องขุดจอมปลวกเพื่อเอาจาวปลวกอีก เพียงแต่เตรียมข้าวสุก และในน้ำในปริมาณเท่าเดิม และนำน้ำจุลินทรีย์จาวปลวกที่ทำครั้งแรกมาคลุกกับข้าวสุกให้เข้ากัน แล้วจึงนำไปเทใส่ถังพลาสติกที่มีฝาปิด และใส่น้ำเกือบเต็มถัง ปิดฝาทิ้งไว้ 7 วัน ก็จะได้น้ำจุลินทรีย์จาวปลวกไปใช้ประโยชน์ได้
วิธีการใช้ย่อยสลายฟางข้าวในนา
ใช้จุลินทรีย์จาวปลวกแบบเข้มข้น จำนวน 10 ลิตรต่อไร่ ปล่อยไปตามน้ำหรือฉีดพ่นให้กระจายทั่วแปลงนา ระดับน้ำในแปลงนาต้องท่วมฟางข้าวประมาณ 1 ฝ่ามือ หมักทิ้งไว้ 5-7 วัน หากจะให้ฟางเปื่อยเร็วกว่านี้ ให้ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยน้ำหมักจากปลา เทใส่ไปพร้อมกับน้ำที่สูบเข้าแปลงนา จะทำให้จุลินทรีย์จาวปลวกย่อยสลายฟางข้าวอย่างรวดเร็ว ทำให้ดินร่วนซุย อุ้มน้ำ ดินมีรูอากาศ
กรณีปั่นฟางสดหลังเก็บเกี่ยวข้าวทันที ให้ใช้จุลินทรีย์จาวปลวกในอัตราเท่ากัน ปล่อยไปตามน้ำ หมักทิ้งไว้ 7 วัน จึงทำเทือก เริ่มหว่านน้ำตม หรือโยนกล้า หรือปักดำ
 
อาจเป็นรูปภาพของ มะเขือเทศ