หน่วยที่ 2 วัตถุดิบ วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือและการดูแลรักษา?

- วัตถุดิบ และวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือในการทำปุ๋ยชีวภาพ - การเตรียมและเลือกใช้เครื่องมือ - การดูแลรักษาเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์

หน่วยที่ 3 การผลิตปุ๋ยชีวภาพ?

- การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพสำหรับเจริญเติบโต - การผลิตสารชีวภาพสำหรับไล่แมลง

หน่วยที่ 4 การทำบัญชี?

- การจดบันทึกการปฏิบัติงาน - การทำบัญชีรายรับ – รายจ่าย - ปฏิบัติการคำนวณค่าใช้จ่าย การกำหนดราคาขาย และจัดจำหน่าย

แบบประเมินความพึงพอใจในการเรียน

ปุ๋ยหมักไม่กลับกองสูตรแม่โจ้

Teerapong Sawang ถึง แลกเปลี่ยนความรู้ การทำปุ๋ยหมักวิศวกรรมแม่โจ้

ในปุ๋ยหมักไม่พลิกกองของกลุ่มเรา อุดมไปด้วยอินทรียวัตถุ และโบรอน โมลิบดินัม เหล็ก ทองแดง สังกะสี คลอรีน แมงกานีส นิกเกิ้ล แคลเซียม แมกนีเซียม ซัลเฟอร์ ……. โดยมี N P K ติดปลายนวมมาด้วย …… อุดมสมบูรณ์จนสมาชิกเรานำไปปลูกผักข้าว ไม้ผล ได้อย่างอินทรีย์ ไม่ง้อเคมีเลยครับ …… กลับไปสู่ยุคก่อนที่บรรดาเคมีจะเข้ามาขายในไทยปี 2503 ครับ
ใครเอาอะไรมาใช้เป็นวัตถุดิบทำปุ๋ย ….. ในปุ๋ยก็จะประกอบไปด้วยสิ่งที่เคยมีในวัตถุดิบนั้นครับ …… ไม่มีกระบวนการไหนที่สามารถสร้างธาตุอาหารดี ๆ ขึ้นมาเองได้ครับ …… เอาขี้ไก่มาหมักล้วน ๆ หรือเอาขี้ไก่ใส่พืช พืชก็จะได้ธาตุอาหารที่ไก่กิน ….. แถมลดลงด้วยซ้ำ เพราะลำไส้สัตว์ดูดซับเอาไปสร้างร่างกายเสียเยอะมากครับ …… ขี้วัว ขี้หมู ก็ไม่ต่างกันครับ
สำหรับปุ๋ยหมักไม่พลิกกอง เราใช้เศษพืชและมูลสัตว์ทำปุ๋ยหมัก เราจึงได้ธาตุอาหารทั้งจากที่เคยมีในมูลสัตว์และในเศษพืชครับ …… ในเศษพืชมีอินทรียวัตถุและโบรอน โมลิบดินัม เหล็ก ทองแดง สังกะสี คลอรีน แมงกานีส นิกเกิ้ล แคลเซียม แมกนีเซียม ซัลเฟอร์ สูงกว่าในมูลสัตว์ครับ ……. ธาตุอาหารเหล่านี้พืชทุกชนิดต้องการมาก ขาดธาตุใดธาตุหนึ่งไป พืชก็จะแสดงอาการป่วยครับ …… อินทรียวัตถุก็สำคัญต่อความอุดมสมบูรณ์ของดินปลูกด้วย ……. พืชไม่ได้ต้องการแค่ N P K เท่านั้น
ในปุ๋ยหมักที่ทำให้แห้งแล้ว ก็ยังอุดมไปด้วยจุลินทรีย์ฝ่ายดีด้วยครับ …… มีทั้งจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง และจุลินทรีย์ฝ่ายดีอีกมาก ……. ทีมงานของจารย์ลุงเคยทำวิจัยให้มูลนิธิชัยพัฒนาครับ และพบว่าในปุ๋ยหมักไม่พลิกกองมีจุลินทรีย์อย่างน้อย 34 ไอโซเลต (ชนิดสายพันธุ์) จาก 178 ไอโซเลตครับ ที่เป็นปฏิปักษ์หรือยับยั้งเชื้อราแอนแทรคโนสในพริกและสตรอเบอรี่
(อ่านเพิ่มเติม : https://web.facebook.com/groups/836331036476777/permalink/1988707827905753/)
จากการวิจัย ปุ๋ยหมักที่มีกระบวนการใช้ออกซิเจน อย่างวิธีของจารย์ลุง จะไม่เคยพบจุลินทรีย์ฝ่ายร้ายเลยครับ
เราทำให้ปุ๋ยหมักแห้งก่อนใช้ เพื่อให้จุลินทรีย์ฝ่ายที่เก่งด้านกัดแทะย่อยสลายเศษพืช ได้สงบตัวก่อนครับ เวลาเอาไปใช้ในการเพาะปลูกจะได้ไม่เกิดปัญหาต่อพืช ไม่ไปไล่กัดแทะรากพืช หรือไม่ทำให้เกิดการบูดเน่าต่อในดิน ที่เป็นสภาพพิษต่อพืชครับ
จุลินทรีย์ดี ๆ ในปุ๋ยหมักพวกนี้จะไปเบียดเบียนเชื้อโรคในดินครับ …… แถมอินทรียวัตถุในปุ๋ยหมักก็จะเป็นอาหารของจุลินทรีย์ดีที่เป็นประโยชน์ในดินอีกด้วย จะเพิ่มจำนวนขึ้นมาก แล้วไปรุกรานเชื้อโรคทางดิน ตามชีววิถีครับ ….. โรคทางดินจึงลดลงเสมอเมื่อมีการใช้ปุ๋ยหมัก
อินทรียวัตถุในปุ๋ยหมักยังช่วยให้ดินที่เป็นกรด กลายเป็นมีพีเอชค่อนไปทางเป็นกลางครับ ซึ่งเป็นสภาพที่เชื้อโรคทางดินอยู่ไม่ได้ครับ ….. เชื้อโรคทางดินจะชอบอยู่ในดินที่มีพีเอชไปทางกรดครับ
ทุเรียนเป็นโรครากเน่าโคนเน่า หอมกระเทียมเป็นโรครากเน่า ลำไยที่รากฝอยตายเพราะใส่สารเร่งคลอเรต สวนส้ม ส้มโอที่ดินเป็นกรด ….. ลองใช้ปุ๋ยหมักไร่ละ 1-3 ตันนะครับ โรคหายเลย ….. ใช้มากหรือน้อยขึ้นกับความเป็นกรดของดินครับ
ตั้งแต่ทำงานกับปุ๋ยหมักไม่พลิกกองตั้งแต่ปี 45 มา …… จารย์ลุงยังไม่เคยพบว่าใช้ปุ๋ยหมักแล้วจะมีเชื้อโรคทางดินเพิ่มขึ้นครับ ….. มีแต่พบว่าต้นไม้ตาย เพราะใส่ปุ๋ยหมักมากเกินไป ….. พืชสำลักธาตุอาหารตายครับ …… นี่ปุ๋ยหมักนะ ไม่ใช่ดินปลูก …… ปุ๋ยหมักกล่าว
เมื่อดินหายเป็นกรด การยึดตรึงปุ๋ยเคมีหรือ fixation ที่ทำให้ปุ๋ยเคมีไม่สามารถละลายน้ำให้อยู่ในรูปที่พืชนำไปใช้ได้ ก็จะหมดไป การใช้ปุ๋ยเคมีก็จะมีประสิทธิภาพมากครับ …… ปุ๋ยเคมีไม่ใช่สารพิษครับ ….. สารพิษคือยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าแมลง ยาปราบศัตรูพืชต่างหากครับ …… ใช้ปุ๋ยเคมีบวกปุ๋ยหมัก ดินการเพาะปลูกก็จะสมบูรณ์อย่างยั่งยืนครับ …… ปลูกพืชเชิงเดี่ยวอย่างปาล์ม ยาง มัน อ้อย ก็ใช้ปุ๋ยหมักร่วมกับปุ๋ยเคมีได้ครับ
ปุ๋ยหมักของใครที่ใส่ถุงไว้นาน ๆ บริเวณถุงที่โดนแดดก็อาจเจอคราบเขียวติดในถุง อันนั้นไม่ได้แสดงว่าปุ๋ยหมักของเราบูดเสียนะครับ แต่แสดงว่าในปุ๋ยหมักมีจุลินทรีย์ของดีครับ ….. จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง PSB ไงครับ
อ่านการทำปุ๋ยหมัก 5 แบบของจารย์ลุงนะครับ

  1. การทำปุ๋ยหมักแบบกองใหญ่รูปสามเหลี่ยม ไม่พลิกกลับกอง เสร็จใน 2 เดือน https://www.facebook.com/groups/836331036476777/permalink/1113294255447119/
  2. การทำปุ๋ยหมักแบบกองเล็กรูปสี่เหลี่ยม ไม่พลิกกลับกอง 2 เดือนเสร็จ https://www.facebook.com/groups/836331036476777/permalink/863796210396926/?hc_location=ufi
  3. การทำปุ๋ยหมักในตะกร้า เข่ง หรือวงตาข่าย ไม่ต้องพลิก 2 เดือนเสร็จ https://www.facebook.com/groups/836331036476777/permalink/1114723298637548/
  4. การทำปุ๋ยหมักในกะละมัง พลิกวันละครั้ง เดือนเดียวเสร็จ https://www.facebook.com/groups/836331036476777/permalink/1116126828497195/
  5. การทำปุ๋ยหมักแบบผสมระหว่างแบบที่ 3 และแบบที่ 4 https://www.facebook.com/groups/836331036476777/permalink/1156267924483085/
  6. การทำปุ๋ยหมักแบบกองใหญ่รูปสามเหลี่ยม ไม่พลิกกลับกอง เสร็จใน 2 เดือน https://www.facebook.com/groups/836331036476777/permalink/1113294255447119/
Teerapong Sawang

ขั้นตอนวิธีการทำปุ๋ยหมักปริมาณมากแบบไม่พลิกกลับกอง วิศวกรรมแม่โจ้ 1 นะครับ

  1. ถ้าเป็นฟาง เปลือกทุเรียน เศษข้าวโพด หรือหญ้า ให้ตวงในเข่ง ขึ้นเหยียบเข่งให้แน่น 4 เข่ง (ถ้าเป็นใบไม้ หรือทะลายปาล์ม ใช้ 3 เข่ง …… ต้นกล้วยหั่น หรือผักตบ 6 ต่อ 1)
  2. นำไปวางหนา 5-10 ซม.บนพื้นดิน ฐานกว้าง 1.5-2.5 ม. วางเบา ๆ โดยห้ามขึ้นเหยียบบนกอง ใช้คราดเหล็กช่วยเกลี่ย …. การขึ้นเหยียบบนกองจะทำให้กองแน่นเกินไป อากาศจะเข้าไม่ได้ จุลินทรีย์จะไม่ได้รับออกซิเจน การย่อยสลายจะเกิดไม่ได้ครับ ….. ถ้าเป็นทะลายปาล์มใช้ความกว้างกอง 1.5 ม. ครับ

วิธีทำปุ๋ยหมักแบบอื่นเขาให้ขึ้นเหยียบกองได้เพราะเขาต้องมีการพลิกกลับกองครับ …. เป็นพวกขยัน แรงเยอะ ….. แต่ของเราไม่มีการพลิกกอง ….. พวกเราขี้เกียจและสุขุมกว่าครับ

  1. ต่อความยาวกอง โดยทำข้อ 1 และ 2 ซ้ำ จนกว่าจะได้ความยาวกองปุ๋ยที่ต้องการ ……. ใครทำแบบกะด้วยสายตา ไม่ยอมตวงด้วยเข่ง หรือคำนวณด้วยน้ำหนักก็จะผิดวิธีครับ
  2. โรยทับด้วยมูลสัตว์ให้ทั่ว ในสัดส่วนฟาง 4 เข่งต่อมูลสัตว์ 1 เข่ง (ใบไม้ 3 ต่อ 1 …… ต้นกล้วยหั่น หรือผักตบ 6 ต่อ 1) ….. แล้วรดน้ำ ….. เข่งใช้ขนาดเดียวกับที่ตวงเศษพืชครับ …… ใช้คราดเหล็กเขี่ย ๆ ช่วยกระจายมูลสัตว์ เขี่ยให้น้ำซึมลงได้ และปรับระดับกองให้เรียบ ….. มูลสัตว์ใช้อะไรก็ได้ครับ ขี้วัว ขี้หมู ขี้ไก่ ขี้ไก่แกลบ ขี้ช้าง

ใครไม่มีเข่ง ก็ใช้ถัง หรือใช้ถุงก็ได้ครับ เช่น ฟาง 4 ถุงอัดแน่น ๆ ต่อมูลสัตว์ 1 ถุงเต็ม ๆ ….. ถุงก็ต้องเป็นถุงขนาดเดียวกันด้วยนะครับ

  1. ทำชั้นที่สอง สาม สี่ ซ้ำข้างต้น ให้สูงขึ้นไปเรื่อย ๆ …. ย้ำครับ ให้ความหนาของชั้นเศษพืชแต่ละชั้นคือประมาณ 5-10 ซม. ….. ส่วนมูลสัตว์ไม่มีความหนาเพราะมันจะแทรกเข้าไปในชั้นเศษพืช …….#รดน้ำทุกชั้น…….. เมื่อขึ้นชั้นสูงขึ้นไป มันจะเริ่มบีบเป็นสามเหลี่ยม เราก็ต้องลดจำนวนเศษพืช และลดจำนวนมูลสัตว์ลงตามสัดส่วน เพื่อให้แต่ละชั้นหนาแค่ 5-10 ซม.เท่าเดิมครับ
  2. ในแต่ละชั้นใช้คราดเหล็กค่อย ๆ ปรับแต่งให้กองปุ๋ยเป็นรูปสามเหลี่ยม มีความสูงรวม 1.5 ม. ชั้นบนสุดเป็นมูลสัตว์ …. จำนวนชั้นตามปกติก็ 15-17 ชั้นครับ …. จำนวนชั้นมากกว่านี้เป็น 25 ชั้นก็ไม่เป็นปัญหาครับ …. จะทำหลายวันเสร็จก็ได้ ถ้าทำเสร็จภายใน 10 วันก็นับวันที่ 1 เป็นวันแรกแล้วบวกไป 60 วัน …. ถ้าทำเสร็จหลังวันที่ 10 ก็ให้วันที่หยุดเติมเป็นวันที่ 1 แล้วบวกไปอีก 50 วัน

ขั้นตอนการวางเศษพืช 5-10 ซม. ทับด้วยมูลสัตว์นี้ ใครขยันอยากพลิกผสมเศษพืชกับมูลสัตว์เข้าด้วยกันทั้งหมดก่อนก็ได้ครับ รดน้ำ แล้วเอาวางให้เป็นสามเหลี่ยมได้เลย …… แต่คงหาคนแรงเยอะแบบนี้ได้ยากนะครับ อิอิ

  1. ภายในเวลา 2 เดือน ให้ดูแลน้ำ 3 ขั้นตอนดังนี้

7.1 รดน้ำวันละครั้ง ….. อย่าให้น้ำไหลนองออกมามากเกินไป

7.2 ทุก 7-10 วัน เอาไม้หรือเหล็กแหลมเจาะกองปุ๋ยถึงพื้นดิน รอบกอง ระยะห่างแต่ละรู 40 ซม. กรอกน้ำลงไป เสร็จแล้วปิดรู ….. อย่าให้มีน้ำไหลนองออกมามากเกินไป

7.3 ทุก 20 วัน เอาจอบมาสุ่มตรวจหาบริเวณข้างในกองที่อาจแห้ง 1-2 จุด โดยสับกองลงไปลึกถึงพื้น …… ถ้ามีจุดใดแห้ง ก็ให้กรอกน้ำลงไปเพิ่ม แล้วเจาะกองกรอกน้ำใหม่ทั้งหมด ….. ข้อนี้สำคัญที่สุดครับ ….. คอยสุ่มตรวจสอบแบบนี้ทุก 20 วันนะครับ

สาเหตุที่ให้ใช้จอบสับลึก ๆ เพราะในกองปุ๋ยอาจมีพวกตะขาบ แมงป่อง และงู มาขออาศัยด้วย ….. ใช้มือล้วง กลัวตะขาบงูจะตกใจอ่ะครับ

  1. พอครบสองเดือน งดน้ำ ทำให้ปุ๋ยหมักแห้ง เพื่อให้จุลินทรีย์ที่กำลังย่อยเศษพืชเก่งสงบตัว ไม่ไปกัดกินรากพืชของเรา ….. โดยการล้มกอง แผ่ออก ทิ้งให้แห้ง แล้วค่อยเก็บใส่กระสอบ หรือนำไปใช้ ….. การนำไปทำให้แห้งในร่มเป็นวิธีที่ดีที่สุด …… แต่ถ้ามีปริมาณมากจนขนไม่ไหว ก็แผ่ตากแดดได้เลย ค่าไนโตรเจนอาจสูญเสียบ้างจิ๊กนึงเท่านั้นครับ …. แห้งมีความชื้นสัก 20-30% ก็เก็บเข้ากระสอบได้ครับ ตรวจได้โดยบีบปุ๋ยในมือ พอแบมือออกปุ๋ยก็จะแตกออกเป็นส่วนใหญ่ มีเป็นก้อนบ้าง

ครบ 2 เดือนแล้ว ใครอยากจะทิ้งกองต่อไปอีก ก็ไม่ต้องรดน้ำ ปุ๋ยหมักก็จะเล็กละเอียดจะสวยยิ่งขึ้นครับ …… ครบกำหนดแล้วถ้ากลัวโดนฝนชะ ก็หาผ้ามาคลุมได้

  1. เมื่อปุ่ยหมักแห้ง …. ใบไม้ส่วนที่คิดว่าไม่เปื่อยก็จะแตกกรอบลงไปอีก ให้แยกส่วนที่ไม่เปื่อยจริง ๆ ออกแล้วเอาไปรวมทำกองปุ๋ยกองใหม่ ….. ส่วนปุ๋ยหมักก็นำใส่กระสอบ เก็บในที่ร่ม

การเจาะกองปุ๋ยเพื่อให้น้ำภายในกองปุ๋ยเป็นสิ่งที่หลายท่านละเลย ส่งผลให้เศษพืชไม่ถูกย่อยสลาย เพราะมักจะคิดว่าการรดน้ำประจำวัน หรือการที่มีฝนตก จะทำให้มีน้ำไหลซึมเข้าไปในกองปุ๋ยได้ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิดครับ วัสดุเช่นนี้จะชอบยึดน้ำไว้ที่ตัวมันเองและจะไม่ยอมให้น้ำไหลซึมลงด้านล่างตามแนวดิ่ง …… คล้าย ๆ กับกองฟางที่ตากฝนในนา ซึ่งภายในจะแห้งสนิท กองฟางจึงไม่เคยเปื่อยเป็นปุ๋ยเลยไม่ว่าจะทิ้งไว้กี่ปี

ปริมาณน้ำในข้อ 7.1 7.2 เมื่อให้น้ำเสร็จแล้ว อย่าให้มีน้ำเจิ่งนองที่พื้นมากเกินไป เพราะเป็นน้ำที่ชะเอาไนโตรเจนออกมา …. ถ้ามีน้ำซึมออกมา ก็ให้ทำร่องดักน้ำ เอาน้ำนี้ไปรดกลับกองปุ๋ย หรือเอาไปรดต้นไม้ ….. แต่ต้องระวัง อย่ารดต้นไม้บ่อยหรือรดมาก เพราะน้ำนี้แรงพอ ๆ กับน้ำละลายปุ๋ยยูเรียเลย

ใครอยากได้ปุ๋ยหมักแห้งแล้วประมาณ 1 ตัน ความชื้น 20-30% ให้ทำกองยาว 4 เมตร …. ปกติ กองยาว 4 เมตรจะใช้มูลสัตว์ (แห้งหรือสดก็ได้) 360 กก. เศษพืชประมาณ 1,000 กก.ครับ …. ถ้าซื้อมูลสัตว์ได้ กก.ละ 2 บาท ก็เท่ากับเป็นต้นทุนมูลสัตว์ 720 บาท …… ปุ๋ยหมักขายกันตันละถึง 7,000-10,000 บาทครับ ….. มูลสัตว์ใช้อะไรก็ได้ครับ เพราะเราต้องการแค่จุลินทรีย์กับไนโตรเจนในมูลสัตว์เท่านั้น

เศษพืชก็ให้มองหาโอกาสอยู่เสมอ พยายามให้เป็นของฟรี หรือราคาต่ำที่สุด ไม่ว่าจะเป็นฟาง ใบไม้ ผักตบ หญ้า เศษผักในตลาด เปลือกผลไม้ เศษข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ….. ลองจีบ เทศบาล หรือ อบต. ดู เขาอาจให้งบมาก็ได้ หรือขนใบไม้มาให้ตลอดปีก็ได้ …. บอกไปเลยว่าจะทำศูนย์เรียนรู้การทำปุ๋ยหมักไม่พลิกกลับกองของชุมชน (ตามวิธีของมหาวิทยาลัยแม่โจ้) เพื่อลดต้นทุนตามนโยบายของรัฐบาล ลดการใช้ปุ๋ยเคมี ลดการเผา และมีแผนจะขยายเป็นศูนย์เรียนรู้การปลูกผักอินทรีย์ ข้าวอินทรีย์ในชุมชน ….. แค่นี้ก็ฟินแล้วครับ

ข้อห้ามของการทำปุ๋ยวิธีนี้คือห้ามขึ้นเหยียบ ห้ามเอาผ้าคลุม เพราะจะทำให้อากาศไหลเวียนเข้าไปในกองปุ๋ยไม่ได้ … ห้ามทำชั้นเศษพืชหนาเกินไปเพราะจุลินทรีย์จะเข้าไปย่อยสลายไม่ได้ ….. ห้ามใส่กากน้ำตาล เพราะกองปุ๋ยหมักแบบนี้ย่อยกากน้ำตาลไม่ได้ อาจทำให้เกิดเชื้อราในแปลงปลูกได้ครับ

การทำกองปุ๋ยแบบนี้ควรทำห่างทรงพุ่มของต้นไม้ ไม่ควรอยู่ใต้ต้นไม้หรือใกล้มากเกินไป เพราะต้นไม้สุดหวงอาจตายได้จากน้ำไนโตรเจนที่ไหลไปหาและความร้อนของกองปุ๋ยครับ

ความร้อนในกองปุ๋ยเกิดจากการคายพลังงานออกมาจากผลการย่อยสลายของน้องจุลครับ …… ถ้าเราทำกองสูงเป็นเมตร เราก็จะสะสมความร้อนอันนี้ไว้ได้ พอความร้อนคิดจะลอยตัวออกจากกองปุ๋ย ก็จะมีอากาศภายนอกที่เย็นกว่าไหลเข้ามาแทนที่ น้องจุลเลยได้ออกซิเจนตลอดเวลาโดยที่เราไม่ต้องไปพลิกกองแบบวิธีอื่นเลยครับ ….. เป็นหลักการทางวิศวกรรมครับ ที่เรียกว่าการพาความร้อนครับ

สำหรับการทำปุ๋ยหมักในวงตาข่าย เข่ง หรือตะกร้าผ้า ก็เป็นการย่อส่วนการทำปุ๋ยหมักข้างบนนี้ลงในวงตาข่าย มีขั้นตอนทุกอย่างเหมือนกันครับ

ขอเน้นว่า วิธีทำปุ๋ยหมักของจารย์ลุงไม่เหมือนของใคร การนำวิธีอื่นมาผสมจะทำให้ไม่ได้ปุ๋ยหมักนะครับ …… อะไรที่ไม่บอกให้ใส่ก็ไม่ต้องใส่ จารย์ลุงบอกให้ตวงก็ต้องตวง จารย์ลุงไม่ได้บอกให้ใส่กากน้ำตาลก็ไม่ต้องใส่ …… อย่างนี้เป็นต้นนะครับ

รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติปี 2549 รางวัลอาจารย์ดีเด่นแห่งชาติปี 2558 มาสอนถึงในห้องนอนแว้ว รีบลงมือทำกันให้เยอะ ๆ ให้พอใช้นะครับ อย่ามัวเสียเวลาทดลองเด้อ