หน่วยที่ 2 วัตถุดิบ วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือและการดูแลรักษา?

- วัตถุดิบ และวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือในการทำปุ๋ยชีวภาพ - การเตรียมและเลือกใช้เครื่องมือ - การดูแลรักษาเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์

หน่วยที่ 3 การผลิตปุ๋ยชีวภาพ?

- การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพสำหรับเจริญเติบโต - การผลิตสารชีวภาพสำหรับไล่แมลง

หน่วยที่ 4 การทำบัญชี?

- การจดบันทึกการปฏิบัติงาน - การทำบัญชีรายรับ – รายจ่าย - ปฏิบัติการคำนวณค่าใช้จ่าย การกำหนดราคาขาย และจัดจำหน่าย

แบบประเมินความพึงพอใจในการเรียน

ลักษณะและหลักการทำปุ๋ยชีวภาพ

                                           นักเรียนจะได้เรียน 2 เรื่อง

1.ปุ๋ยชีวภาพ ลักษณะทั่วไปของEM ซึ่งใช้ทำปุ๋ยมักชีวภาพแบบน้ำ

2.ปุ๋ยชีวภาพ แบบแห้ง  หรือการทำปุ๋ยหมักทั่วไป

/////////////////////////////////////////////////////////////////

                        ปุ๋ยชีวภาพ ลักษณะทั่วไปของEM
EM เป็นจุลินทรีย์ กลุ่มสร้างสรรค์ เป็นกลุ่มที่มีประโยชน์ หรือ เรียกว่ากลุ่มธรรมะ ดังนั้น เวลา
จะใช้ EM เป็นสิ่งมีชีวิต EM มีลักษณะดังนี้
• ต้องการที่อยู่ ที่เหมาะสม ไม่ร้อนเกินไป หรือเย็น เกินไป อยู่ในอุณหภูมิปกติ
• ต้องการอาหารจากธรรมชาติ เช่น น้ าตาล ร าข้าว โปรตีน และสารประกอบอื่นๆ ที่ไม่เป็น
อันตรายต่อสิ่งมีชีวิต
• เป็นจุลินทรีย์จากธรรมชาติ ไม่สามารถใช้ร่วมกับสารเคมีและยาฆ่า เชื้อต่างๆ ได้
• เป็นตัวเอื้อประโยชน์แก่พืช สัตว์ และสิ่งมีชีวิต
• EM จะท างานในที่มืดได้ดี ดังนั้นควรใช้ช่วงเย็นของวัน
• เป็นตัวท าลายความสกปรกทั้งหลาย
ปุ๋ยชีวภาพ การดูแลเก็บรักษา
1. หัวเชื้อ EM สามารถเก็บได้นานประมาณ 1 ปี โดยปิดฝาให้สนิท
2. อย่าทิ้ง EM ไว้กลางแดด และอย่าเก็บไว้ในตู้เย็น เก็บรักษาไว้ในอุณหภูมิปกติ
3. ทุกครั้งที่แบ่งไปใช้ต้องรีบปิดฝาให้สนิท เพื่อไม่ให้เชื้อโรค หรือจุลินทรีย์ในอากาศที่เป็นโทษ
เข้าไปหะปน
4. การน า EM ไปขยายต่อ ควรใช้ภาชนะที่สะอาด และใช้ให้หมดในระยะเวลาที่เหมาะสม
ข้อสังเกตพิเศษ
• หาก EM เปลี่ยนเป็นสีด า มีกลิ่นเหม็นเน่า ถือว่า EM ตายไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้
อีก ให้น า EM ที่เสียผสมน้ ารดก าจัดหญ้าวัชพืชที่ไม่ต้องการได้
• กรณีเก็บไว้นานๆ จะมีฝ้าขาวเหนือผิวน้ า แสดงว่า EM พักตัวเมื่อเขย่าภาชนะฝ้าสี
ขาวจะสลายตัว กลับไปอยู่ในน้ าเหมือนเดิมน าไปใช้ได้
• เมื่อน าไปขยายเชื้อในน้ าและกากน้ าตาล จะมีกลิ่นหอมและเป็นฟอง ขาวๆ ภายใน 2-
3 วัน ถ้าไม่มีฟองน้ านิ่งสนิทแสดงว่าการหมักขยายเชื้อยังไม่ได้ผล

ปุ๋ยชีวภาพ จุลินทรีย์มี 2 ประเภท
1. ประเภทต้องการอากาศ (Aerobic Gacteria )
2. ประเภทไม่ต้องการอากาศ (Anaerobic Bacteria)
จุลินทรีย์ทั้ง 2 กลุ่มนี้ ต่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และสามารถอยู่ร่วมกันได้
จากการค้นคว้าดังกล่าว ได้มีการน าเอาจุลินทรีย์ที่ได้รับการคัดและเลือกสรรอย่างดีจาก
ธรรมชาติที่มี ประโยชน์ต่อพืช สัตย์ และสิ่งแวดล้อมารวมกัน 5 กลุ่ม (Families) 10 จีนัส (Genues)
80 ชนิด (Spicies) ได้แก่
กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกเชื้อราที่มีเส้นใย (Filamentous fungi) ท าหน้าที่เป็นตัวเร่ง
การย่อยสลาย สามารถท างานได้ดีในสภาพที่มีออกซิเจน มีคุณสมบัติต้านทานความร้อนได้ดี ปกติใช้
เป็นหัวเชื้อผลิตเหล้า ผลิตปุ๋ยหมัก ฯลฯ
กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกสังเคราะห์แสง (Photosynthetic microorganisms) ท า
หน้าที่สังเคราะห์สารอินทรีย์ให้แก่ดิน เช่น ไนโตรเจน (N2) กรดอะมิโน (Amino acids) น้ าตาล
(Sugar) วิตามิน (Vitamins) ฮอร์โมน (Hormones) และอื่นๆ เพื่อสร้างความสมบูรณ์ให้แก่ดิน
กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ในการหมัก (Aynogumic or Fermented
microorganisms) ท าหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นให้ดินต้านทานโรค (Diseases resistant) ฯลฯ เข้าสู่
วงจรการย่อยสลายได้ดี ช่วยลดการพังทลายของดิน ป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืชบางชนิดของพืช
และสัตว์สามารถบ าบัดมลพิษในน้ าเสีย ที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมเป็นพิษต่างๆ ได้
กลุ่มที่ 4 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกตรึงไนโตรเจน (Nitrogen fixing microorganisms) มีทั้ง
พวกที่เป็นสาหร่าย (Algae) และพวกแบคทีเรีย (Bacteria) ท าหน้าที่ตรึงก๊าซไนโตรเจนจากอากาศ
เพื่อให้ดินผลิตสารที่เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโต เช่น โปรตีน (Protein) กรดอินทรีย์ (Organic
acids) กระดไขมัน (Fatty acids) แป้ง (Starch or Carbohydrates) ฮอร์โมน
(Hormones) วิตามิน (Vitamins) ฯลฯ
กลุ่มที่ 5 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกสร้างกรดแลคติก (Lactic acids) มีประสิทธิภาพในการ
ต่อต้านเชื้อราและแบคทีเรียที่เป็นโทษ ส่วนใหญ่เป็น จุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการอากาศหายใน ท าหน้าที่
เปลี่ยนสภาพดินเน่าเปื่อยหรือดินก่อโรคให้เป็นดินที่ต้านทานโรค ช่วยลดจ านวนจุลินทรีย์ที่เป็น
สาเหตุของโรคพืชที่มีจ านวนนับแสน หรือให้ หมดไป นอกจากนี้ยังช่วยย่อยสลายเปลือกเมล็ดพันธุ์
พืช ช่วยให้ เมล็ดงอกได้ดีและแข็งแรงกว่าปกติอีกด้วย

////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

2.ปุ๋ยชีวภาพ แบบแห้ง  หรือการทำปุ๋ยหมักทั่วไป

ปุ๋ยชีวภาพหมายถึง

ปุ๋ยหมัก หมายถึง ปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากหมักบ่มสารอินทรีย์ด้วยจุลินทรีย์ที่ทำหน้าที่ย่อยสลายอินทรีย์วัตถุให้สลายตัว และผุพังไปบางส่วน ทำให้ได้ปุ๋ยที่มีลักษณะสีคล้ำดำ มีลักษณะเป็นผง ละเอียดเหมาะ สำหรับการปรับปรุงดิน และให้ธาตุอาหารแก่พืช

วัสดุอินทรีย์ที่ใช้สำหรับการหมัก อาจเป็นเศษพืชสด วัสดุอินทรีย์เผา รวมถึงอาจผสมซากของสัตว์ หรืออาจผสมปุ๋ยคอกก็ได้ และหากนำมากองรวมกัน พร้อมรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ จุลินทรีย์ก็จะทำการย่อยสลายขึ้นซึ่งสังเกตได้จากกองปุ๋ยหมักจะมีความร้อนเกิดขึ้น เมื่อเกิดความร้อนจึงจำเป็นต้องคลุกกลับกองปุ๋ย และรดน้ำให้ทั่ว ซึ่งจะทำให้จุลินทรีย์ย่อยสลายสารอินทรีย์ได้อย่างทั่วถึง และหากความร้อนในกองปุ๋ยหมักมีอุณหภูมิใกล้เคียงกันในทุกจุด และความร้อนมีน้อยจึงจะแสดงได้ว่า ปุ๋ยหมักปุ๋ยพร้อมใช้งานแล้ว

ปุ๋ยหมักที่ย่อยสลายได้ดีแล้วจะมีลักษณะเป็นเม็ดละเอียดสีน้ำตาลดำ มีความร่วนซุย และมีกลิ่นฉุนของการหมัก เมื่อนำปุ๋ยหมักไปใช้ในแปลงเกษตรก็จะช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน ทั้งช่วยเพิ่มแร่ธาตุ อินทรีย์วัตถุ ปรับสภาพความเป็นกรด-ด่าง และช่วยให้ดินอุ้มน้ำได้ดีขึ้น เป็นต้น

 

                                          กระบวนการหมักของปุ๋ยหมัก

  1. การหมักแบบใช้ออกซิเจน

เมื่อวัสดุหมักเกิดการย่อยสลายจนได้สารอินทรีย์ตั้งต้น ได้แก่ ไขมัน โปรตีนคาร์โบไฮเดรต เซลลูโลส ลิกนิน ฯลฯ สารเหล่านี้ จะถูกจุลินทรีย์จำพวกที่ใช้ออกซิเจนย่อยสลายด้วยการดึงออกซิเจนมาใช้ในกระบวนการ และสุดท้ายจะได้ผลิตภัณฑ์เป็นฮิวมัส น้ำ ก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) แอมโมเนีย (NH3) ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และพลังงานความร้อน

  1. การหมักแบบไม่ใช้ออกซิเจน

สารอินทรีย์จะถูกย่อยสลายในสภาพที่ไม่มีออกซิเจน โดยอาศัยการทำงานของจุลินทรีย์จำพวกที่ไม่ใช้ออกซิเจน 2 กลุ่ม คือ จุลินทรีย์สร้างกรด และจุลินทรีย์สร้างมีเธน ซึ่งจะทำให้เกิดผลิตภัณฑ์สุดท้าย ได้แก่ ก๊าซมีเธน (CH4) ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) แอมโมเนีย (NH3) และพลังงานความร้อน

จุลินทรีย์ของปุ๋ยหมัก

กระบวนการย่อยสลายในกองปุ๋ยหมักเกิดจากกิจกรรมของจุลินทรีย์กลุ่มที่ใช้ออกซิเจน และกลุ่มที่ไม่ใช้ออกซิเจน ซึ่งทั้งสองกลุ่มจะทำหน้าที่ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ที่มีโมเลกุลใหญ่ให้มีขนาดเล็กลง จนกระทั่งเกิดการย่อยสลายเสร็จสมบูรณ์จนได้สารอินทรีย์วัตถุที่เรียกว่า ปุ๋ยหมัก (Compost) กระบวนการย่อยสลายดังกล่าวจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยจุลินทรีย์หลายชนิดรวมกันและอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 3 ระยะ คือ

  1. ระยะอุณหภูมิปานกลาง (Mesophilic Phase) เป็นช่วงแรกของการย่อยสลาย จำนวนจุลินทรีย์ค่อยๆเพิ่มจำนวนขึ้น ซึ่งจะมีอุณหภูมิประมาณ 20-45 °C
  2. ระยะอุณหภูมิสูง (Thermophilic Phase) เป็นช่วงที่มีการเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์เกือบคงที่ และเกิดการย่อยสลายทั่วทั้งกอง โดยอุณหภูมิจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 45 – 60 °C หรือมากกว่า ซึ่งอุณหภูมิที่เหมาะสมจะต้องไม่ต่ำกว่า 45 °C เป็นช่วงที่เกิดการย่อยสลายมากที่สุดจนทำให้เกิดความร้อนสะสมในกองปุ๋ยหมัก
  3. ระยะอุณหภูมิลดลง (Maturation Phase) เป็นช่วงที่จุลินทรีย์บางส่วนเริ่มตายลง ปริมาณอินทรีย์ถูกย่อยสลายจนหมด อัตราการย่อยสลายจึงลดลง ทำให้อุณหภูมิของกองปุ๋ยหมักลดลงตามมา ซึ่งเป็นระยะที่จะเสร็จสิ้นการย่อยสลาย

Cha Tisol จุลินทรีย์ตัวจิ๋ว ที่สุดเจ๋ง ต่อวงการเกษตร Ep 2

ปุ๋ยหมัก (compost)
ในการสร้างอาหารให้กับพืชพืชโดยการกระทำของจุลินทรีย์นั้น สิ่งแรกที่เรานึกถึง รู้จักคุ้นเคยคือการทำปุ๋ยหมัก นั่นเอง
ปุ๋ยหมัก (compost) คือปุ๋ยที่ได้จากการหมักซากพืชซากสัตว์ตลอดจนมูลสัตว์เพื่อให้อินทรียสารสลายตัวผุพังจากกิจกรรมของจุลินทรีย์ซึ่งใช้เวลานาน จึงมีการคัดเลือกจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพสูงประกอบด้วยเชื้อราแบคทีเรียและแอคติโนมัยสีท เพื่อเร่งกระบวนการย่อยสลายให้เกิดขึ้นได้เร็ว
ในกระบวนการหมักจะมีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ 3 ระยะ แต่ละระยะก็จะมีจุลินทรีย์หลายชนิดเข้ามามีบทบาทในการย่อยอินทรียสาร
 
ในระยะแรก….. กองปุ๋ยหมักจะมีอุณหภูมิปานกลาง เชื้อจุลินทรีย์ที่ชอบอุณหภูมิปานกลาง (mesophiles) เจริญก่อนและใช้น้ำตาลและสารอาหารที่ย่อยง่ายทำให้กองวัสดุมีอุณหภูมิสูงขึ้นอยู่ที่ประมาณ 40-45 องศาเซลเซียส และเพิ่มสูงขึ้นถึง 50-70 องศาเซลเซียส
 
ในระยะที่2…ช่วงที่อุณหภูมิในกองปุ๋ยสูงมาก .จุลินทรีย์ที่ชอบอุณหภูมิสูง (thermophiles) จะมีการเจริญและย่อยสารที่สลายยาก
 
ในระยะที่3….ช่วงนี้อุณหภูมิจะลดลง เข้าสู่ระยะอุณหภูมิปานกลางครั้งที่สองซึ่งแหล่งอาหารของจุลินทรีย์เหลืออยู่น้อยกิจกรรมของจุลินทรีย์ลดต่ำลงจนอุณหภูมิของกองปุ๋ยหมักใกล้เคียงกับอุณหภูมิของอากาศโดยรอบ ทำให้จุลินทรีย์ที่ชอบอุณหภูมิปานกลางโตได้อีกระยะหนึ่ง
เมื่อปฏิกิริยาเสร็จสิ้นสมบูรณ์จะได้เป็นสารประกอบประเภทฮิวมัส มีสีดำหรือน้ำตาลดำ ประเภทเดียวกับฮิวมัสในดิน
 
วันนี้การทำปุ๋ยหมักมีการพัฒนาต่อยอดจนเกิดนวัตกรรมหลากหลายรูปแบบ วันนี้ครูชาตรีขอนำเสนอเพียงบางส่วน เพื่อให้เพื่อนๆได้ยอดนำไปใช้ต่อไป
 
1…การทำปุ๋ยหมักแบบดั้งเดิม คือใช้ระยะเวลานานมากกว่า90วัน และต้องสิ้นเปลืองแรงงานในการกลับกองปุ๋ย ไม่ให้อุณหภูมิในกองสูงเกินไป
 
2…การทำปุ๋ยหมักแบบเติมอากาศ จะวางท่อที่มีรูพรุนเข้าไปในกองปุ๋ยเพื่อเพิ่มออกซิเจนให้เพียงพอ เร่งการย่อยสลายวัตถุอินทรีย์ให้กลายเป็นสารอาหารสำหรับพืช จะลดเวลาลงมา เหลือประมาณ60วัน ข้อดีคือไม่พลิกกลับกอง ข้อเสีย คือต้องใช้พลังงานไฟฟ้าเพื่อให้พัดลมทำงาน
 
3….การหมักแบบ”วิศวกรรมแม่โจ้”ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ลดเวลา ลดแรงงานในการพลิกกลับกอง ไม่ต้องใช้พัดลมเติมอากาศ การกองปุ๋ยแบบนี้ จะกองเป็นส่วนของฐานกว้าง2.54เมตร ความยาวไม่จำกัด วัสดุแต่ละชั้นจะหนาประมาณ10ซม. กองเป็นรูปสามเหลี่ยม สูงไม่เกิน1.5เมตร ห้ามขึ้นไปเหยียบ ชั้นบนสุดเป็นมูลสัตว์ ทุกๆ10วันจะใช้ไม้เสียบจากด้านบนของกอง เพื่อเป็นรูสำหรับเติมน้ำลงไปในกองปุ๋ย ระยะเวลาย่อยสลายไม่เกิน 60 วัน
 
4….การทำปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกลับกองในวงตาข่าย อากาศจะไหลหมุนเวียนเข้าในกองปุ๋ย ตามช่องตาข่าย การใส่วัสดุจะต้องไม่ใส่แน่นเกินไป เส้นผ่าศุนย์กลางของวงตาข่ายต้องไม่น้อยกว่า1เมตร ถ้าต่ำกว่านี้จะมีจะมีผลเรื่องอุณภูมิในกองปุ๋ยหมัก
 
สำหรับคุณภาพของปุ๋ยหมักนั้นอยู่ที่วัตถุดิบตั้งต้นของกระบวนการหมัก พืชตระกูลถั่วจะให้ธาตุกลุ่มไนโตรเจนสูง มูลค้างคาวจะมีธาตุอาหารค่อนข้างครบ เป็นต้น
 
ดังนั้นการใช้วัสดุที่หลากหลายมาหมักร่วมกัน ปุ๋ยหมักที่ได้ย่อมมีธาตุอาหารที่จำเป็นต่อพืชครบถ้วน
ความยากง่ายในการย่อยสลายของปุ๋ยหมัก อยู่ที่ค่า c/n ratio เป็นค่าที่บ่งบอกความยากหรือง่ายต่อการย่อยสลาย และใช้เป็นตัวกำหนดระดับการเป็นปุ๋ยหมักที่สมบูรณ์ ซึ่งมีอัตราส่วนสารประกอบคาร์บอนต่อไนโตรเจน ยิ่งค่า c/n ratio มีค่าต่ำ การย่อยสลายก็ยิ่งรวดเร็ว
C คือปริมาณคาร์บอนคาร์บอนที่เป็นแหล่งให้พลังงาน
N หรือส่วนของไนโตรเจนใช้สำหรับกระบวนสร้างเซลล์ และสังเคราะห์โปรโตพลาสซึมของเซลล์ ดังนั้น อัตราส่วนของคาร์บอน และไนโตรเจนจึงเป็นสิ่งสำคัญต่อการเติบโตของจุลินทรีย์ เมื่อกระบวนการย่อยสลายดำเนินการไปจนถึงที่สุด ปริมาณคาร์บอนจะลดลงจนเป็นตัวจำกัดการดำรงชีพของจุลินทรีย์ ปริมาณไนโตรเจนในขณะนั้นก็จะมากเกินกว่าความต้องการใช้ของจุลินทรีย์จึงกลายเป็นส่วนที่พืชนำไปใช้ได้
พืชที่แก่ เซลจะมีสีน้ำตาลเข้มหมายถึงพืชนั้นมีปริมาณคาร์บอนที่ย่อยยากอย่างลิกนินและเซลลูโลสจะมีมากขึ้น
วันนี้ถ้าอยากใช้ปุ๋ยให้ถูกกับช่วงระยะของพืชอย่างมีประสิทธิภาพ ค่า c/n ratio มีผลต่อการกำหนดระยะเวลา ชนิดของการเติมเต็มธาตุอาหารให้กับพืช เกษตรกรต้องหันกลับมาเรียนรู้มากๆครับ
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ