หน่วยที่ 2 วัตถุดิบ วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือและการดูแลรักษา?

- วัตถุดิบ และวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือในการทำปุ๋ยชีวภาพ - การเตรียมและเลือกใช้เครื่องมือ - การดูแลรักษาเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์

หน่วยที่ 3 การผลิตปุ๋ยชีวภาพ?

- การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพสำหรับเจริญเติบโต - การผลิตสารชีวภาพสำหรับไล่แมลง

หน่วยที่ 4 การทำบัญชี?

- การจดบันทึกการปฏิบัติงาน - การทำบัญชีรายรับ – รายจ่าย - ปฏิบัติการคำนวณค่าใช้จ่าย การกำหนดราคาขาย และจัดจำหน่าย

แบบประเมินความพึงพอใจในการเรียน

หัวเชื้อจุลินทรีย์เอาไว้ต่อยอดเพื่อผลิตน้ำหมักบำรุงพืช

สร้างหัวเชื้อจุลินทรีย์เอาไว้ต่อยอดเพื่อผลิตน้ำหมักบำรุงพืช

การสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับดินนั้น คือการทำให้จุลินทรีย์เข้ามามีบทบาทเป็นผู้ย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ ให้เป็นธาตุอาหารพืช แล้วเจ้าจุลินทรีย์ที่เราจะใช้นั้น เราจะหาได้ที่ไหนง่ายๆบ้าง

คำตอบวันนี้ที่ง่ายสุดคือ การซื้อหัวเชื้อจุลินทรีย์จากร้านชีวภัณฑ์เกษตร ราคาเฉลี่ยอยู่ในช่วง 50-90บาท/ลิตร แล้วหัวเชื้อจุลินทรีย์ที่เราซื้อมาเพื่อต่อขยายเชื้อมันเหมาะกับบ้านเราหรือไม่ ก็เหมือนเราจ้างคนฝรั่งมาดำนาที่อีสาน เขาย่อมมีประสิทธิภาพในการทำงานด้อยกว่าคนอีสานบ้านเฮาทำกันเอง จุลินทรีย์ก็เหมือนกัน เป็นจุลินทรีย์ต่างถิ่น ประสิทธิภาพย่อมด้วยกว่าจุลินทรีย์ในท้องถิ่นของเรา ดังนั้นจุลินทรีย์ท้องถิ่นจึงดีท่ีสุดสำหรับบ้านของเรา

แล้วเราจะเก็บหัวเชื้อจุลินทรีย์ในท้องถิ่นบ้านของเรามาใช้ได้อย่างไร วันนี้ครูชาตรีขอพามาเรียนรู้ไปพร้อมๆกันครับ

สิ่งที่เราคุ้นเคยในการทำหัวเชื้อจุลินทรีย์นั้นมี2ส่วน คือ

Em (Effective Micro-organisms) คือจุลินทรีย์ชนิดที่ได้รับการคัดสรรมาโดยเฉพาะ ศ.ดร.เทรูโอะ ฮิหงะ เป็นผู้คิดค้นขึ้น ส่วนใหญ่มีขายทั่วไปในท้องตลาด

IMO (Indigenous Micro Organism) จุลินทรีย์ท้องถิ่น ถูกพัฒนาโดย สมาคมเกษตรแห่งประเทศเกาหลีใต้

จุลินทรีย์ท้องถิ่น (IMO ) เป็นจุลินทรีย์ที่ช่วยในการย่อยสลายอินทรีย์ ที่มีอยู่ในดินทั้งบนผิวดินและใต้พื้นดิน โดยเฉพาะดินดีที่ไม่เคยผ่านการใช้สารเคมีหรือดินดีจากป่าไม้ที่มีอยู่ภายในท้องถิ่น จุลินทรีย์ท้องถิ่นเหล่านี้มีประสิทธิภาพดีกว่าจุลินทรีย์ที่ได้จากน้ำหมักEM หรือ พ.ด. สูตรต่างๆ เนื่องจากเป็นจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์จำนวนมาก หลากหลายชนิด สามารถปรับตัวและเจริญเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นนั้นๆ และประการสำคัญคือ จุลินทรีย์ท้องถิ่นนั้น เกษตรกรไม่ต้องไปซื้อหาที่ไหนเพราะมีอยู่แล้วภายในท้องถิ่น อีกทั้งสามารถผลิตใช้ได้เองไม่ยุ่งยาก สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างหลากหลาย รวมทั้งสามารถพัฒนาคิดค้นสูตรที่เหมาะสมกับระบบการผลิตของตนเองได้อีกด้วย

ตัวอย่างวิธีการเก็บหัวเชื้อจุลินทรีย์ในท้องถิ่น มีมากมายหลายรูปแบบ

1.สูตรข้าวสุก

1.ใช้ข้าวหุงสุก(กิ่งดิบกึ่งสุก)ใส่กล่องไม้หรือกล่องพลาสติก ให้ข้าวหนาประมาณ3-5 ซม. ปิดทับด้วยกระดาษผูกมัดด้วยเชือก

2.นำกล่องข้าวไปวางไว้ใต้กองใบไม้ผุๆหรือโคนกอไผ่เอาใบไผ่คลุมทับไว้ หาผ้าพลาสติกคลุมทับอีกชั้นหนึ่งเพื่อกันฝน

3.ทิ้งไว้5-7วันจะเกิดเส้นใยสีขาวขึ้นที่ผิวด้านบนของข้าวในกล่อง นำข้าวที่มีเส้นใยสีขาว มาใส่โหล เทน้ำตาลทรายแดง อัตราส่วน1;3ของข้าว คลุกเคล้าให้ข้ากัน ปิดปากโหลด้วยกระดาษ มัดให้แน่น ทิ้งไว้ประมาณ 7วันจะได้หัวเชื้อจุลินทรีย์ที่มีลักษณะเหลวข้น

4.การต่อขยายเชื้อ

-แบบแห้ง หัวเชื้อ1ส่วน น้ำสะอาด500ส่วน ผสมกับรำข้าวคลุกเคล้าให้มีความชื้น ลองกำดูถ้ามีนำไหลออกมาแสดงความความชื้นมากเกินไปให้เติมรำลงไป ถ้าบีบแล้วพอดีแสดงว่าใช้ได้ หมักทิ้งไว้5วัน สารามรถเก็บไว้ทำปุ๋ยหมักแทนสาร พด.1

-แบบน้ำ หัวเชื้อ1ส่วน น้ำสะอาด500ส่วน น้ำตาลทรายแดง 1กก ผสมหมักทิ้งไว้7วัน ก็จะเป็นหัวเชื้อทำน้ำหมักชีวภาพ แทน พด.2

2.เก็บจากดินป่า

เริ่มจากหาวัตถุดิบ หลายท่านคงเคยไปเที่ยวป่า เวลากลับหาดินตามโคนไผ่ โคนต้นไม้ใต้ซอกหินที่มีใบไม้ทับถมนานๆดินจะรวนซุยมีสีดำเป็นผงเล็กๆมีเศษใบไม้ที่ย่อสลายแล้วปะปนมาซัก5 กำมือ

รำละเอียด 5กำมือ ใบไผ่ผุ 10กำมือ เอาวัตถุดิบ3ส่วนมาผสมกัน พรมน้ำพอหมาดๆใส่กะละมัง คลุมทับด้วยกระสอบป่านชุบน้ำ แล้วปิดทับด้วยพลาสติกอีกชั้นหนึ่ง ทิ้งไว้ในร่ม 4-5วันก็จะเกิดเส้นใยสีขาวเต็มผิวหน้าวัสดุ เราเรียนว่าหัวเชื้อจุลินทรีย์แบบแห้ง

จากนั้นเราจะต้องนำมาขยายเพื่อทำหัวจุลินทรีย์แบบน้ำกัน (ที่เราไปซื้อลิตรละ90-100ฉากเขียวๆนั่นแหละครับ) โดยเอาน้ำสะอาดมา30ลิตร ใส่ลงไปในถังมีฝาปิด เติมกากน้ำตาล 2กก คนให้กากน้ำตาลละลาย เอาหัวเชื้อจุลินทรีย์ที่เราทำไว้ใส่ถุงตาข่ายแช่ลงไปในถัง7-10วันเราก็จะได้หัวเชื้อจุลินทรีย์น้ำ30ลิตรสบายๆ

3.จุลินทรีย์ก้อนดินหอม

เก็บดินบริสุทธิ์(ดินที่ไม่ผ่านการใช้สารเคมี เช่นดินป่า ดินกอไผ่ ดินใต้โคนต้นไม้ใหญ่ๆหรือดินที่ราใบไม้สีขาวๆปกคลุมอยู่ขูดเอาเฉพาะผิวหน้า )1ส่วน รำละเอียด1 ส่วน น้ำตาลทรายแดง

วิธีทำ

1… เอาดินผสมกับรำ คลุกให้เข้ากัน

2… น้ำตาลทรายแดง1ช้อน:น้ำสะอาด5 ลิตร ค่อยเทลงบนดินที่ผสมกับรำ คลุกเคล้าให้เข้ากันกะให้มีความชื้นประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ บ่มไว้ในร่ม คลุมด้วยกระสอบป่านชุบน้ำ หมักนาน15 วัน ก็นำไปใช้ได้

เมื่อได้หัวเชื้อจุลินทรีย์ท้องถิ่น(IMO )แล้ว Ep5 เราจะมาเรียนรู้เรื่อง การน้ำหัวเชื้อเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง อย่าลืมกดติดตามนะครับ