หน่วยที่ 2 วัตถุดิบ วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือและการดูแลรักษา?

- วัตถุดิบ และวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือในการทำปุ๋ยชีวภาพ - การเตรียมและเลือกใช้เครื่องมือ - การดูแลรักษาเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์

หน่วยที่ 3 การผลิตปุ๋ยชีวภาพ?

- การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพสำหรับเจริญเติบโต - การผลิตสารชีวภาพสำหรับไล่แมลง

หน่วยที่ 4 การทำบัญชี?

- การจดบันทึกการปฏิบัติงาน - การทำบัญชีรายรับ – รายจ่าย - ปฏิบัติการคำนวณค่าใช้จ่าย การกำหนดราคาขาย และจัดจำหน่าย

แบบประเมินความพึงพอใจในการเรียน

น้ำหมัก หัวเชื้อจุลินทีย์ อีเอ็ม

วิธีทำ จุ หัวเชื้อจุลินทรีย์ |

https://www.youtube.com/watch?v=ZonnR9GDxP0

( EM ) สูตรทำหัวเชื้อจุลินทรีย์ ( EM ) หัวเชื้อจุลินทรีย์ตัวนี้สามารถนำไปทำน้ำหมักชีวภาพต่างๆ เช่น น้ำหมักซาวข้าว น้ำหมักยอดพืช น้ำหมักผลไม้ และน้ำหมักอื่นๆอีกมากมาย หรือจะนำไปทำฮอร์โมนชีวภาพ ทำน้ำสกัดชีวภาพ ทำปุ๋ยหมัก หมักดิน ปรุงดิน หัวเชื้อจุลินทรีย์ ( EM ) สูตรนี้ ใช้หมักอะไร ก็ย่อยสลายเร็ว…เรามาดูวิธีทำกันครับ
ส่วนผสม
1. น้ำมะพร้าว 1 ลูก 
2. นมเปรี้ยว 1 ขวด (ยี่ห้ออะไรก็ได้ )
3. น้ำแป้งข้าวหมาก 1 ช้อนโต๊ะ (ที่เซเว่น 7-11 ก็มีขาย)
4. ซีอิ้วดำหรือซีอิ้วหวาน 1 ช้อนโต๊ะ 
5. เหยือกน้ำ
6. ขวดพลาสติก ( แนะนำขวดน้ำอัดลม ป้องกันการระเบิด )
วิธีทำ
1. เทส่วนผสมทั้งหมดลงในเหยือกน้ำ แล้วคนให้เข้ากัน
2. เทใส่ขวดพลาสติก ให้เหลือช่องว่างอย่างน้อย 1/4
3. ปิดฝาขวดให้แน่น ห้ามเปิดฝาขวดเด็ดขาด 
4. หมักทิ้งไว้ 7 วัน เก็บไว้ในที่ร่ม ไม่ให้โดนแดด
5. ครบ 7 วันแล้ว สามารถนำไปใช้หมักได้เลย
การนำไปใช้
หัวเชื้อจุลินทรีย์ (EM) ตัวนี้มีความเข้มข้นมาก สามารถนำไปหมัก ไปทำน้ำหมักต่างๆ เช่น น้ำหมักซาวข้าว น้ำหมักยอดพืช น้ำหมักผลไม้ น้ำหมักปลา หรือนำไปหมักเศษพืช หมักเศษอาหาร หมักดินปรุงดิน ทำปุ๋ยหมัก หรือจะนำไปทำน้ำฮอร์โมน ทำน้ำสกัด ทำปุ๋ยน้ำ ฯลฯ หัวเชื้อจุลินทรีย์ (EM) ตัวนี้ จะทำให้การหมักเป็นเร็วมากขึ้น ย่อยสลายเร็วขึ้น และเป็นหัวเชื้อที่มีสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อพืชทั้งนั้น
ระยะเวลาเก็บ
เก็บไว้ได้นาน ให้ลองสังเกตดูว่าเวลาเปิดฝาขวดมีเสียงแก๊สหรือไม่ หากมีเสียงแก๊สแสดงว่าปกติ แต่หากไม่ได้ยินเสียงแก๊ส ให้ลองใส่น้ำตาลทรายแดงลงไป ใส่สักครึ่งช้อนโต๊ะ แล้วเขย่าขวดให้น้ำตาลทรายแดงละลาย ทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน แล้วลองเปิดฝาขวดดู หากได้ยินเสียงแก๊สแสดงว่ายังใช้ได้อยู่ หากไม่ได้ยินเสียงแก๊สแล้วแสดงว่าหัวเชื้อเริ่มมีประสิทธิภาพน้องลง
ข้อควรระวัง การหมักก่อให้เกิดแก๊ส แนะนำให้ใช้ขวดน้ำอัดลม ป้องกันการระเบิด และเวลาเปิดฝาขวดใช้งาน ให้เปิดช้าๆ คลายฝาขวดออกทีละนิด ให้แก๊สค่อยๆออกให้หมด 
น้ำมะพร้าว จะมี
 1. น้ำตาล ไขมัน วิตามิน เกลือแร่ เอนไซม์ หรือไซโตไคนิน เพื่อเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์
 2. จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง แต่มันไม่ชอบแสงแดด เวลาเทลงในดิน จุลินทรีย์ตัวนี้จะมุดลงดินเพื่อหนีแสง อาหารของมันคือสิ่งโสโครก สิ่งปฏิกูล สิ่งที่หมิ่นๆเน่าๆ และเมื่อไปเจอมูลสัตว์ที่หมิ่นเน่า จุลินทรีย์ตัวนี้จะทำให้หายหมิ่น เมื่อไปเจอดินแข็งๆ ดินดานๆ  มันจะย่อยสลายให้เป็นดินร่วน หรือปุ๋ยที่อัดแน่นทับถมมานาน มันจะย่อยสลายปุ๋ยออกมา
นมเปรี้ยว  จะมีจุลินทรีย์
 1. แลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus)  มีหน้าที่กินเชื้อโรค
 2. สเตรปโตคอกคัส (Streptococcus) สร้างภูมิคุ้มกันโรคให้พืชต้นไม้
 3.  ลิวโคนอสตอก (Leuconostoc)  ทำให้น้ำหมักหอมน่าใช้
น้ำจากข้าวหมาก   จะมีจุลินทรีย์ที่ต้องการ คือ ยีสต์ ซีอิ้วดำ หรือซีอิ้วหวาน  มีหน้าที่พรางแสงให้จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง ไม่ให้โดนแสงแดด 
สูตร ร.ต.อ สามารถ นารถสูงเนิน